Home » ข่าว » ถอดบทเรียนเมืองสงขลา!เผยแพร่สู่การเรียนการสอนประวัติศาสตร์

ถอดบทเรียนเมืองสงขลา!เผยแพร่สู่การเรียนการสอนประวัติศาสตร์

“วิชาประวัติศาสตร์” เป็นวิชาที่ทุกประเทศให้ความสำคัญ เนื่องจากวิชาประวัติศาสตร์เป็นวิชาที่มีเป้าหมายหลักให้ผู้ที่ศึกษาเกิดความเข้าใจในตนเองและถือเป็นรากที่สำคัญของการพัฒนาความเป็นมนุษย์ เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของแต่ละกลุ่มคน แต่ละประเทศ ผ่านการเวลาการเก็บหลักฐานข้อเท็จจริง


การเรียนรู้เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ จึงถือเป็นความสำคัญและจำเป็น กระทรวงศึกษาธิการปัจจุบันจึงได้บรรจุโครงการผลิตทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ “สร้างจิตสำนึกในความเป็นไทย” โดยได้ลงนามความร่วมมือกันของ 4 กระทรวง ที่เป็นหลักคือ กระทรวงศึกษาธิการ, กระทรวงการอุดมศึกษา


วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม, กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงแรงงานโดยกระทรวงการอุดมศึกษาฯ หรือ อว. มีการ
จัดให้นักศึกษาในมหาวิทยาลัยจัดการเรียนการสอนและเปิดเวทีแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และทัศนะด้านประวัติศาสตร์ในแง่มุมของการวิพากษ์ การแสวงหาความรู้ใหม่ การเสนอแนวทางสำหรับการนำประโยชน์จากประวัติศาสตร์มาใช้เพื่อการพัฒนาสังคม


กระทรวงมหาดไทย มุ่งให้ประชาชนได้มีความรู้ด้านประวัติศาสตร์ผ่านปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ และสื่อมวลชนในท้องถิ่น ส่งเสริมพัฒนาหมู่บ้านอาสา พระราชทาน หรือมอบธงสัญลักษณ์
กระทรวงแรงงาน จัดกิจกรรมเสริมให้ประชากรวัยแรงงาน เสริมความรู้ด้านความภาคภูมิใจ
ในสถาบันสำคัญของชาติ ตั้ง “ชมรมจิตอาสา” ปิดทองหลังพระ ในภาคแรงงานและภาคประชาชน
ส่วน กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นหลักนั้นเตรียมจัดโครงการ..กิจกรรมคือ 1. ศึกษาวิจัยการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ 1.1 นำเสนอผลวิจัยศึกษารูปแบบการสอนประวัติศาสตร์ของนานาประเทศ 1.2 จัดประชุมเสวนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ที่เหมาะสมสำหรับสังคมไทย


2.พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมือง 2.1 พัฒนาการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมืองโดยกำหนดไว้ในหลักสูตร ให้มีองค์ประกอบครบถ้วนทั้ง วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ ชั่วโมงเรียนหรือกิจกรรม เนื้อหา และการประเมินผล
2.2 อบรมครูสอนประวัติศาสตร์ให้สามารถสร้างจิตสำนึกในความเป็นไทยสำหรับเยาวชนและประชาชนโดยมุ่งเน้นในเนื้อหาที่เกี่ยวกับ ความสำคัญของสถาบัน ความเป็นมาของประวัติศาสตร์ของชาติ ความภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตนเองและการทำประโยชน์เพื่อชาติบ้านเมือง


  1. ผลิตสื่อ ตำรา สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และอื่นๆให้มีความทันสมัยสอดคล้องกับประชาชนทุกช่วงวัย เพื่อใช้ในการเผยแพร่ความรู้ให้กับเด็ก เยาวชน และประชาชน
  2. จัดกิจกรรมสาธิตการสอนประวัติศาสตร์สำหรับสถานศึกษา และจัด Road Show วิธีการสอนประวัติศาสตร์สร้างจิตสำนึกความเป็นไทย
  3. มอบหมายเขตพื้นที่การศึกษา ประสานภูมิปัญญาท้องถิ่น จัดค่ายผู้นำเยาวชนเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเพื่อสร้างจิตสำนึกรักแผ่นดินเกิดและร่วมกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาท้องถิ่น
  4. จัดตั้งกลุ่มยุวชน ลูกเสือจิตอาสาร่วมพัฒนาสังคม ปิดทองหลังพระ ลูกเสือมัคคุเทศก์ ให้บริการประชาชนและเผยแพร่ความรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
    และ 7. จัดทำข้อเสนอให้การประเมินความรู้
    มีการเพิ่มขอบเขตเนื้อหาด้านประวัติศาสตร์และจิตสำนึกในความเป็นไทย ในการรับสมัครบุคคลเข้ารับราชการเข้าทำงาน หรือดำรงตำแหน่ง
    และทั้งหมดนี้คือ เรื่องราวที่เป็นก้าวสำคัญของประเทศไทย ที่จะทำให้ประเทศไทยได้เดินหน้า
    สู่ประเทศที่มีความสุขของประชาชนในทุกภาคส่วน
    ของประเทศและผู้คนที่จะมาเยือน ที่จะเริ่มจัดกิจกรรมแรกขึ้นอย่างเป็นทางการในวันที่ 4-6 ธันวาคม 2566 ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยใช้ชื่อ
    ในกิจกรรมที่ถือเป็นจุดเริ่มต้นว่า Kick Off การขับเคลื่อนการจัดการเรียนการสอน ประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมือง ณโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย และชมงานยอยศยิ่งฟ้าอยุธยามรดกโลกกับเรื่องราวของเมืองสงขลา เมืองที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ผ่านกาลเวลาที่ได้รับการยกย่องให้เป็นเมืองที่สวยงามในทุกมิติที่กำลังเดินหน้าสู่เมืองท่องเที่ยวของผู้คนบนโลกใบนี้..ให้เป็นเมืองมรดกของโลก ที่เป็นต้นแบบในการศึกษาดูงานอยู่ในเวลานี้..
    ประวัติศาสตร์ของสงขลา ถือเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้สงขลาได้รับการยอมรับยกย่องให้เป็นเมืองมหัศจรรย์ที่มีมนตรา..เป็นนครแห่งศรัทธา ก็ด้วยการได้รู้เรื่องราวประวัติศาสตร์ของสงขลาเป็นสำคัญ..ที่กระทรวงศึกษาธิการได้นำเอาบทเรียนในการเล่าเรื่องราวของเมืองสงขลาไปเป็นหนึ่งในแบบอย่างในการเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ในโครงการสำคัญนี้ที่ถือเป็นความภูมิใจของเมืองสงขลา..ที่เรื่องราวของสงขลาจะได้นำไปเผยแพร่เป็นให้ทุกจังหวัดของประเทศไทยได้รับรู้เรื่องราวและร่วมเป็นกำลังในการนำสงขลาสู่เมืองมรดกโลกได้ในเร็ววันกันต่อไป


ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *