Home » ข่าว » “นายกไพเจน”รับรางวัล “ค่าของแผ่นดิน” นวัตกรรมสร้างสุขชุมชน

“นายกไพเจน”รับรางวัล “ค่าของแผ่นดิน” นวัตกรรมสร้างสุขชุมชน

วันนี้ (20 พฤศจิกายน 2567) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายไพเจน มากสุวรรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา รับรางวัล “ค่าของแผ่นดิน” จากนายรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายรัฐมนตรี 

ซึ่งสำนักงานปลัดประจำสำนักนายกฯ จัดขึ้น โดยกองงานสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ส่งผลงานเข้าประกวด และได้รับรางวัล “ศูนย์สร้างสรรค์ นวัตกรรมสร้างสุขชุมชน” ในการช่วยเหลือผู้ป่วย ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส โดยเฉพาะผู้ยากไร้ เข้าไม่ถึงระบบสวัสดิการด้านสาธารณสุขของรัฐ

โครงการศูนย์สร้างสรรค์นวัตกรรมสร้างสุขชุมชนที่กองสาธารณสุขส่งเข้าประกวด และได้รับรางวัลนั้น จากข้อมูลพบว่า จังหวัดสงขลามีประชากร ๑,๔๓๑,๒๑๘ คน จากสถานการณ์การเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องของคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในจังหวัดสงขลา ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนสูงถึง ๒๘๙,๑๐๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๐.๑๙ ของประชากรทั้งจังหวัด 

โดยพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ ๕๔.๑๙ ของ

กลุ่มเป้าหมายมีข้อจำกัดด้านการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย และร้อยละ ๙๗ มีฐานะยากจน (ที่มา : สสจ.สงขลา และพมจ.สงขลา, ๒๕๖๒) ซึ่งกลุ่มเป้าหมายเหล่านี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางด้านการแพทย์และอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการที่เหมาะสมและมีคุณภาพ เพื่อให้สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด

จากการศึกษาข้อมูลกลับพบว่า กลุ่มเป้าหมายร้อยละ 80 ไม่สามารถเข้าถึงการบริการที่จำเป็นตามสิทธิที่ระบุได้จริงและไม่เป็นธรรมอย่างที่กฎหมายกำหนด (ที่มาข้อมูล : พมจ.สงขลา, ๒๕๖๒) ถึงแม้ว่าระบบหลักประกันสุขภาพในประเทศไทยจะระบุหลักการที่ครอบคลุมเรื่องความพิการและการฟื้นฟูสมรรถภาพไว้แล้วก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติกลับพบว่ากลุ่มเป้าหมายไม่สามารถเข้าถึงบริการได้เนื่องจาก ข้อจำกัดทางด้านสภาพร่างกาย ด้านเศรษฐกิจที่ยากไร้ ด้านสังคมที่ไม่มีญาติพี่น้องและบุตรหลานคอยดูแล การไม่มีรถบริการรับ-ส่งเข้ารับการรักษา ด้านสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการเดินทาง ผนวกกับข้อจำกัดของหน่วยงานภาครัฐด้านสาธารณสุขที่มีข้อจำกัดด้านบุคลากรในการให้บริการโดยเฉพาะช่างซ่อมกายอุปกรณ์ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู และนักกายภาพบำบัด ซึ่งไม่สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่เพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบัน 

โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกล การกระจุกตัวของบุคลากรอยู่ในเขตเมือง ระบบบริการที่เน้นเชิงรับมากกว่าเชิงรุกข้อจำกัดเรื่องงบประมาณที่ถูกจัดสรรแบบเสื้อโหล ข้อจำกัดด้านระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ระบบการจัดหาอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการที่ล่าช้า รวมถึงข้อจำกัดในเรื่องของเขตพื้นที่รับผิดชอบและสิทธิการรักษาพยาบาล 

ด้วยเหตุปัจจัยดังกล่าวข้างต้นส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการของกลุ่มเป้าหมาย ที่มีความจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางด้านการแพทย์และอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการโดยเฉพาะผู้ที่มีฐานะยากจนในพื้นที่ห่างไกล ส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายเกิดภาวะพึ่งพิงและเกิดความพิการอย่างถาวรเพิ่มสูงขึ้น ตามลำดับ ส่งผลกระทบระยะยาวต่อคุณภาพชีวิตของกลุ่มเป้าหมายและครอบครัว ชุมชน สังคมในทุกมิติ รวมถึงเป็นภาระใช้จ่ายมหาศาลในการดูแลของครอบครัว สังคม และประเทศชาติ ปัญหาเหล่านี้จึงเป็นเสมือนภูเขาน้ำแข็งที่รอการแก้ไขมาอย่างยาวนานในจังหวัดสงขลา

อบจ.สงขลา จึงดำเนินโครงการดังกล่าว  (๑) เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการด้านการฟื้นฟูสมรทางด้านการแพทย์และอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการสำหรับคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง โดยเฉพาะผู้ที่มีฐานะยากจนในพื้นที่ห่างไกลในจังหวัดสงขลา

              (๒) เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพทางด้านการแพทย์ให้กับคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงที่มีความจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ ให้สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด

            (๓) เพื่อสร้างต้นแบบศูนย์บริการด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพทางด้านการแพทย์และอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการสำหรับคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงแบบบูรณาการในจังหวัดสงขลา

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *