Home » ข่าว » สร้างเสริมทักษะเท่าทันสื่อเพื่อเด็กด้วยหนังสือพิมพ์

สร้างเสริมทักษะเท่าทันสื่อเพื่อเด็กด้วยหนังสือพิมพ์

สภาการสื่อมวลชน และกองทุนสื่อฯ พร้อมภาคีสมาชิกสื่อ 11 ฉบับ สพฐ. กทม. ร่วม KICK OFF โครงการ “สร้างเสริมทักษะเท่าทันสื่อเพื่อเด็กด้วยหนังสือพิมพ์” จัดเสวนาเรื่อง

“นวัตกรรมสื่อกับการรู้เท่าทันสื่อในห้องเรียนภาษาไทย”

มูลนิธิสภาการสื่อมวลชนและสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ เปิดตัวโครงการ “สร้างเสริมทักษะเท่าทันสื่อเพื่อเด็กด้วยหนังสือพิมพ์” ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พร้อมด้วย ผู้เทนจาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ หนังสือพิมพ์มติชน หนังสือพิมพ์กรุงเทพธรกิจ หนังสือพิมพ์ ประชามติ จ.ตราด หนังสือพิมพ์เพชรภูมิ จ.เพชรบุรี สงขลาโฟกัส/หนังสือพิมพ์ภาคใต้โฟกัส จ.สงขลา หนังสือพิมพ์ หัวหินสาร จ.ประจวบคีรีขันธ์ หนังสือพิมพ์ส่องใต้นิวส์ จ.สตูล หนังสือพิมพ์ไทยนิวส์ จ.เชียงใหม่ หนังสือพิมพ์ปทุมมาลัย จ.อุบลราชธานี

เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2567 ที่โรงแรมรอยริเวอร์ มูลนิธิสภาการสื่อมวลชนและสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ เปิดตัวโครงการ “สร้างเสริมทักษะเท่าทันสื่อเพื่อเด็กด้วยหนังสือพิมพ์” ซึ่งได้รับทนสนับสนนจาก กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ประธานสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ กล่าวว่า มูลนิธิสภาการสื่อมวลชนและสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ ซึ่งเป็นองค์กรอิสระทำหน้าที่ควบคุมกันเอง ด้านจริยธรรมวิชาชีพสื่อมวลชนในหมู่ผู้ประกอบวิชาชีพ ส่งเสริมเสร็ภาพ ความรับผิดชอบ ส่งเสริมและ สนับสนุนสิทธิการใช้สื่อ เพื่อการรับรู้ข่าวสาร การรู้เท่าทันสื่อ (Mass Media Literacy) และการแสดงความคิดเห็น เห็นว่าสามารถทำหน้าที่สร้างเสริมทักษะเท่าทันสื่อได้ เกิดการตระหนักรู้ และจำแนกเนื้อหาที่ไม่ สร้างสรรค์ อันเป็นพื้นฐานทักษะของการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล 4.0 และส่งผลต่อการรู้เท่าทันจากการเรียนรู้จากสื่อหนังสือพิมพ์ และหนังสือพิมพ์ออนไลน์ หลากหลายแพลตฟอร์มได้อย่างมีคุณค่า โดยเมื่อปี 2547 สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ก่อนเป็นสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติในปัจจุบัน ได้จัดโครงการอบรมส่งเสริมการอ่าน หนังสือพิมพ์ในกลุ่มเยาวชน ร่วมกับสถาบันพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย สนับสนุนโดย สมาคมหนังสือพิมพ์โลก และปี 2554 สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ร่วมกับสถาบันอิศรา

     มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ได้จัดโครงการสัปดาห์ส่งเสริมการอ่านหนังสือพิมพ์ในโรงเรียน”การสร้างภูมิการเรียนรู้อย่างเท่าทันสื่อ และการสร้างการเรียนรู้ ด้วยการอ่านหนังสือพิมพ์ ในวัยเด็กในระดับชั้นประถมศึกษา จะเป็นจุดเริ่มต้นของการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้จากการอ่าน ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการแสวงหาความรู้ และใช้ความรู้ที่ได้จากการอ่านในการปรับตัว เป็นทักษะด้านการรับรู้ที่สำคัญมาก เพราะเป็นเครื่องมือเรียนรู้สิ่งต่างๆ อันเป็นรากฐานของการเรียนรู้ แต่ละสาขาวิชา และเพิ่มพูนความรู้ ประสบการณ์ ความสามารถของผู้อ่าน ซึ่งเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ได้ผลระยะยาวมากที่สุด และยังได้เสริมสร้างชุดทักษะความรู้ จากกระบวนโต้ตอบ การพูดคุย ชักถาม ผ่านกิจกรรมในกระบวนการระหว่างการเรียนรู้จากการอ่าน” ประธานสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ กล่าวโครงการ “สร้างเสริมทักษะเท่าทันสือเพื่อเด็กด้วยหนังสือพิมพ์” ได้คัดเลือกโรงเรียนเข้าร่วม 220แห่ง จาก โรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขันพื้นฐาน (สพฐ.) โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) โรงเรียนสังกัดองค์การบริหารการปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตพื้นที่ กทม. จังหวัดนนทบุรี ปทมธานี สมุทรปราการ เพชรปรีประจวบคีรีขันธ์ สงขลา สตูล เชียงใหม่ อุบลราชธานี โดยโครงการฯ เข้าไปทำกิจกรรมเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้จากการอ่านหนังสือพิมพ์ และหนังสือพิมพ์ออนไลน์ ในกลุ่มนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ผ่านการเรียนรู้ในรายวิชาภาษาไทยโครงการฯ ดำเนินกิจกรรม 2 ส่วน คือ 1. การฝึกอบรมเรียนรู้ด้วยหนังสือพิมพ์และหนังสือพิมพ์ออนไลน์ แก่คุณครู ที่รับผิดชอบการสอนในรายวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้น ป. 5 โดยจะอบรมครู 1 คน ต่อ1 โรงเรียน โดยจะทำการอบรม 1 วัน ในการเรียนรู้คุณลักษณะของหนังสือพิมพ์ หนังสือพิมพ์ออนไลน์ การเรียนรู้การเท่าทันสื่อ จากผู้แทนของหนังสือพิมพ์ และนักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน เพื่อนำไปประยุกต์ออกแบบการสอนในชั่วโมงการสอน ผ่านกิจกรรม 2. การทำกิจกรรมสัปดาห์ “สร้างเสริมทักษะเท่าทันสื่อเพื่อเด็กด้วยหนังสือพิมพ์” โดยคุณครูจะทำการสอนแก่นักเรียนระดับชั้น ป.5 ในรายวิชาภาษาไทย จำนวน 5 วันๆ ละ 1 ชั่วโมง ที่จะเรียนรู้จากหนังสือพิมพ์ฉบับจริง จำนวน 5 ฉบับ ร่วมกับแบบฝึกหัดการเรียนรู้ ที่ได้ออกแบบเนื้อหาการสอน และการทำกิจกรรมการเสริมสร้างทักษะการอ่านหนังสือพิมพ์ อาทิ การจำแนกข่าว การเรียนรู้จากเนื้อหาข่าว การจำแนกความแตกต่างหนังสือพิมพ์กับหนังสือพิมพ์ออนไลน์ การรู้เท่าทันสื่อ การใช้สื่อปลอดภัย เนื้อหาปลอดภัย เท่าทันภัยไซเบอร์ ซึ่งโครงการนี้จะให้เด็กนักเรียนระดับชั้น ป. 5 จำนวนกว่า 4,500 คน ได้เรียนรู้ และเสริมสร้างทักษะจากการอ่านหนังสือพิมพ์สำหรับ กิจกรรมอบรมครู 1 วัน 1 คน / 1โรงเรียนในเขตพื้นที่ กทม. จังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ ส่วนพื้นที่ภูมิภาค ประกอบด้วย เพชรบรี ประจวบคีรีขันธ์ สงขลา สตูล เชียงใหม่ อุบลราชธานี จะทำการอบรมในพื้นที่จังหวัดนั้นในเดือนมกราคม 2568 เมื่อหลังจากจบการเรียนรู้ เวิร์คชอป คุณครูจะนำไปจัด กิจกรรมสัปดาห์ “สร้างเสริมทักษะเท่าทันสือเพื่อเด็กด้วยหนังสือพิมพ์” 5 วัน ในชั้นเรียนวิชาภาษาไทยระดับชั้น ป.5 โดยในส่วน กทม. ปริมณฑล ภาคกลาง ที่ใช้หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ เดลินิวส์ มติชน กรุงเทพธุรกิจ จะจัดกิจกรรมฯ วันที่ 3-7 กุมภาพันธ์ 2568 และส่วนพื้นที่จังหวัดภูมิภาค กลุ่มโรงเรียนที่ใช้หนังสือพิมพ์ส่วน ภูมิภาค 8 ฉบับ ประกอบด้วย หนังสือพิมพ์ประชามติ จ.ตราด หนังสือพิมพ์เพชรภูมิ จ.เพชรบุรี หนังสือพิมพ์ หาดใหญ่โฟกัส จ.สงขลา หนังสือพิมพ์หัวหินสาร จ.ประจวบคีรีขันธ์ หนังสือพิมพ์ส่องใต้นิวส์ จ.สตูล หนังสือพิมพ์ไทยนิวส์ จ.เชียงใหม่ หนังสือพิมพ์ปทุมมาลัย จ.อุบลราชธานี จะจัดสัปดาห์ “สร้างเสริมทักษะเท่าทันสื่อเพื่อเด็กด้วยหนังสือพิมพ์” ระหว่างวันที่ 17-21 กุมภาพันธ์ 2568หลังจากเปิดตัวโครงการแล้วได้มีการเสวนา เสวนา 

“นวัตกรรมสื่อกับการเรียนรู้เท่าทันสื่อในห้องเรียนภาษาไทย” ผู้ร่วมเสวนา ดร.วสันต์ สุทธาวาศ รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานคุณพจมาลย์ ปทมบริสุทธิ์ ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะศึกษานิเทศก์ชำนาญการ หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร คุณฐีติวรรณ ไสวแสนยากร บรรณาธิการข่าวการศึกษา หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ คุณทินกร เชาวน์ชื่น บรรณาธิการข่าว หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ คุณภูวสิษฏ์ สุขใส บรรณาธิการ สงขลาโฟกัส/หนังสือพิมพ์ภาคใต้โฟกัส จังหวัดสงขลา ดำเนินการเสวนา โดย รศ.ดร.วิไลวรรณ จงวิไลเกษม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *