Home » ข่าว » ศูนย์อพยพควายน้ำทะเลน้อย! บนวิถีพื้นถิ่น“แลนด์มาร์ก”ต.บ้านขาว

ศูนย์อพยพควายน้ำทะเลน้อย! บนวิถีพื้นถิ่น“แลนด์มาร์ก”ต.บ้านขาว

“ผู้ว่าฯ สงขลา”​ ดัน “ศูนย์อพยพควายน้ำทะเลน้อย” วิถีชีวิตวัฒนธรรมพื้นถิ่น ชูจุดแลนด์มาร์คแห่งแรกในตำบลบ้านขาว ระโนด รองรับนักท่องเที่ยว สร้างรายได้เพิ่มเกษตรกร คาดเปิดใช้ปีนี้

20 เมษายน​ 2566 นายเจษฎา จิตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา พร้อมด้วย นายเศวต เพชรนุ้ย ปลัดจังหวัดสงขลา นางสาวดุษฎี พฤกษเศรษฐ หัวหน้าสำนักงานจังหวัดสงขลา ลงพื้นที่ตรวจติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานโครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรและวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา “ศูนย์อพยพควายน้ำทะเลน้อย” บนพื้นที่หมู่ 6 บ้านหัวป่าตก ต.บ้านขาว อ.ระโนด จ.สงขลา มี นายสุรัตน์

ลายจันทร์ นายอำเภอระโนด นายวรรณรพ ส่องสว่าง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขาว นายสวัสดิ์ กิตติโชควัฒนา ปศุสัตว์อำเภอระโนด พร้อมด้วยผู้บริหารท้องที่ร่วมให้การต้อนรับและรายงานความคืบหน้า

ด้วยในห้วงเวลาปลายปีของทุกปี พื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ จังหวัดสงขลา จะเป็นช่วงฤดูลมมรสุมพาดผ่านเป็นเหตุให้เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่สืบเนื่องกันมาเป็นเวลากว่า 100 ปี เกิดเป็นวิถีการดำรงชีวิตในพื้นที่คาบสมุทรฯ ของคน พืช และสัตว์เลี้ยง ที่ต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์น้ำท่วมขัง

โดยคนมีการปรับใช้เทคโนโลยี ขณะที่พฤติกรรมสัตว์ที่เลี้ยงแบบปล่อยฝูง จะปรับตัวการหาอาหารในสภาวะน้ำท่วมขัง เกิดวิถีการดำรงอยู่ของควายน้ำตำบลบ้านขาว ที่พัฒนาว่ายน้ำหาอาหาร (หญ้า) ที่ขึ้นอยู่ทั่วไปในพื้นที่ทะเลน้อย

ความสามารถพิเศษของควายในทะเลน้อยคือ การกินหญ้าในขณะว่ายน้ำ สามารถดำน้ำลงไปกินหญ้าที่อยู่ใต้น้ำ และเมื่อกินอิ่มจะพากันว่ายน้ำหาที่สันดอนกลางน้ำเพื่อพักผ่อน เคี้ยวเอื้อง ก่อนออกหากินใหม่ และเดินทางกลับเข้าคอกเป็นฝูงยามพระอาทิตย์ตก

“เป็นภาพที่น่าสนใจสำหรับคนที่ไม่เคยได้สัมผัส คาดว่าคงจะมีเพียงหนึ่งเดียวในโลก”จังหวัดสงขลา ได้จัดสร้าง “ศูนย์อพยพควายน้ำ

ทะเลน้อย” อ.ระโนด ขนาด 6 เมตร ยาว 12 เมตร จำนวน 6 คอก พร้อมก่อสร้างสะพานขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 118 เมตร ให้เป็นที่พักหลบอาศัย และรวบรวมควายที่มารวมตัวหนีน้ำบนถนน เนื่องจากฟื้นถนนเป็นพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำ ทำให้กีดขวางทาง

จราจร เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย โดยเฉพาะในเวลากลางคืน เพราะไม่มีเสาไฟส่องสว่าง ก่อให้เกิดอันตราย เกิดความสูญเสีย ทั้งประชาชนผู้สัญจรใช้เส้นทาง และเกษตรกรผู้เลี้ยงควายในพื้นที่หมู่ 6 บ้านหัวป่าตก ตำบลบ้านขาว ซึ่งคาบเกี่ยวกับพื้นที่ทะเลน้อย

ประกอบกับเส้นทางสายหลักในการเดินทางมาจากจังหวัดนครศรีธรรมราช และพัทลุง มีผู้สัญจรใช้ผ่านเส้นทางดังกล่าวเข้ามาในจังหวัดสงขลาเป็นจำนวนมากต่อวัน นับเป็นจุดผ่านทางที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ และมีความเหมาะสมที่จะพัฒนาก่อให้เกิดรายได้

โดยสร้างจุดสนใจ อาทิ จุดสาธิตการเลี้ยงควาย การตั้งคอกพักสัตว์ชนิดถอดประกอบได้ วิถีควายน้ำอัตลักษณ์ของพื้นที่ รวมถึงแหล่งทรัพยากรจากธรรมชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์ และเกษตรกรกลุ่มผู้เลี้ยงควายตำบลบ้านขาว

ทั้งยังเป็นจุดเชื่อมโยงอันจะก่อให้เกิดรายได้จากนักท่องเที่ยวสร้างมูลค่าเพิ่มในการประกอบอาชีพการเลี้ยงควายตำบลบ้านขาว และปลูกฝังจิตสำนึกของประชาชนในพื้นที่ในการร่วมมือกันดูแลทรัพยากรสิ่งแวดล้อม สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรและชุมชน

ตลอดจน การอนุรักษ์ควายน้ำฝูงสุดท้าย และขยายโอกาสเพื่อสอดรับกับแผนการท่องเที่ยวพื้นที่รอบทะเลสาบสงขลาต่อไป นายวรรณรพ ส่องสว่าง กล่าวถึงความคืบหน้าการก่อสร้างศูนย์อพยพควายน้ำทะเลน้อยว่า ขณะนี้

อยู่ในขั้นตอนการยื่นประมูลและได้ผู้รับเหมาแล้ว ซึ่งตำบลบ้านขาวมีควายน้ำจำนวนมาก แต่ยังไม่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยว เนื่องจากตำบลบ้านขาวไม่มีจุดแลนด์มาร์คหรือสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ

“การสร้างศูนย์อพยพควายน้ำทะเลน้อย ถือเป็นการสร้างจุดแลนด์มาร์คแห่งแรกในตำบลบ้านขาว แสดงให้เห็นวิถีชีวิตความเป็นอยู่ วัฒนธรรมพื้นถิ่นและคอกพักสัตว์ ที่มีการสาธิตการเลี้ยงควาย คาดสร้างเสร็จและเตรียมเปิดใช้ภายในปีนี้” นายก อบต.บ้านขาว กล่าว

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *