Home » ข่าว » ‘รัตติกูล ปิยะวงศ์วาณิชย์’“วิศวะม.อ.”นักบุกเบิกปตท.พร้อมเรียนรู้!ไม่ยึดติดกรอบ​

‘รัตติกูล ปิยะวงศ์วาณิชย์’“วิศวะม.อ.”นักบุกเบิกปตท.พร้อมเรียนรู้!ไม่ยึดติดกรอบ​

คอลัมน์ PSU Alumni Talk ฉบับนี้ แวะมาคุยกับ “พี่เอก” รัตติกูล ปิยะวงศ์วาณิชย์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จำกัด ในเครือ ปตท. ศิษย์เก่าดีเด่นมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(ม.อ.) ประจำปี 2566 ด้านประสบความสำเร็จในอาชีพหน้าที่การงาน​ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ (Neer 19) รหัส 28
“ผมเลือกเอ็นตรงคณะวิศวกรรม​ศาสตร์​ ม.อ.​ สาขาการไฟฟ้า เป็นคณะเดียวที่เลือกเพราะถนัดทางด้านคำนวณ” พี่เอก เล่าถึงการเข้าศึกษาที่ม.อ. หลังจากจบมัธยมปลายที่โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย ส่วนมัธยมต้นเรียนที่พังงา บ้านเกิด
“ความรู้​สึกแรกที่เข้าสู่​รั้ว​ ม.อ.​ รู้สึกสนุกมาก​
ชีวิต​มหาวิทยาลัย​สมัยนั้น มีสีสัน​ สนุกมากมีเพื่อน
เยอะ​ เพื่อน​ ๆ​ มีความสนิทสนมกันทั้งในคณะและ
ต่างคณะ บรรยากาศ​หอพักดีมาก​ เราอยู่​ท่ามกลาง​ต้นไม้​ และมีกิจกรรม​ให้ทำตลอด​ 4​ ปี ได้เที่ยว และก็​เรียนหนักด้วย”
สิ่งที่ได้มากกว่านั้น​คือ​ ความรับผิดชอบ​ มีการเรียนเป็นกลุ่มกับเพื่อนเยอะ​ ต้องมีความรับผิดชอบ​ตัวเอง​ ให้ความสำคัญ​กับภาษาอังกฤษ​มาก และมาเห็นประโยชน์ว่า จำเป็นต้องใช้จริง ๆ เมื่อเข้าสู่​วัยทำงาน​
พี่เอก บอกว่า ใครสอบเอ็นตรงติด​ ม.อ.ในสมัยนั้น​เป็นความภาคภูมิ​ใจอย่างมาก​ เพราะเป็นสถาบันที่ทุกคนมุ่งมั่นอยากเรียน วันแรกที่เข้ามหาวิทยาลัย​ก็ต้องไปไหว้พระบิดา​ก่อนเป็นอัน​ดับ​แรก​ แม้กระทั่ง​วันที่เรียนจบก็พากันไปถ่ายรูปที่พระบิดาเช่นกัน​ จนปัจจุบัน​เป็นมหาวิทยาลัย​อันดับ​ 1​ ของภาคใต้
การเข้าเรียนใน​ ม​.อ.อย่างแรกเราต้องศรัทธา​ในสถาบัน​ ศรัทธา​ในวิชาชีพ​ เรามีความเชื่อมั่นเมื่อจบออกมาเราจะมีความมั่นใจในสถาบันของเรา
หลังจากเรียนจบได้ทำงานเอกชนได้ไม่กี่เดือน​ ทาง​ ปตท.เรียกตัวให้เข้าไปทำงาน “วิศวกรบนแท่นเจาะ​” ซึ่งต้องทำงานกับต่างชาติ​ ยอมรับ​ว่าค่อนข้าง​ยาก เพราะไม่ถนัด​ด้านภาษา​ แต่อาศัยการฝึกฝนจนทำได้ในที่สุด
“ได้เห็นคุณค่าขณะเรียนวิศวะ ม.อ. ที่อาจารย์ให้อ่านตำราภาษาอังกฤษ เล่มหนา ๆ”
ที่ตัดสินใจ​ทำงานใน​ ปตท.เพราะตอนเรียนที่ม.อ. คิดว่าอยากทำงานที่มีความท้าทาย​ วันที่เรียกไปสัมภาษณ์​ก็พร้อมที่จะทำงานบนแท่นเจาะ​ ทั้งที่ไม่เคยสัมผั​สมาก่อน​ แต่ไม่คิดว่าเป็นอุปสรรค​เพราะเราพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง​ และเรียนรู้​อยู่เสมอ​ ​ไม่ยึดติด
อยู่ในกรอบ​ สามารถทำได้ในทุก​ ​ๆ​ ส่วน​ ไม่เฉพาะงานไฟฟ้าอย่างเดียว
จากนั้น ได้ย้ายมาบุกเบิกงานที่ขนอม​ วางท่อแก๊สให้กับโรงไฟฟ้าขนอม​ ต่อมาย้ายมาอยู่ในส่วนงานสร้างโรงแยกแก๊ส​ที่ขนอม จากตำแหน่​งวิศกร
มาเป็น “ผู้จัดการ​แผนกดูแลบำรุงรักษา​โรงแยกแก๊ส”​​ 10​ ปี
หลังมีครอบครัว​ได้ย้ายไปอยู่​โครงการ​สร้างแท่นเจาะที่สิงคโปร์​ 2​ ปี​ และวางท่อสร้างแท่นที่ระยอง​ พร้อมกับโรงแยกแก๊ส​ และย้ายไปทำงานบุกเบิกและก่อสร้างอีกหลายแหล่ง​
“ปตท.มีการปรับเปลี่ยน​ในหลาย​ ๆ​ ส่วน​ เราต้อง
ปรับตัวอยู่ตลอด​ ซึ่งก็ได้ทำงานที่ท้าทาย และเราก็เป็นคนที่ยึดหยุ่น พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ เมื่อปตท.เปิดบริษัทพีทีที แอลเอ็มจี เขาก็ให้มาเป็นกรรมการ​ผู้จัดการ ดูแลท่าเรือที่รับแก๊สจากต่างประเทศ”
การทำงาน​ใน​ ปตท.ได้รับโอกาสมากมายจากการเปลี่ยนแปลง​จากการแปรสภาพ​จากรัฐวิสาหกิจ​มาเป็นเอกชน​ เดิมมีกฎระเบียบ​เยอะ​ ก็ให้อิสระให้การตัดสินใจ​มากขึ้น​ จากองค์กรที่เราไม่รู้​จักเลย​ ทั้งแท่นเจาะ​ โรงแยกแก๊ส​ ได้เรียน​รู้​และทำเองทั้งหมด​
“ผมทำงานอยูในปตท.​ ปีนี้เข้าสู่​ปีที่​ 37​ เริ่นต้นตั้งแต่การวางท่อ​ สร้างโรงแยก​ก๊าซ​ ต้องจ้างต่างชาติ​เป็นที่ปรึกษา​ แต่ตอนนี้เรามีกำลังคนที่พร้อม​ การสร้างคนทีมของเราเอง”
ประสบการณ์​จาก​ ม.อ.ที่เราอยู่​ในหอพัก​ ทำให้เรามีความรับผิดชอบ​ มุ่งมั่นในการทำงาน​เป็น​ทีม​ สิ่งเหล่านี้นำมาใช้ในการทำงานจริงได้​ เรารับผิดชอบ​งานจนสำเร็จ​
“การกล้าตัดสินใจ​ มีการช่วยเหลื​อซึ่งกันและกัน​ เป็นสิ่งที่ปลูกฝังมาจนปัจจุบัน​นี้”
ในการทำงาน​ แน่นอนว่าจะมีเพื่อน ๆ จากหลายสถาบันที่ต้องมาทำงาน​ร่วมกัน​ ดังนั้น​ สิ่งสำคัญ​คือ การเรียนรู้​ และการเข้ากับคนอื่น​ได้​ พร้อมกับความมุ่งมั่นตั้งใจ
“ความสำเร็จ​ในการทำงาน​ นอกจากเก่งงานแล้ว​ เราต้องมีมนุษย์​สัมพันธ์​ที่ดี​ เข้ากับผู้อื่นได้​ด้วย”
สำหรับ ม.อ.นั้น พี่เอก มองว่าเป็นสถาบัน​การศึกษา​หลักของภาคใต้​ อาจารย์​หรือบุคลากร​มีความมุ่งมั่น​ มีการส่งเสริมทางด้านการลงทุนและด้านวิชาการ​ ถือเป็นสิ่งที่ดี
เช่นเดียวกับ ภาคใต้โชคดีที่มีพื้นฐาน​ที่ดี​ ในอดีตทุกคนมีรายได้​จากทรัพยากร​ต่าง​ ๆ​ ทั้งการประมง​ ยางพารา​ แต่ปัจจุบัน​มีการพัฒนา​ที่ล่าช้ากว่า
ที่อื่น​ ยังไม่มีการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมมากนัก​ ซึ่ง
ปัจจุบันมีอุตสาหกรรม​ใหม่ที่มีมาตรฐาน​ มีการควบคุมทุกขั้นตอน รวมถึงการอยู่ร่วมกันกับชุมชน ทำให้คุณภาพชีวิตและรายได้โดยรวมของประชาชนในท้องถิ่นดีขึ้นด้วย
“นอกจากโครงสร้างพื้นฐานที่ภาคใต้ของเราล้าหลังมากแล้ว เราก็ต้องพัฒนาควบคู่​ไปกับภาคอุตสาหกรรม​ด้วย” พี่เอก กล่าว

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *