Home » ข่าว » คณะกรรมการแห่งชาติฯเห็นชอบ 4 พื้นที่เข้าสู่บัญชีรายชื่อเบื้องต้นเมืองมรดกโลก

คณะกรรมการแห่งชาติฯเห็นชอบ 4 พื้นที่เข้าสู่บัญชีรายชื่อเบื้องต้นเมืองมรดกโลก

คณะกรรมการแห่งชาติเห็นชอบ 4 พื้นที่เมืองเก่าสงขลา เข้าสู่บัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) สู่การขึ้นทะเบียนเป็นเมืองมรดกโลก

ในการประชุมคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วย
อนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2567 ที่มี พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายก
รัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธาน มี นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการประทรวงวัฒนธรรม พร้อมด้วย คณะกรรมการ ได้มีมติเห็นชอบ 4 พื้นที่เมืองเก่าสงขลา เข้าสู่บัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ของมรดกโลก
โดยชื่อที่จังหวัดสงขลาเสนอคือ แหล่งสงขลา และชุมชนที่เกี่ยวเนื่อง ริมทะเลสาบสงขลา และได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและ
แผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการฯ และหน่วยประสานงานกลางอนุสัญญาฯ ดำเนินการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา เพื่อให้ทันต่อรอบการนำเสนอคณะกรรมการมรดกโลกในการประชุมสามัญ ครั้งที่ 46 ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 21-31
กรกฏาคม 2567 ณ กรุงนิวเดลี สาธารณะรัฐอินเดีย ในการพิจารณารับเรื่องราวและบรรจุสงขลาสู่บัญชีรายชื่อเบื้องต้นการขึ้นทะเบียนเป็นเมืองมรดกโลก
การนำเสนอ “แหล่งสงขลาและชุมชนที่
เกี่ยวเนื่องริมทะเลสาบสงขลา” ประกอบด้วย พื้นที่ที่นำเสนอ จำนวน 4 พื้นที่ ประกอบเข้าด้วยกันได้แก่

  1. เมืองโบราณพังยาง เมืองโบราณพะโคะ และเมืองโบราณสีหยัง 2. เมืองโบราณสทิงพระ 3. เมืองป้อมค่าย ซิงกอรา ณ เขาแดง และพื้นที่แหลมสน และ 4. เมืองเก่าสงขลาบ่อยาง โดยมีพื้นที่ใน 4 อำเภอ ในจังหวัดสงขลา ได้แก่ อำเภอระโนด อำเภอสทิงพระ อำเภอสิงหนคร และอำเภอ
    เมืองสงขลา ซึ่งดำเนินการโดยจังหวัดสงขลา องค์การบริหารจังหวัดสงขลา ที่มี มูลนิธิสงขลาสู่มรดกโลก เป็นผู้นำเสนอ ภายใต้การรวมตัวของประชาคมต่าง ๆ ของจังหวัดสงขลา
    โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมที่มีความสำคัญในพื้นที่ที่เป็นตัวแทนของการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมกับอารยธรรมอื่นๆ ตามเส้นทางการค้าทางทะเลเรียบแนวชายฝั่งกับนานาชาติตลอดระยะเวลานับพันปี
    การที่นำเสนอ “แหล่งชุมชนสงขลาและชุมชนที่เกี่ยวเนื่องริมทะเลสาบสงขลา” นอกจากจะเป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับชุมชนตามแนวทางการดำเนินงานตามพันธกรณีอนุสัญญาฯ และยังเป็นกลไกในการก่อให้เกิดแรงจูงใจในการสร้างความภาคภูมิใจ ความรัก และความหวงแหนต่อแนวทางมรดกของชุมชน
    รวมทั้ง ยังทำให้แหล่งมรดกทางวัฒนธรรมได้เป็นที่สนใจในฐานะแหล่งเรียนรู้ที่เป็นมรดกของโลก และแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของประเทศที่จะได้รับการยกย่อง และจะช่วยกระตุ้นด้านเศรษฐกิจให้กับชุมชนต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่อง ทั้งทางตรงและทางอ้อมได้เป็นอย่างดี
    ถือเป็นอีกหนึ่งก้าวของความสำเร็จที่ต้องขอบคุณทุกภาคส่วนที่ทำให้สงขลาได้เดินมาถึงขั้นตอนสำคัญนี้.. ที่จะเป็นหน้าประวัติศาสตร์ที่ขอนำมาบันทึกไว้ใน “คอลัมน์สงขลาสู่มรดกโลก” หนังสือพิมพ์ภาคใต้โฟกัส รายสัปดาห์ ไว้ให้เป็นหลักฐานในการนำสงขลาสู่มรดกโลกกันต่อไป

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *