Home » ข่าว » นักข่าวดี บ้านเมืองก็ดี

นักข่าวดี บ้านเมืองก็ดี

(เนื่องวันนักข่าว ประจำปี 2567)

มีคำกล่าวคำหนึ่งที่ผู้ใหญ่วงการสื่อคนหนึ่งที่กล่าวว่า “หากจะดูว่าบ้านเมืองเป็นอย่างไร?ให้ดูจากการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนในพื้นที่นั้นๆว่าเขาเหล่านั้น ได้ทำหน้าที่ตามกรอบจริยธรรมมากน้อยแค่ไหน”

หรือ“ปฏิบัติตัวอย่างไร?”

ต้องยอมรับว่า “ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อ”ที่หมายถึง เจ้าของสื่อ,นักข่าว หรือคอลัมนิสต์“ หากจะรวมไปถึงเจ้าของเวปไซด์ และเพจข่าวอย่างเป็นทางการ เป็นต้น คือกระจกบ้านใหญ่ที่สะท้อนวิถีชีวิตในชุมชน การทำหน้าที่เป็นประตูเพื่อขับเคลื่อนข่าวสารออกไปยังผู้รับข่าวสาร ที่ผ่านช่องต่างๆหรือแพลตฟอร์มต่างๆ ย่อมบอกถึงสังคมนั้น เป็นอย่างไร?

การรายงานข่าวปัญหาอาชญากรรมให้ปรากฏของสื่อในท้องถิ่นนั้นทุกวัน ทั้งใหญ่และเล็ก และเกอดขึ้นทุกวัน ย่อมสะท้อนถึงการควบคุม ป้องกันของเจ้าหน้าที่ที่อาจจะไม่เข้มงวดหรือปล่อยปละละเลย

การรายงานเกี่ยวกับการกระทำการทุจริตจากหน่วยงาน หน่วยงานนี้ ทุกวัน ก็สะท้อนถึงปัญหาการเอารัดเอาเปรียบและการฉ้อโกงของบ้านเมืองนั้น ชุมชนนั้นๆ

ซึ่งบ่งบอกถึงสภาพบ้านเมือง สภาพการบริหาร และปกครอง ที่ขาดการดูแลและแก้ไข

แต่สำหรับการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนแล้วจะได้รับคำชื่นชม ว่าได้ทำหน้าที่สะท้อนปัญหาทางสังคม และชี้แนะให้เกิดการแก้ไข

การมีสื่อมวลชนเช่นนี้ สังคม หรือ ชุมชนนั้นจะได้ประโยชน์

อีกมุมหนึ่ง หากบ้านเมือง ชุมชน หรือในตำบล ในอำเภอ ในจังหวัดกำลังมีปัญหาการปกครอง การบริหารจัดการ มีการร้องเรียนจากคนในชุมชนนั้น แล้วสื่อมวลชนไม่สนใจ ไม่ตรวจสอบ ไม่เสาะหาความจริง ฟังแต่เสียงของผู้นำที่ใส่ร้าย ใส่ความชาวบ้าน ย่อมทำให้สังคมนั้นเดือดร้อน

ซึ่งนั่นก็เป็นเรื่องจริงที่ปรากฏให้เห็นเป็นตัวอย่างได้เสมอ ทั้งในระดับชาติและในท้องถิ่น

วันที่“สื่อ(ดี)มีเสรีภาพ สามารถตรวจสอบการทำงานของสังคมได้ ย่อมทำให้สังคมได้ประโยชน์ และสร้างสังคมให้เกิดความสงบสุข

แต่ในทางตรงกันข้าม หากมีสื่อ(ไม่ดี)ใช้บทบาทหน้าที่เข้าไปหาประโยชน์จากกลุ่มผลประโยชน์ในสังคม ไม่ตรวจสอบความจริง และไม่สนใจความเดือดร้อนของผู้คนในสังคม ย่อมทำให้สังคมนั้นๆเกิดปัญหา

วันนี้ วงการสื่อมีการพัฒนาและยกระดับทางเทคโนโลยี่ทางการสื่อสารไปอีกระดับหนึ่ง ที่แยกแยะไม่ออกว่า“ใครเป็นสื่อแท้ ใครเป็นสื่อเทียม” เนื่องจากใคร?ก็การเข้ามาเป็นสื่อได้ โดยมีเสรีภาพในการคิด การเขียน การพูดเท่าเทียมกัน

แค่มีกล้องหรือโทรศัพท์มือถือ และมีเฟสบุคส์,มีเพจ มีช่องทางยูทูป แล้วทำตัวเป็นอินฟลูเรนเซอร์ไปสร้างคอนเทนส์แล้วลงในสื่อโซเชียล ก็เรียกตัวเองว่า“นักข่าว หรือสื่อมวลชน”แล้ว

“นักข่าว หรือสื่อมวลชน”กลุ่มนี้ มักแอบอ้างว่า เป็น“สื่อ โดยไม่เข้าใจบริบทของ”วิชาชีพสื่อ“ไม่รู้กรอบจริยธรรมสื่อ หรือไม่รู้กฏหมายสื่ออย่างแท้จริง การนำเสนอข่าวนักข่าวประเภทนี้ ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของ”ผู้ที่ประกอบวิชาชีพสื่อที่ทำหน้าที่อย่างแท้จริง“

สังคมใด เมืองใดที่มี”สื่อ“แบบนี้ ย่อมเดือดร้อนและเกิดปัญหาตามมามากมายและจับต้องได้

นักข่าวที่ดี ต้องเข้าใจและมีความรู้ทางวิชาชีพ
นักข่าวที่ดี ต้องเข้าใจและรู้กรอบจริยธรรม และ
นักข่าวที่ดี ต้องรู้กฎหมายที่ควบคุมสื่อไม่ให้เกิดการละเมิด

วันนี้ วันที่ 5 มีนาคม วันนักข่าว นักข่าวทุกคนจึงควรยกระดับและพัฒนาตัวเองให้เข้าในหลักของการ“นักข่าวที่ดี ทั้ง 3 ด้าน”หากทำได้“ก็จะทำให้ถูกยกย่องให้เป็น”นักข่าวมืออาชีพ“ที่จะส่งผลดีต่อบ้านเมืองนั้นๆ

จักรกฤชณ์ แววคล้ายหงษ์

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *