Home » ข่าว » ขอผ่อนปรนกักอายัดปลากะพงนำเข้าจากมาเลย์

ขอผ่อนปรนกักอายัดปลากะพงนำเข้าจากมาเลย์

ผู้ประกอบการนำเข้าสินค้าปลากะพงขาวแช่เย็นจากประเทศมาเลเซีย ส่งหนังสือถึงอธิบดีกรมประมง พิจารณาผ่อนปรน การยกระดับมาตรการด้านสุขอนามัยพืช (SPS) ในการนำเข้าเข้าสินค้าปลากะพงขาวแช่เย็น จากประเทศมาเลเซีย  โดยดำเนินการกักอายัดสินค้าปลากะพงขาวแช่เย็น (แช่น้ำแข็ง) ทั้งจำนวนทุกรอบการนำเข้า

              หลังจากกรมประมงประกาศบังคับใช้การยกระดับมาตรการด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS) ในเรื่องการนำเข้าเข้าสินค้าปลากะพงขาวแช่เย็น จากประเทศมาเลเซีย พ.ศ. 2567 (ฉบับที่ 2) โดยมีผลบังใช้เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา

             ซึ่งข้อปฏิบัติเมื่อผู้ประกอบการนำสินค้าตามข้อ 2 เข้ามาในราชอาณาจักรแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ด่านตรวจประมง จะดำเนินการอายัดสินค้าทุกรอบการนำเข้า และเก็บตัวอย่างสินค้าเพื่อส่งวิเคราะห์ตรวจสอบหาสารตกค้างได้แก่ คลอแรมแฟนิคอล (Chloraramphenicol) มาลาโคท์กรีน (Malachite green) 

           สารในกระบวนการสร้างและสลายของกลุ่มในโตรฟูแรน (Nitrofuran metabolites) และยาต้านจุลชีพ ในกลุ่มฟลูโอโรควิโนโลน (Fluoroquinolone) จนกว่าจะได้รับผลการตรวจวิเคราะห์ โดยหากปรากฎผลการตรวจวิเคราะห์ว่าพบสารตกค้างหรือพบยาด้านจุลชีพ จะไม่อนุญาตให้นำเข้าและแจ้งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเพื่อดำเนินการตามกฎหมาย

          ต่อมาวันที่ 21 พฤศจิกายน 2567 นางร่อบีหย๊ะ ขุนทหาร พร้อมผู้ประกอบการนำเข้าสินค้าปลากะพงขาวแช่เย็นจากประเทศมาเลเซีย ได้เดินทางไปยังศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดสงขลา เพื่อยื่นหนังสือถึงอธิบดีกรมประมง โดยมีนายรุ่งโรจน์ และสุบ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการกลุ่มงานศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดสงขลา เป็นผู้รับมอบ

       โดยขอให้มีการพิจารณาผ่อนปรน การยกระดับมาตรการด้านสุขอนามัยพืช (SPS) ในการนำเข้าเข้าสินค้าปลากะพงขาวแช่เย็น จากประเทศมาเลเซีย  ตามประกาศฉบับที่ 2 ลว. 1 พ.ย.2567  จะดำเนินการกักอายัดสินค้าปลากะพงขาวแช่เย็น (แช่น้ำแข็ง) ทั้งจำนวนทุกรอบการนำเข้า 

         ตามประกาศกรมประมง ฉบับที่ 2 มีมาตรการใช้ตั้งแต่ 15 พ.ย.2567 เรื่องการนำเข้าปลากะพงขาวจากประเทศมาเลเซีย จะต้องมีการเก็บตัวอย่างในการตรวจสินค้า โดยมีการกักอายัดสินค้าปลากะพงทั้งจำนวนทุกรอบการนำเข้ากักอายัดปลา จนกว่าผลการตรวจจากห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ตรวจสอบไม่พบสารตกค้างหรือไม่พบยาด้านจุลชีพในกลุ่มฟลูโอโรควิโนโลน (Fluoroquinolone)ใช้เวลาในการตรวจประมาณ 1-15 วัน 

         ในทางปฏิบัติการอายัดกักสินค้าปลากะพงทั้งจำนวน คำสั่งประกาศฉบับนี้ออกบังคับใช้ในวันที่ 15 พ.ย.2567 ย่อมมีผลกระทบ-ปัญหาความเดือดร้อน ในการจะให้ดำเนินการอายัดกักปลากะพงทั้งจำนวนที่นำเข้าเข้า  ควรมีการปรึกษา ชี้แจงพูดคุยถึงปัญหา หาแนวทางปฏิบัติและขอความร่วมมือ ผู้นำเข้า-ผู้ส่งออกปลากะพงขาวจากประเทศมาเลเชีย ปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด 

        เน้นย้ำคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคก่อนจะมีการประกาศคำสั่งฉบับที่ 2 ให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 15 พ.ย.2567 จนกว่าผลจากห้องปฏิบัติการออกผลวิเคราะห์เสร็จเท่ากับปลาทั้งจำนวนต้องมีการกักอายัดเป็นเวลา 1-15 วัน ย่อมมีผลกระทบความเสียหาย ปกติปลากะพงขาวที่นำเข้ามาในรูปปลาแช่เย็น (แช่น้ำแข็ง) ปลากะพงจำนวนวนนี้ย่อมเสียหาย เกิดการเน่าเสีย ไม่สามารถนำมาจำหน่ายหรือบริโภคได้ เพราะมีการนำเข้ามาในรูปแบบการแช่เข็นมิใช่นำเข้าปลากะพงในรูปปลาแช่แช่แข็ง

        ปัญหาผลกระทบ-ความเดือดร้อน ในการจะให้ดำเนินการอาชัดกักสินค้าปลากะพงขาวจากประเทศมาเลเซียทั้งจำนวนทุกรอบการนำเข้า การนำเข้าปลากะพงขาวจากประเทศมาเลเซีย ผู้ประกอบการนำเข้าปลากะพงขาวสภาพปลาสดแช่เย็น(แช่น้ำแข็ง) ทุกครั้งนำเข้าหากมีการใช้มาตรการในการกักอายัดปลากะพงนำเข้า

ทั้งจำนวนทุกรอบสินค้าปลากะพงสดแช่เย็น (แช่น้ำแข็ง) มีการกักอายัดทั้งจำนวน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *