Home » ข่าว » สักการะเจดีย์เขาแดง หนุนสงขลาสู่มรดกโลก

สักการะเจดีย์เขาแดง หนุนสงขลาสู่มรดกโลก

ดร.บวรศักดิ์ อุวรรโณ-ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร
นำคณะขึ้นสักการะเจดีย์เขาแดง หนุนสงขลาสู่มรดกโลก


เป็นความยินดีของสงขลากับโครงการนำสงขลาสู่มรดกโลก เมื่อสองผู้บริหารที่มีความสำคัญระดับประเทศ คือ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรโณ นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ได้ให้ความสำคัญกับโครงการที่สงขลาจะเดินหน้าสู่เมืองมรดกโลก
โดยการประชุมสภามหาวิทยาลัยราชภัฏครั้งที่ผ่านมา นายกสภาฯ ได้ให้นำเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของสงขลาและเรื่องราวที่สงขลาจะเดินหน้าสู่เมืองมรดกโลก ไปนำเสนอให้คณะกรรมการสภาให้รับฟังเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ โดยมี ผศ.ดร. บรรจง ทองสร้าง ผอ.ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยราชภัฎ และ นายสืบสกุล ศรีสุข เลขาฯ มูลนิธิสงขลาสู่มรดกโลก เป็นวิทยากร


จากนั้น ในวันนั้น ก็ได้นำคณะสภามหาวิทยาลัย และคณะอาจารย์ของมหาวิทยาลัย ที่นำโดย อธิการบดี ดร.ทัศนา ศิริโชติ ลงพื้นที่แหล่งโบราณฝั่งสิงหนคร ดูเจดีย์ 1,700 ปีบนวัดเขาน้อย ดูป้อมปราการ และกำแพงเมือง ที่ที่อยู่บนพื้นดินและบนเขาแดง ที่มีป้อมปืนที่ยังคงสมบูรณ์ให้เห็นอยู่เป็นจำนวนมาก
ได้ร่วมกันสักการะเจดีย์บนยอดเขาแดง ก่อนที่จะลงทางบันใด ที่มีป้อมเรียงรายให้ได้เห็นได้เรียนรู้คือ ตรงทางขึ้น มีป้อมหมายเลข 8 ป้อมหมายเลข 10 ที่เป็นฐานของเจดีย์ ปัอมหมายเลข 6
หมายเลข 5 หมายเลข 4 หลังจากลงดูป้อมบนเขาแดง
ก็ได้เดินทางต่อไปศึกษาประวัติศาสตร์ของคาบสมุทรสทิงพระ
วัดสทิงพระ สมัยกรุงสทิงพารานาสี ที่มีอายุกว่าพันปี ที่วัดพะโค๊ะ และอีกหลายแหล่งโบราณสถาน
และก่อนที่ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรโณ จะกลับกรุงเทพฯ ครั้งนี้ ในฐานะที่ท่านเป็น “รองประธานมูลนิธิสวนประวัติศาสตร์ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์“


ก็ได้เดินทางไปเป็น “ประธานเปิด” ดนตรีในสวน ที่เริ่มจัดขึ้นเป็นปฐมเป็นครั้งแรก ที่มี ดร.กมล รอดคล้าย
ผู้ช่วยเลขาธิการ มูลนิธิฯ เป็นผู้กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์ ของการจัดให้มีดนตรีในสวนขึ้นมาเพื่อเติมความสุขให้กับเมืองสงขลา โดยได้นำปณิธานของ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ที่ได้เป็นผู้ที่ชื่นชอบในดนตรีและได้แต่งเพลงไว้มากมาย โดยได้พูดเน้นย้ำให้ได้ฟังอยู่ตลอดมาว่า
“ดนตรีทำให้ผมมีความสุข แต่ผมจะสุขที่สุด ถ้าดนตรีสามารถจะส่งผลดีต่อแผ่นดิน”
การจัดให้มีดนตรีขึ้นที่เมืองสงขลา ไม่ว่าจะเป็นดนตรีชนิดใดสถานที่ใดก็จะเป็นความสวยงามของสงขลา เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมด้านความสุนทรี ให้เมืองสงขลาได้เป็นเมืองแห่งความสุขของผู้คนเป็นเมืองมรดกโลกกันต่อไป
สำหรับ การแสดงดนตรีในสวนในครั้งต่อไป
จะตรงกับวันอาทิตย์ที่ 9 กรกฎาคม 2566 โดยจะเป็นวงดนตรีของโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย
และในช่วงเวลาเดียวกันนี้ ก็ได้มี ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้(องค์กรมหาชน) หรือ OKMD ได้นำคณะ
บุคลากรของ OKMD มารับฟังเรื่องราวของเมืองสงขลา ที่โรงสีแดง ชมพิพิธภัณฑ์เส้นทางสายไหมของคุณกระจ่าง จารุพฤษพันธ์ุ ก่อนที่จะนำคณะขึ้นไปสักการะเจดีย์บนยอดเขาแดง และอยู่ชมพระอาทิตย์ตกดิน บนป้อมหมายเลข 6
“ถือเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกดินที่สวยที่สุดของเมืองสงขลา”
ที่เป็นความประทับใจของผู้ที่ได้มีโอกาสได้ขึ้นไปชมเป็นอย่างยิ่ง ถือเป็นเรื่องราวของความภูมิใจที่ในช่วงเวลานี้ ความสำคัญของแหล่งโบราณทางประวัติศาสตร์ของเมืองสงขลา และโครงการสงขลาสู่มรดกโลก ได้ถูกนำมาเป็นความสำคัญที่ทุกภาคส่วนของสงขลา กำลังเดินหน้าในการจัดทำเอกสารเบื้องต้นที่ประเทศไทย
โดยคณะรัฐมนตรี จะได้ส่งเรื่องราวการนำสงขลาสู่เมืองมรดกโลก ที่กำหนดจะส่งเอกสาร


เบื้องต้น ให้สงขลาได้ปรากฏชื่อเมืองที่ขอขึ้นทะเบียนให้แล้วเสร็จ ในต้นปี 2567 นี้ ที่ต้องขอความร่วมมือในการสนับสนุนให้สำเร็จตามกำหนดที่จังหวัดสงขลา ได้วางกันไว้ ก็จะเป็นความสำเร็จที่จะเป็นความภูมิใจของสงขลา ของประเทศไทย ที่จะนำความเจริญมาสู่ทุกจังหวัด ที่มีสงขลาเป็นศูนย์กลางในการท่องเที่ยว เป็นเส้นทางของเมืองมรดกโลกของโลกใบนี้ต่อไป

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *