“เมื่อวันที่ 25 ธันวาคมที่ผ่านมา ได้แจ้งวาระการประชุม ครม.สัญจร วันที่ 28 มกราคม 2568 ให้ที่ประชุมคณะกรรมการหอการค้าจังหวัดสงขลาได้รับทราบ” นายทรงพล จังศิริวัฒนธำรง ประธานหอการค้าจังหวัดสงขลา กล่าวและว่า
การหารือและการนำเสนอโครงการต่อครม.จะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือการนำเสนอโครงการในระดับพื้นที่และระดับนโยบาย ซึ่งโครงการที่จะนำเสนอในระดับพื้นที่ของจังหวัดสงขลา ได้ฝากให้
คณะกรรมการหอการค้าจังหวัดสงขลาแต่ละฝ่ายช่วยกันรวบรวมโครงการที่สามารถนำมานำเสนอ
“ตอนนี้ยังไม่สามารถระบุโครงการที่ชัดเจนได้ว่ามีโครงการอะไรบ้าง รอให้คณะกรรมการฯแต่ละฝ่ายช่วยกันนำเสนอเข้ามาเพื่อพิจารณานำเสนออีกครั้ง”
ส่วนโครงการในเชิงนโยบายที่จะนำเสนอต่อครม.สัญจร เพื่อให้รัฐบาลผลักดันให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีงบประมาณไปดำเนินการ ประกอบด้วย โครงการมอเตอร์เวย์หาดใหญ่-ด่านชายแดนสะเดา
ซึ่งเป็นโครงการที่มีการศึกษาเรียบร้อยแล้ว แต่ยังขาดงบประมาณและการร่วมทุนกับภาคเอกชน
ซึ่งแผนงานลากยาวมานานมากแล้ว ถ้าสมมุติรัฐบาลให้ความสำคัญ และมีงบประมาณในการลงทุนในโครงการนี้เพราะหากคาดหวังภาคเอกชนมาลงทุน แล้วคาดหวังจุดคุ้มทุนไม่ง่าย แต่หากมีงบประมาณจากภาครัฐเข้ามาร่วมด้วยจะทำให้โครงการเกิดขึ้นได้ ช่วยบรรเทาปัญหาการเดินทางจากด่านฯชายแดนเข้ามา การส่งสินค้าภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ
และลดปัญหาอุบัติ การจราจร รวมถึงสนับสนุนการ
ท่องเที่ยวระหว่างไทยกับมาเลเซียได้เป็นอย่างดี
เนื่องจากโครงการมีอยู่แล้ว แต่ขาดงบประมาณดำเนินการ
โครงการต่อมา คือโครงการทางเลี่ยงเมืองหาดใหญ่(วงแหวน) เส้นตะวันออก-ตะวันตก จากปี
งบประมาณที่ได้รับการจัดสงประมาณของกรมทางหลวง เส้นตะวันออกเฟสแรก ระยะทาง
7 กิโลเมตรเท่านั้น จากเส้นทางกว่า 60 กิโลเมตร การจัดสรรงบประมาณที่ล่าช้า ค่าเวนคืนก็ยิ่งสูง ราคาประเมินสูง ก็ยิ่งทำยาก
“หากรัฐบาลให้ความสำคัญว่าจังหวัดสงขลาเป็นเมืองเศรษฐกิจ รัฐบาลปรับค่าแรงหาดใหญ่วันละ 380 บาท แต่เราไม่มีโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับการขยายตัวที่จะมารองรับและดึงดูการลงทุนในพื้นที่อะไรเลย รัฐบาลจะต้องมาลงทุน” นายทรงพล กล่าว และว่า
ตรงนี้เป็นสิ่งที่อยากผลักดัน ถ้ารอให้จังหวัดทำเรื่องเสนอของบประมาณไป มันไม่มีหรอกครับ แต่งบประมาณมากขนาดนี้ จะต้องเป็นรัฐบาลที่ผลักดันงบประมาณขนาดใหญ่ผ่านกระทรวงมาโดยตรงเพื่อดำเนินการให้แล้วเสร็จในเวลาที่จำกัด ไม่ใช่ทำไปไม่รู้กี่ปีจึงจะแล้วเสร็จ อย่างโครงการก่อสร้างถนนวงแหวนรอบเมืองหาดใหญ่คิดมาตั้งแต่ปี2540 จนป่านนี้เพิ่งสร้างได้แค่ 7 กิโลเมตรเท่านั้น
“โครงการนี้เป็นโครงการที่สร้างศักยภาพให้กับจังหวัดสงขลา ลดปัญหาการจราจร เพิ่มโอกาสการคมนาคมในพื้นที่ให้มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น”
ต่อมาคือ โครงการขยายท่าอากาศยานหาดใหญ่ ซึ่งมีแผนดำเนินการ แต่ก็ขาดงบประมาณเช่นเดียวกัน เนื่องจากต้องจัดสรรงบประมาณไปท่าอากาศยานหลาย ๆ แห่ง การพัฒนาท่าอากาศหาดใหญ่จึงล่าช้า ทำให้ท่าอากาศยานหาดใหญ่มีสภาพแออัดในช่วงเทศาล ทั้งที่เป็นท่าอากาศยานนานาชาติ สมควรที่จะพัฒนาให้เหมาะสม เพื่อรองรับการใช้บริการที่มีมากขึ้น
อีกโครงการ คือการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกสงขลา
ซึ่งจะต้องมีงงบประมาณในการขุดลอกร่องน้ำให้มีความลึกอยู่ที่ระดับ 9 เมตร ตลอดอายุสัมปาทาน
“ทุกวันนี้ร่องน้ำที่กรมเจ้าท่าต้องดูแลอยู่หลายแห่ง ซึ่งทุกร่องน้ำก็ของบประมาณจากกรมเจ้าท่า ทำให้ต้องเกลี่ยงบประมาณกันไป ทำให้แต่ละร่องน้ำ
ไม่ได้ความลึกตามที่ต้องการ”
พอเป็นแบบนี้ ก็เสียโอกาสในการเพิ่มจำนวนการนำเข้าส่งออกสินค้่า ซึ่งท่าเรือน้ำลึกสงขลาจะติดตั้งเครนหน้าท่า เพื่อรองรับเรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่มากขึ้น แต่ร่องน้ำก็ต้องมีความลึกเพียงพอ ตรงนี้
ก็ต้องจัดลำดับความสำคัญร่องน้ำ ที่จะต้องจัดสรรงบประมาณมาอย่างต่อเนื่อง ตลอดอายุสัมปทาน เพื่อรักษาร่องน้ำให้ได้ตามความลึกที่ต้องการ
ซึ่งภาคอุตสาหกรรมมีความต้องการที่จะมาใช้บริการท่าเรือน้ำลึกสงขลา หลังจากที่ได้มีการติดตั้งเครนหน้าท่าแล้วเสร็จสามารถรองรับเรือขนาดใหญ่ ลดค่าใช้จ่ายลงได้ ทางผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมยินดีที่จะส่งสินค้าผ่านท่าเรือน้ำลึกสงขลา แทนการส่งผ่านท่าเรือปีนัง ประเทศมาเลเซียในปัจจุบัน
“การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ โครงการเหล่านี้ไม่สามารถดำเนินการได้ด้วยจังหวัด เนื่องจากงบประมาณไม่เพียงพอ”
รวมถึงโครงการรถไฟรางคู่หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ที่จะต้องเชื่อมต่อกับประเทศมาเลเซีย เชื่อมต่อ
กับสถานีบางกล่ำให้เป็นลานขนถ่ายสินค้าตู้คอนเทนเนอร์ เพื่อเชื่อมโยงการส่งสินค้าผ่านระบบรางไทย-มาเลเซีย ที่จะสนับสนุนการส่งออกนำเข้าสินค้าของภาคใต้ไปยังต่างประเทศให้มีความสะดวกมากขึ้น