นายชาญชัย กิจศักดาภาพ ผู้อำนวยการส่วนปฏิบัติการพิเศษ หัวหน้าหน่วยเฉพาะกิจปราบปรามพิเศษ (พยัคฆ์ไพร) กรมป่าไม้ เปิดเผย “ผู้สื่อข่าว” หลังจากอธิบดีกรมป่าไม้ได้สั่งการให้สำนักป้องกันรักษาป่าและควบคุมไฟป่า ร่วมกับสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 13 สงขลา
สำนักข่าวโฟกัส
สมชาย สามารถ
สงขลา – ผู้อำนวยการส่วนปฏิบัติการพิเศษ หัวหน้าหน่วยเฉพาะกิจปราบปรามพิเศษ (พยัคฆ์ไพร) เสนออธิบดีกรมป่าไม้ตั้งกรรมการสอบหน่วยเฝ้าระวังป่าควนเขาวังพา หลังมีการขยายผลการบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาวังพา ประมาณ 50 ไร่ 4 ข้อกระทำไปชอบด้วยอำนาจหน้าที่มั๊ย-มีการปล่อยปละละเลยหรือไม่-รู้เห็นเป็นใจหรือไม่-มีการเรียกรับผลประโยชน์หรือไม่
นายชาญชัย กิจศักดาภาพ ผู้อำนวยการส่วนปฏิบัติการพิเศษ หัวหน้าหน่วยเฉพาะกิจปราบปรามพิเศษ (พยัคฆ์ไพร) กรมป่าไม้ เปิดเผย “ผู้สื่อข่าว” หลังจากอธิบดีกรมป่าไม้ได้สั่งการให้สำนักป้องกันรักษาป่าและควบคุมไฟป่า ร่วมกับสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 13 สงขลา เจ้าหน้าที่หน่วยป้องกันรักษาป่าที่ สข.5 (ควนเขาวัง) เจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการพิเศษป่าไม้ สจป.ที่ 13 (สงขลา) และผู้นำท้องถิ่น ลงพื้นที่ขยายผล พร้อมรวบรวมพยานหลักฐานเพิ่มเติม เพื่อเอาผิดกลุ่มนายทุนที่เข้ามาทำลายทรัพยากรป่าไม้ให้ถึงที่สุด ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาวังพา ประมาณ 31 ไร่
“ในพื้นที่ อ.หาดใหญ่ ไม่ค่อยมีการแผ้วถางป่าแก่มานานมากแล้ว หรือแทบจะไม่มีเลย จึงเป็นกรณีแรกที่เกิดขึ้นมา ซึ่งระดับนโยบายไม่ต้องการให้เกิดเรื่องแบบนี้”
จึงได้ประสานหน่วยที่เกี่ยวข้องเข้าไปตรวจพื้นที่เพิ่ม พบว่าพื้นที่จริง ๆ มันเกินกว่า 31 ไร่ ประมาณ 50 ไร่ หรืออาจจะถึง 70-80 ไร่ ถือเป็นคดีใหญ่ แต่หน่วยงานในพื้นที่ไปทำการซอยแปลงเป็น 2 แปลงติดกัน ซึ่งความจริง ๆ แล้วมันควรจะเกิน 50 ไร่เสียด้วยซ้ำ เนื่องจากลักษณะของพื้นที่แอ่งกระทะ พอใช้จีพีเอสคำนวณมันก็ไม่ถึง 50 ไร่ จึงได้เพิ่มเนื้อไป
อันที่สอง การเก็บข้อมูลเพิ่มปรากฏว่าไม้ทางหน่วยพื้นที่ทำการยึดยังไม่ครบ จึงมีการตรวจยึดไม้ท่อนกับไม้แปรรูปเพิ่ม และแจ้งข้อหาเพิ่มอีก มาตรา 48 เพิ่มเรื่องการแปรรูปไม้
ถัดมาก็มาดูการครอบครองพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งข่าวเชิงลึกเราพอจะทราบว่าใครไปทำ แต่ต้องใช้หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่จะไปกล่าวหาเขาได้
“ก็เลยไปเอาข้อมูลเรื่องการสำรวจถือครองพื้นที่ ซึ่งบริเวณนั้นทางราษฎรแจ้งการถือครองไว้ 4 ราย บางแปลงไปทับกับแปลงนี้ด้วยซ้ำ”
จึงได้ทำการส่งข้อมูลชาวบ้านทั้ง 4 คน ไปให้พนักงานสอบสวน พร้อมหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนเพื่อให้พนักงานสอบสวนเรียกมาสอบปากคำขยายผล ซึ่งคาดว่าน่าจะไปถึงผู้กระทำ แม้อาจจะไม่ถึงผู้กระทำที่แท้จริง ก็อาจจะเป็นลูกน้องหรือคนงานของเขา และทำบันทึกการสืบสวนเพิ่มเติมไปแจ้งความกับพนักงานสอบสวนไว้แล้ว
“4 รายที่แจ้งพนักงานสอบสวนไปเป็นผู้ครอบครองที่ดินที่อยู่บริเวณแปลงที่เกิดเหตุด้วยส่วนหนึ่ง กับบริเวณข้างเคียงด้วยเพื่อให้พนักงานสอบสวนได้ทิศทางในการเรียกบุคคลเข้ามาสอบสวนได้”
โดยพื้นที่บริเวณนี้ชาวบ้านเขาวังพาจริง ๆ เขาไม่ได้ขยายการครอบครองพื้นที่เพิ่ม เขาทำกินในแปลงที่เขาได้รับการคุ้มครองตามมติ ครม. แต่มีคนนอกที่เข้าไปทำเหตุ
ฉะนั้น ชาวบ้านในพื้นที่ เชื่อว่าถ้าพนักงานสอบสวนเรียกไป อันดับแรกเขาต้องกลัวว่าเขามีความผิด อันดับสอง เขาต้องให้ข้อมูลกับพนักงานสอบสวนไปว่าคนที่เข้าไปทำจริง ๆ คือ ใคร
ซึ่งจากการได้พูดคุยกับชาวบ้านบ้างส่วน เขาอยากจะพูด แต่เขาพูดไม่ได้ เพราะเขากลัวอิทธิพล แต่ก็ได้ให้ความมั่นใจกับชาวบ้านว่าชุดนี้เป็นของกรมป่าไม้ที่ไม่มีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง และไม่เคยเปิดเผยข้อมูลหรือผู้ที่ทำการแจ้งเบาะแส หรือการข่าวแก่บุคคลใดทั้งสิ้น ถัดมาก็คือไม่ว่าจะเป็นการให้ข่าวหรือข้อมูลกับพนักงานสอบสวนก็จะพาดพิงไปถึงผู้แจ้งเบาะแส ผู้ให้ข้อมูล
แต่เราจะเอาพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เชื่อมไปให้กับพนักงานสอบสวน ซึ่งจากพยานหลักฐานที่ให้กับพนักงานสอบสวนไป เชื่อมั่นว่าโดยกระบวนการยุติธรรม ถ้าทำกันจริง ๆ ทำกันอย่างตรงไปตรงมา อย่างน้อยต้องได้ตัวผู้ต้องหา แต่จะถึงตัวผู้บงการใหญ่หรือไม่นั้น อาจจะไม่แน่ใจ เนื่องจากเขาค่อนข้างรู้ระบบกระบวนการยุติธรรมทั้งหมด
“หลังจากที่เกิดเหตุ เขาไม่ให้ลูกน้องเขาใช้โทรศัพท์ติดต่อเขาอีกเลย เป็นการตัดวงจรทั้งหมดออ ก็คือเขารู้วิธีการทำงานของกระบวนการยุติธรรมทั้งหมด”
ปกติถ้าเราไปเจอเราสามารถที่จะอายัดโทรศัพท์เพื่อดูดข้อมูลได้ว่ามีการเชื่อมต่อใครบ้าง หรือเส้นทางการเงิน แต่ตอนนี้เขาตัดวงจรหมดเลย เพื่อไม่ให้ไปถึงตัวเขา”
เพราะฉะนั้น คนที่อาจจะต้องรับก็คือคนที่เขาให้เป็นนอมินีหรือไม่ก็คนงานที่นำเครื่องจักรเข้ามาทำงาน และเชื่อชาวบ้านทั้ง 4 คน ยังไงก็ต้องพูด เพราะไม่เช่นนั้นเขาโดนเองด้วย เนื่องจากว่ามีอยู่แปลงหนึ่งที่ทับเข้าไปในแปลงนั้นเลย แต่ว่าพื้นที่ ๆ แจ้งความไป2 แปลงติดกันต่อเนื่องกันอันดับแรก
อันดับสอง ก็คือลักษณะการทำประโยชน์เหมือนกัน คือปลูกทุเรียน ซึ่งใครก็มองรู้ว่ามันเป็นแปลงที่มีเจ้าของคนเดียวกัน ซึ่งจะต้องกลับไปทำรายงานให้ท่านอธิบดีกรมป่าไม้รับทราบว่า จริง ๆ แล้ว อันดับแรกการตรวจยึดจับกุมรายละเอียดในการกระทำของพื้นที่มีอะไรบ้าง อันดับสอง ก็คือลักษณะของพื้นที่มันไม่ควรจะแบ่งแปลงด้วยซ้ำ
“ยังไม่รัดกุม ไม่ละเอียดรอบคอบ ตามระเบียบกฎหมายเท่าที่ควร ถ้าโดยการปฏิบัติตามระเบียบและกฎหมายเขายังไม่รัดกุม ไม่ละเอียดรอบคอบตามระเบียบกฎหมาย ตามระเบียบการบังคับของราชการเท่าไหร่” นายชาญชัย กล่าวและว่า
สิ่งที่อยากจะข คือขอความร่วมมือสื่อมวลชนในการกดดันด้วย เชื่อว่าไม่นาน ก็ต้องได้ตัวผู้ต้องหา ยกตัวอย่างเช่นเดียวกับคดีเขาแดง อ.สิงหนคร ถ้าสื่อมวลชนช่วยกันกดดัน และเกาะติดการทำคดีอย่างใกล้ชิดต่อเนื่อง ก็จะได้ตัวผู้ต้องหา ต่อให้เป็นผู้ต้องหาที่มีอิทธิพล ผู้ต้องหาที่ค่อนข้างมีชื่อเสียง สุดท้ายก็ต้องมาถูกดำเนินการตามกฎหมายอยู่
“คดีนี้ก็เหมือนกัน พอมีข่าวออกไป เมื่อวานพนักงานสอบสวนก็เรียกมาสอบปากคำ เรียกผู้แจ้งความมาสอบปากคำ ซึ่งจริง ๆ โดยหลัก เขาก็จะมีเวลาของเขา แต่นี้เขาก็ถือว่าเร่งรัดให้แล้ว”
กรณีที่เกิดขึ้นครั้งนี้ในฐานะที่เคยอยู่จังหวัดสงขลามากว่า 10 ปี ป่าสมบูรณ์ที่โดนแผ้วทางจริง ๆ จะอยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้กับ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา แต่ในโซนหาดใหญ่ คลองหอยโข่ง ไม่เคยปรากฏว่าป่าสมบูรณ์โดนแผ้วถางมานานมากแล้ว เพราะฉะนั้น คดีนี้จึงถือเป็นคดีที่อยากจะทำให้จริงจังและรัดกุมมากที่สุด
“มันเสียชื่อเสียงด้วย เพราะมันไม่เคยมีแล้วมาเกิดเหตุการณ์แบบขึ้น ซึ่งปัจจุบันในยุคที่เทคโนโลยีและการสื่อสารที่ทันสมัยและไปไกลมากแล้ว ไม่น่าจะเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น”
เพราะฉะนั้น ทางหน่วยพื้นที่เองเราไม่แน่ใจว่าความพร้อมของเขาพร้อมมั๊ยอันดับแรก อันดับสองเขายังไง ยังไม่อยากใช้คำว่าปล่อยปละละเลยดีกว่า ยังไม่ถึงขั้นนั้น เพราะยังไม่มีพยานหลักฐานอะไร
“ผมอยากจะใช้คำว่า ปล่อยปละละเลย แต่ก็ถือว่าใกล้เคียง น้อง ๆ ประมาณนั้น”
ผู้อำนวยการส่วนปฏิบัติการพิเศษ หัวหน้าหน่วยเฉพาะกิจปราบปรามพิเศษ (พยัคฆ์ไพร) ยังกล่าวว่า กลับไปจะเสนอท่านอธิบดีกรมป่าไม้ ให้มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนตรวจสอบข้อเท็จจริงหน่วยในพื้นที่
อับดับแรก เขากระทำโดยชอบด้วยอำนาจหน้าที่มั๊ย หรือว่ารัดกุมตามระเบียบที่กำหนดไว้หรือไม่ อันดับสอง มีการปล่อยปละละเลยหรือไม่ อับดับสาม รู้เห็นเป็นใจหรือไม่ และอันดับสี่ มีการเรียกรับผลประโยชน์หรือไม่
“ผมจะเสนอท่านอธิบดีกรมป่าไม้ให้สั่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงหน่วยที่รับผิดชอบก็คือหน่วยเฝ้าระวังป่าควนเขาวังพา ในฐานะหน่วยรับผิดชอบพื้นที่”
ซึ่งมีหลาย ๆ กรณี ล่าสุด ยังพบว่ายังมีการนำเครื่องจักรไปทำถนน ซึ่งถ้าโดยคนนอกมอง เขามองว่าคุณปล่อยปละละเลยหรืออาจจะรู้เห็นเป็นใจเสียด้วยซ้ำที่พูดกับตามความเป็นจริง
“พื้นที่วังพา แบ็คโฮ ตัวสุดท้ายที่เข้าไปทำงานได้ ผมเป็นคนจับมาเอง ยังอยู่ที่หน่วย หลังจากนั้นไม่ใครกล้าทำ มีอยู่รายเดียวที่กล้าทำ” ผู้อำนวยการส่วนปฏิบัติการพิเศษ หัวหน้าหน่วยเฉพาะกิจปราบปรามพิเศษ (พยัคฆ์ไพร) กรมป่าไม้ กล่าว