อบจ.สงขลา จับมือม.หาดใหญ่ และจังหวัดสงขลา สานต่อ “ศูนย์ผึ้งชันโรงสงขลา” ให้ความรู้เกษตรกร
21 พฤศจิกายน 67 ที่มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ มีการประชุมหารือการต่อเนื่อง MOU โดย นายไพเจน มากสุวรรณ์ นายก องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา พร้อมด้วย นายธัชธาวินท์ สะรุโณ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ประกอบด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ก้าน จันทร์พรหมมา ที่ปรึกษาอธิการบดีฝ่ายวิจัย ดร.นิวัตน์ สวัสดิ์แก้ว รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและชุมชนสัมพันธ์ และวาา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นุกูล ชิ้นฟัก คณบดีคณะรัฐศาสตร์
สืบเนื่องตามบันทึกข้อตกลง ความร่วมือ (MOU) ระหว่าง องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ และจังหวัดสงขลา ร่วมกันจัดตั้งศูนย์กลางความรู้และผู้เชี่ยวชาญผึ้งชันโรง (อุง) จังหวัดสงขลา โครงการ จัดตั้งศูนย์กลางความรู้ผึ้งชันโรง (อุง) จังหวัดสงขลา (Hub of Stingless Bee Knowledge and Talents, Songkhla Province) ซึ่งเป็นการร่วมมือร่วมทุนในการดำเนินงาน
โดยมีโครงการ 1. ส่งเสริมความรู้และการเรียนรู้เกี่ยวกับผึ้งซันโรงเพื่อให้เกษตรกร นักเรียน นักวิจัย และประชาชนทั่วไป ได้มีโอกาสศึกษาลักษณะทางชีววิทยา ระบบนิเวศ และประโยชน์ของผึ้งชันโรง
- อนุรักษ์พันธุ์และความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อให้เกษตรกร นักเรียน นักวิจัย และประชาชนทั่วไป ได้มีโอกาสศึกษาลักษณะทางชีววิทยา ระบบนิเวศ และประโยชน์ของผึ้งชันโรง
- สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาศูนย์กลางความรู้และผู้เชี่ยวชาญ สามารถเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลและผลงานวิจัยที่เกี่ยวกับผึ้งชันโรง รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีหรือวิธีการเลี้ยงและเพาะพันธ์ุผั้งชันโรงให้มีประสิทธิภาพ และศูนย์กลางความรู้สามารถเป็นสถานที่ฝึกอบรมให้กับเกษตรกรและผู้สนใจ
และ 4. ส่งเสริมอาชีพและรายได้ให้แก่ชมชน เช่น น้ำผึ้งและผลิตภัณฑ์จากขี้ผ้ง สามารถนํามาสร้างรายได้ให้กับชุมชน
ซึ่งมีกิจกรรม ประกอยด้วย 1. การสร้างอาคารศูนย์กลางความรู้และจัดหาเครื่องมือ อุปกรณ์ เพื่อการบริการวิชาการด้านผึ้งชันโรงให้แก่ชุมชน, 2. จัดประชุมสัมมนา เพื่อรวบรวมองค์ความรู้และผู้เชี่ยวชาญด้านผิ้งชันโรง, 3. ฝึกอบรมพัฒนาทักษะระดับสูง (Reskill Upskill/New Skil) ให้แก่เครือข่ายผึ้งซันโรงจังหวัดสงขลาและผู้ที่สนใจโดยทั่วไป และ 4. จัดงานประชุมวิชาการเพื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการ และการจัดงานประจําปี
งบประมาณดําเนินการ 1. การสร้างอาคารศูนย์กลางความรู้และจัดหาเครื่องมือ อุปกรณ์ เพื่อการบริการวิชาการด้านผึ้งขันโรงให้แก่ชุมชนงบ, 2. จัดทำฐานข้อมูลความรู้ผึ้งชันโรง, 3. เครื่องมือและอุปกรณ์, 3. จัดประชุมสัมมนา เพื่อรวบรวมองค์ความรู้แเละผู้เชี่ยวชาญด้านผึ้งชันโรง, 4. ฝึกอบรมพัฒนาทักษะระดับสูง (ReskillUpskil/New Skil) ให้กับเครือข่ายผิ้งชันโรงจังหวัดสงขลา และ 5. จัดงานประชุมวิชาการ และจัดงานประจําปี
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. จังหวัดสงขลาจะเป็นศูนย์กลางความรู้และผู้เชี่ยวชาญในการเลี้ยงผิ้งชันโรงที่เป็นแมลงเศรษฐกิจประจําจังหวัดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (ดําเนินการในพื้นที่มหาวิทยาลัยหาดใหญ่), 2. การส่งเสริมองค์ความรู้และการวิจัย ช่วยให้มีข้อมูลเกี่ยวกับผึ้งชันโรงเพิ่มมากขึ้น ทั้งด้านชีววิทยา การอนุรักษ์ และเทคนิคการเลี้ยง ทําให้การวิจัยมืพื้นฐานที่แน่นหนาและสามารถพัฒนาต่อยอดได้,
- การสร้างรายได้ให้แก่ขุมขน : เมื่อชุมซนมีความรู้ที่ถูกต้องในการเลี้ยงผึ้งชันโรง สามารถผลิตน้ำผึ้ง ผลิตกัลฑ์จากผึ้ง หรือการเพาะพันธุ์เพื่อจําหน่าย เพิ่มรายได้ให้แก่คนในพื้นที่, 4. การอนุรักษ์ผึ้งชันโรงในธรรมชาติ : การให้ความรู้เรื่องการอนุรักษ์ช่วยลดการทําลายถิ่นที่ยู่อาศัยของผึ้งชันโรง และสนับสนุนการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ,
- การพัฒนานักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญ : ศูนย์กลางความรู้และผู้เชี่ยวขาญจะช่วยให้ผู้สนใจด้านนี้มีแหล่งเรียนรู้และฝึกฝน ทําให้เกิดผู้เชี่ยวชาญใหม่ ๆ ในด้านการเลี้ยงผึ้งชันโรง, 6. การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน: การผลิตและการใช้ผลิตภัณฑ์จากผึ้งชันโรงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่งผลต่อการเติบโตอย่างยั่งยืนของเศรษฐกิจในชุมชน และ 7. เป็นอาชีพทางเลือกหนึ่งของกลุ่มผู้สูงอายุที่กําลังจะเกษียณอายุ และผู้ที่เกษียณอายุ ในการประกอบอาชีพ สร้างานและ สร้างรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุให้สามารถ พึ่งตนเองได้ โดย “เปลี่ยนเกษียณเป็นพลัง
“โครงการนี้จะทำให้ สงขลาเป็นคำตอบในเรื่องชันโรงได้ทุกเรื่อง”