Home » ข่าว » ชงผวจ.เสนอ นรม.สั่งรมว.ศธ.แก้ปัญหา“อควาเรียมหอยสังข์”

ชงผวจ.เสนอ นรม.สั่งรมว.ศธ.แก้ปัญหา“อควาเรียมหอยสังข์”

หนังสือพิมพ์ภูมิภาค รายสัปดาห์ ของคนใต้ ปีที่ 26 ฉบับที่ 1,316 วันที่ 25 ธันวาคม 2566 – 7 มกราคม 2567

เสนอนายกรัฐมนตรี สั่งการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เร่งแก้ปัญหา “อควาเรียมหอยสังข์” หลังประชุมกำหนดแนวทางการใช้ประโยชน์โครงการแทนการปล่อยทิ้งร้าง ภาคเอกชนสนับสนุนดำเนินการต่อหวังเป็นแลนมาร์คการท่องเที่ยวใหม่ของจังหวัด แนะใช้มืออาชีพบริหาร

18 ธันวาคม 2566 ณ ห้องประชุม CEO ศาลากลางจังหวัดสงขลา นายสมนึก พรหมเขียว ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานการประชุม “การกำหนดแนวทางการดำเนินการและการพัฒนาโครงการก่อสร้างศูนย์ศึกษาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทะเลสาบสงขลา (อควาเรียมหองสังข์) ครั้งที่ 1/2566


มี นายวิทวัต ปัญจมะวัต รองเลขาธิการคณะกรรมการอาชีวศึกษา, นายกิตติศักดิ์ กั่วพานิช ผู้อำนวยการวิทยาลัยประมงติณสูลานนท์, นายราม วสุธนภิญโญ ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสงขลา, นายทรงพล จังศิริวัฒนธำรง ประธานหอการค้าจังหวัดสงขลา, นางสาววดารณี ทอง
ประชุม ผู้อำนวยการศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี, นายสัญญา วัชรพันธุ์ ประธาน
เครือข่ายภาคประชาชนคนสงขลา, นายชนินทร์ สาครินทร์ กรรมการมูลนิธิสงขลาสู่มรดกโลก, นายปรีชา สุขเกษม เครือข่ายพลเมืองสงขลา พร้อมประชาชนและสื่อมวลชนเข้าร่วม “ตอนนี้ยังไม่รู้เลยว่าปัญหาอยู่ตรงไหนบ้าง ที่เป็นประเด็นที่บอกว่า เป็นคดีติดขัดเดินหน้าต่อไปไม่ได้” ผู้ว่าฯ สมนึก กล่าว และว่า


แน่นอนภาพใหญ่คือ ตัวอาคาร อควาเรียมหอยสังข์ ที่เห็น แต่ว่าเนื้อไม่รู้ตัวไหนบ้าง เพราะฉะนั้น ถ้าวิทยาลัยประมงติณสูลานนท์หรือกรมอาชีวศึกษาไม่สะดวกที่จะให้ข้อมูลในส่วนนี้ ขอให้ป.ป.ช.ใช้อำนาจของท่าน ไปคลี่ข้อมูลออกมาให้ได้ว่าที่ยังเป็นประเด็นปัญหาอยู่คืออะไร “ผมเชื่อว่า ไม่เฉพาะผมที่อยากรู้ คนสงขลาที่อยากรู้เช่นเดียวกันว่า อะไรที่บอกว่าไปต่อไม่ได้”
ตรงนี้ขออนุญาตมอบ ป.ช.ช. เป็นแม่งานในการที่จะช่วยกันติดตามขับเคลื่อนประเด็นต่อมา เรื่องทางคดีเมื่อรู้แล้วว่ามีประเด็นอะไรบ้าง ทางคดีเท่าที่เปิดเผยได้“ผมเชื่อว่าในขั้นตอนบางอย่างเปิดเผยได้ เว้นรายละเอียดบางขั้น บางตอน อยู่ในขั้นตอนไหนอย่างไร อย่างน้อย ๆ ชาวสงขลา ในฐานะที่เป็นชาวบ้าน ไม่ใช่ผู้ว่าราชการจังหวัด จะได้รู้ว่า เป็นอย่างนี้
ประเด็นต่อมา คือเรื่องการหารือไปยัง ป.ป.ช. ในแนวทางปฏิบัติว่า จะมีส่วนไหนบ้าง อย่างไร ที่จะสามารถดำเนินการได้ ใช้ประโยชน์ได้


ถ้าเราบอกว่าตัวหอยสังข์มันเป็นพื้นที่ติดคดีอยู่ทั้งหมดก็แล้วไป แล้วข้างนอกอาคารสามารถทำอะไรได้บ้าง เหล่านี้เป็นต้น หลังจากนั้น ค่อยมาว่ากันใครจะเข้ามาเป็นภาคีเครือข่ายอย่างไร ค่อยว่ากัน ตอนนี้เอาเป็นว่าไปได้หรือไม่ได้อย่างไร
“ในทางปฏิบัติผมเชื่อว่า ยังไงก็ต้องได้ แล้วสุดท้ายเรื่องของการอยากได้ข้อเสนอแนะจากทางป.ป.ช.ว่าในเรื่องการดำเนินการท่านมีข้อเสนอแนะให้กับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ดำเนินการอย่างไรบ้าง”
หลังจากนั้น เมื่อได้ข้อมูลต่าง ๆ มาแล้ว ขอให้ป.ป.ช.นัดประชุม เพื่อรายงานความก้าวหน้า เพราะฉะนั้น จึงฝากป.ป.ช.ช่วยเร่งรัด เพื่อจะได้เห็นความคืบหน้าการใช้ประโยชน์ อควาเรียมหองสังข์ นายวิทวัต ปัญจมะวัต กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ไม่ขัดข้อและพร้อมให้ความร่วมมือ หากได้รับรู้รับทราบร่วมกันว่าพื้นที่ไหนที่สามารถทำได้
“ทางอาชีวศึกษาก็ยินดีเป็นอย่างยิ่งในการจะให้มีการพัฒนาส่วนจะพัฒนาเป็นรูปแบบอะไรนั้น ก็แล้วแต่” นายวิทวัต กล่าว และว่าหนึ่ง เป็นความต้องการของคนจังหวัดสงขลา แต่ท้ายสุดแล้วก็คงต้องนำเข้าการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) เนื่องจากมันเกินอำนาจของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา


“แต่ ทางสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเรายินดีที่จะยกพื้นที่ให้ทำประโยชน์สาธารณะร่วมกัน เราไม่มีการปิดกั้น ทำรั้วกั้นไม่ให้เข้าพื้นที่” ส่วนจะทำอะไรยังไงก็ค่อยมาดูกันอีกทีว่าความเหมาะสมคืออะไร และขอยืนยันว่าทางสำนัก
งานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาไม่ติดใจ รวมถึงยินดีที่จะทำความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการใช้ประโยชน์ อควาเรียมหอยสังข์ ไม่ว่าจะเป็นชุมชน หรือว่าภาคเอกชน ก็ยินดีเป็นอย่างยิ่ง หากว่ามีความชัดเจนว่าพื้นที่ไหนที่ติดปัญหาทางคดีและพื้นที่ไหนที่สามารถดำเนินการโดยไม่ผิดกฎหมายก็ยินดีให้ความร่วมมือ


นายราม วสุธนภิญโญ กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ทางจังหวัดร่วมกับสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสงขลา เพื่อขับเคลื่อนโครงการ อควาเรียมหอยสังข์ ที่มีการก่อสร้างแล้วถูกทิ้งร้าง ซึ่งอยู่ระหว่างที่ ป.ป.ช.กำลังไต่สวนเจ้าหน้าที่ ๆ เกี่ยวข้องของกรมอาชีวศึกษาในเรื่องของกระทำทุจริตมิชอบด้วยกฎหมายที่ทำให้ อควาเรียมหอยสังข์ ไม่แล้วเสร็จ
“วันนี้ ป.ป.ช.ประจำจังหวัดสงขลาเราทำงานในทิศทางในการเฝ้าระวัง หรือการป้องกันในการแก้ไขปัญหา และการใช้ประโยชน์ของ อควาเรียมหอยสังข์ แห่งนี้ อย่างไรต่อไป ซึ่งในวันนี้ได้ข้อสรุป จากที่ประชุมว่า ทุกคนยังกังวลในส่วนของกับคดีความอยู่” นายราม กล่าว และว่า ถ้าหากเรื่องนี้ยังติดคดีความอยู่หน่วยงานของรัฐจะสามารถขับเคลื่อนโครงการต่าง ๆ เหล่านี้ได้หรือไม่ ในส่วนของป.ป.ช.ประจำจังหวัดสงขลาก็รับข้อมูลจากทีประชุม เพื่อประสานไปยังป.ป.ช.ส่วนกลางว่า มีส่วนไหนบ้างที่ติดในเรื่องคดี และส่วนไหนจะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ต่อ ก็เชื่อว่าโครงสร้างอาคารหรือการก่อสร้างไม่ได้ทำโดยมิชอบทั้งหมด


แต่อาจจะมีส่วนใดส่วนหนึ่งที่ทำโดยมิชอบ ส่วนนั่นก็อาจจะยกเว้นไว้ ส่วนไหนที่สามารถขับเคลื่อนต่อภาคประชานเขาต้องการเอามาใช้ประโยชน์เพื่อไม่ให้เกิดการทิ้งร้าง
ซึ่งจะเป็นภาพลักษณ์ที่ไม่ดีต่อคนสงขลา ทางป.ป.ช.ประจำจังหวัดสงขลารับปากว่าจะประสานต่อแล้วก็นำมาเสนอในที่ประชุมอีกครั้งหนึ่งว่า มีส่วนไหนที่จะขับเคลื่อนต่อได้ และส่วนไหนที่ยังติดในเรื่องของคดี ที่ทุกคนกังวล หรือไม่สบายใจ
“แต่จริง ๆ แล้ว ป.ป.ช.ประจำจังหวัดสงขลา ก็ได้ หารือไปยังส่วนกลางแล้ว แต่ต้องรอว่า ฝ่ายกฎหมาย
จะวินิจฉัยอย่างไร ในเรื่องการใช้ประโยชน์โครงการของรัฐที่ป.ป.ช.ไต่สวนอยู่ จะสามารถดำเนินการได้หรือไม่ ประการใด”
สำหรับการสำรวจสภาพโครงการ อควาเรียมหอยสังข์ปัจจุบันนั้น ในเมื่อต้นเรื่องเดิมคือ กรมอาชีวศึกษาเอง ในฐานะที่เป็นเจ้าของเรื่อง ควรที่จะต้องสำรวจความเสียหายสถานะปัจจุบันว่าอะไรบ้างที่ใช้ประโยชน์ไม่ได้


และอะไรที่ใช้ประโยชน์ได้ เนื่องจากทรัพย์สินอันนี้เป็นของทางราชการ ซึ่งจะต้องขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ราชพัสดุหรือครุภัณฑ์ที่รัฐต้องดูแล และต้นสังกัดคือ กรมอาชีวศึกษา ที่เป็นผู้ก่อเรื่องนี้ขึ้นมา เขาก็ต้องสำรวจความเสียหายว่าจะไปต่อได้อย่างไร ตรงนี้เป็นประเด็นสำคัญ
ซึ่งผู้แทนของกรมอาชีวิศึกษาเขาก็ยินดี ที่จะให้คนสงขลานำมาใช้ประโยชน์ ฉะนั้น จึงย้อนกลับไปสู่เขาเพื่อนำเข้าครม.เพื่อเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
“คนที่จะเห็นชอบในการพิจารณาการใช้ประโยชน์คือ ครม. ซึ่งจะต้องมีการพูดคุยกันหลายรอบ ไม่น่าจะจบในรอบ หรือสองรอบ เพราะเกี่ยวข้องกับป.ป.ช.ในการไต่สวน”
นายราม กล่าวต่อว่า ส่วนตัวมองว่าสามารถใช้ประโยชน์จากโครงการ อควาเรียมหอยสังข์ ได้ เพราะว่าโครงการไม่ได้เสียหายทั้งหมด หลังจากที่ได้มีโอกาสเข้าดูโครงการ โดยเฉพาะในตัวโครงสร้างข้างในอาจจะเสื่อม แต่ตัวโครงสร้างใหญ่ตัวอาคารก็ต้องให้ทางวิชาชีพเข้ามาตรวจสอบว่า เป็นอย่างไร ดีกว่าปล่อยทิ้งร้าง ซึ่งทำให้ภาพลักษณ์ดูไม่ดีกับคนสงขลา
“การประชุมครั้งต่อไป คงต้องใช้เวลา เพื่อให้ได้ข้อมูล เนื่องจากกระบวนการบางอย่างอยู่ในกระบวนการไต่สวน จึงยังไม่สามารรถรับปากได้ว่าบางอย่างสามารถเปิดเผยได้หรือไม่ บางอย่างก็อาจจะเปิดเผยไม่ได้” นายราม กล่าว
นายทรงพล จังศิริวัฒนธำรง กล่าวว่า ในฐานะตัวแทนภาคเอกชนนั้น อควาเรียหอยสังข์ ถ้าไม่มองเรื่องปัญหาที่เกิดขึ้นมาในเรื่องกฎหมาย ที่ว่ามีประเด็นอะไรมาก่อนหน้านี้ เราสามารถพัฒนาได้ ดีกว่าปล่อยให้ทิ้งร้างไว้ 14-15 ปีมาแล้ว ถ้าเรามีการจัดงบประมาณขึ้นมาบูรณะการก่อสร้างให้แล้วเสร็จ


“จริง ๆ ต้องบอกว่า พิพิธภัณฑ์หรืออควาเรียมสามารถเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นแลนด์มาร์คในการมาท่องเที่ยวจังหวัดสงขลาได้ ถ้าเราบริหารให้ดี” ปรเะธานหอการค้าสงขลา กล่าว และว่า
เวลาเราไปต่างประเทศ ทำไมมีนักท่องเที่ยวจำนวนมากที่เข้าไปชม ซึ่งนักท่องเที่ยวที่เข้าชมส่วนใหญ่เป็นครอบครัว ที่พาบุตร หลาน เข้ามาเที่ยวไม่ว่าคนในประเทศหรือคนต่างชาติก็ตาม
“พิพิธภัณฑ์ถ้าบริหารให้ดี ที่มุ่งเน้นให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็แนะนำว่าอาจจะต้องพิจารณาให้เอกชนที่เป็นมืออาชีพทางด้านนี้เข้ามาบริหารพื้นที่”


เนื่องจากเขาจะมีการลงทุน นำเอานวัตกรรมใหม่ ๆ ในการจัดการแสดงที่เหมาะสมกับโจทย์ปัจจุบันที่เอามาใช้ ซึ่งหากทำก็จะตอบโจทย์กับการท่องเที่ยวของจังหวัดสงขลา ที่เราต้องการให้คนมาเที่ยวจังหวัดสงขลา เขาก็อยากหาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ๆ ถ้าเรามีแหล่งท่องเที่ยวแห่งนี้ เพราะตัวอาคาร
ของอควาเรียมหอยสังข์ มีความโดดเด่นในตัวอยู่แล้ว เนื่องจากเป็นสัญญลักษณ์ของจังหวัดสงขลา
รวมถึงการก่อสร้างที่ดูจากภายนอกก็มีความโดดเด่น และที่สำคัญตั้งอยู่ริมทะเลสาบสงขลา ฉะนั้น ความโดดเด่นของอาคารเป็นตัวดึงดูดอย่างหนึ่ง และที่สำคัญไปกว่านั้น คือการบริหารจัดการภายใน ถ้าสมมุติมีการผลักดันให้เกิดการใช้งานได้จริง ๆ ถ้าเราต้องการทำเป็นพิพิธภัณฑ์เราต้องจัดการปฏิบัติงานให้ตอบโจทย์ตรงนั้น แล้วหาภาคเอกชนที่เขามีศักยภาพทางด้านนี้ เราอาจจะต้องไปเชิญชวนให้เขามาบริหารพื้นที่นี้ ว่าพื้นที่นี้สามารถมาพัฒนาอย่างไรได้บ้าง
แต่ถ้าเราไม่ต้องการให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็อาจจะต้องไปตอบโจทย์การแหล่งเรียนรู้ แหล่งศึกษา ซึ่งก็อาจจะเหมาะกับการบริหารโดยราชการมากกว่า
แต่การบริหารโดยราชการก็จะมีปัญหางบประมาณผูกพันในการบำรุงรักษา และบูรณะพื้นที่ ในการพัฒนา ซึ่งจะต้องมีงบประมาณผูกพัน ก็ต้องถามว่าตรงนี้เขาต้องเตรียมพร้อมในการบริหารพื้นที่ตรงอย่างต่อเนื่อง
“การบริหารโดยภาคราชการหรือหน่วยงานรัฐดำเนินการก็อาจจะไม่มีมิติในการนำเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมมาใช้ ซึ่งการท่องเที่ยวตรงนั้นอาจจะดึงดูดได้น้อยกว่า”


ถ้าถามว่า พิพิธภัณฑ์ เป็นจุดเด่นที่เมืองทุกเมืองที่อยู่ติดทะเลถ้ามี และทำให้ดี ก็จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ เวลาที่เราไปต่างประเทศเมืองไหนที่มี อควาเรียม เราก็อยากเข้าไปชม “จุดดึงดูดของอควาเรียมที่น่าสนใจขึ้นอยู่กับการบริหารพื้นที่ นำเสนออย่างไรให้ดูแล้วน่าสนใจ
มีสัตว์น้ำแบบไหน มีอะไรที่โดดเด่นแตกต่างจากที่อื่น ตรงนั้นจะทำให้คนอยากมาเที่ยว”นายทรงพล กล่าว
ด้าน นายปรีชา สุขเกษม กล่าวว่า การประชุมวันนี้ทางรองเลขาธิการคณะกรรมการอาชีวศึกษา ซึ่งเป็นผู้ใหญ่ของกระทรวงศึกษาธิการมาประชุม แต่คนเก่า ๆ ก็ไปหมดแล้ว ที่มาประชุมวันนี้ก็ถือว่าเป็นคนใหม่หมด พอเป็นคนใหม่เขาก็เริ่มศึกษาข้อมูลใหม่ ทำให้สิ่งที่เราติดตามมาเป็นเวลาสิบปีเหมือนย่ำอยู่กับที่ นี่คือปัญหาที่เกิดขึ้น
“ที่ประชุมมีความคิดที่หลากหลายมาก ความจริงคนสงขลาหมดความอยาก ที่จะได้เห็น อควาเรียมหอยสังข์ เพราะว่ามันสร้างไม่เสร็จสักที”
เงินกว่า 1,400 ล้านบาท ถ้าเราคิดดอกเบี้ยแค่ 1 เปอร์เซ็นต์ 1 ปี 14 ล้านบาทสำหรับดอกเบี้ย วันละ 38,888 บาท นี่คือตัวชี้วัดง่าย ๆ ที่มีนัยความเสียหาย
ที่เกิดขึ้น เพราะ ฉะนั้นการที่นำเงิน 1,400 ล้านบาทมาทิ้งเป็นเศษอิฐเศษปูน เรื่องแบบนี้ผู้บริหารต้องรับผิดชอบ ไม่ว่าระดับจังหวัดหรือระดับประเทศ
“คุณสร้างความเสียหายให้กับงบประมาณแผ่นดินวันละ 38,888 บาท ผมถือว่าเป็นความเสียหายที่ยิ่งใหญ่มาก” นายปรีชา กล่าว และว่า


ภาคประชาชนมีการล่ารายชื่อก็มีการดำเนินการมาแล้วหลายครั้ง ส่วนยื่นหนังสือไม่ต่ำกว่า 10 รอบ เปลี่ยนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมาแล้ว 3 ท่าน วันนี้จึงนำเสนอผ่านท่านผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาไปว่า ช่วยให้กลไกของจังหวัดเสนอไปถึงท่านนายกรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน ให้ช่วยสั่งการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้มาช่วยจัดการแก้ปัญหา อควาเรียมหอยสังข์ ให้สร้างเสร็จซักที แต่ถ้าไม่มีเสียงตอบรับ ถือว่าคนสงขลาเดือดร้อน
จริง ก็ไม่มีทางอื่น ก็ต้องจำเป็นต้องลงถนน หรือทำเรื่องนี้ให้ใหญ่ขึ้น ๆ
“ปล่อยให้ล่าช้ากว่านี้ไม่ได้แล้ว

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *