Home » ข่าว » Role Model เภสัชฯม.อ.“สิงห์ พฤกษเศรษฐ”ความสุขที่ร้านยาและงานที่ทำ

Role Model เภสัชฯม.อ.“สิงห์ พฤกษเศรษฐ”ความสุขที่ร้านยาและงานที่ทำ


คอลัมน์ PSU Alumni Talk โดย สมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ฉบับนี้ แวะมาคุยกับ คุณสิงห์ พฤกษเศรษฐ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ชุมชนเภสัชกรรม จำกัด (มหาชน) เภสัขกรชุมชน ประจำร้านบ้านยา ซอยเสรีไทย 57 บึงกุ่ม ก.ท.ม.รองประธานวิทยาลัยเภสัชกรรมชุมชน แห่งประเทศไทย ในสังกัด สภาเภสัชกรรมศิษย์เก่าดีเด่น ม.อ. ด้านทำประโยชน์เพื่อสังคมและสถาบันพ.ศ.2565 จากคณะเภสัชศาสตร์ ม.อ. รุ่น 2


“สิ่งที่ทำไม่ได้หวังผลตอบแทนใด และรู้สึกดีใจ ภูมิใจว่าสิ่งที่เราทำ มีคนเห็นและตระหนักในสิ่งที่เราทำว่ามีประโยชน์ ซึ่งสะท้อนกลับไปยังประชาคมที่เรามีส่วนร่วม”
หลังจากเรียนจบมัธยมต้นที่บ้านเกิดแล้ว ได้ย้ายมาเรียนต่อระดับมัธยมปลาย (ม.ศ 4-5) ที่กรุงเทพมหานคร ณ โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย จากนั้น จึงเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา โดยการสอบเอ็นทรานซ์ และเลือกเรียนที่ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) เนื่องจากมีความสนใจในงานด้านเภสัชกรรมชุมชน และมีความคุ้นเคยกับร้านยามาตั้งแต่เด็ก
ตอนที่เข้ามาเรียนที่ คณะเภสัชศาตร์ ม.อ. ในช่วงปี พฺ.ศ. 2523-2528 นับเป็นรุ่นที่ 2 ของคณะฯ ถือว่าเป็นรุ่นแรกๆ หรือรุ่นบุกเบิก มีเพื่อนร่วมรุ่นเพียง 43 คน โดย 2 ปีแรก เรียนวิชาพื้นฐาน ปี 3-5 จึงเน้นทางด้านวิชาชีพ ซึ่งทำให้เรามีพื้นฐานความรู้และสมรรถนะทางด้านเภสัชกรรม ที่สามารถนำมาประกอบวิชาชีพได้จนถึงปัจจุบัน


ส่วนชีวิตในรั้ว ม.อ. การได้อยู่ “หอรวม” ร่วมกับเพื่อนหลายๆ คณะฯ ทำให้มีเพื่อนต่างคณะมากขึ้น และมีโอกาสได้เข้าร่วมทำกิจกรรมของชมรมต่างๆ ในมหาวิทยาลัย อาทิ ชมรมอาสาพัฒนา ชมรมวิเทศสัมพันธ์ ชมรมพุทธศาสนา ชมรมดนตรีไทย และเคยดำรองตำแหน่ง รองประธานสภา นักศึกษา มหาวิทยาลัย สิ่งเหล่านี้มีความสำคัญมากในการฟูมฟักความเป็น “สงขลานครินทร์ หรือ ลูกพระบิดา
ส่วนการเรียน ที่คณะเภสัชศาสตร์ ถึง แม้จะเป็นรุ่นที่ 2 อาจารย์สุนาลินี นิโครธานนท์ คณบดี(คนแรก) ของคณะท่านทุ่มเทมาก ได้เชิญอาจารย์พิเศษจากหลากหลาย สถาบันเช่นมหาวิทยาลัยชื่อดังมาสอน ให้ความรู้ด้านเภสัชศาสตร์อย่างเต็มที่ นอกจากอาจารย์มหาวิทยาลัยแล้วยังได้เชิญ หน่วยงาน ภายนอกเช่น กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ คณะกรรมการอาหารและยา โรงพยาบาลหาดใหญ่ โรงพยาบาลสงขลา มาสอน ทำให้ มีความรอบรู้กว้างขึ้น
“อาจารย์ที่มาสอนเป็นต้นแบบวิชาชีพ ได้ถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ข้อคิดต่างๆ พร้อมทั้งปลูกฝังความเป็นเภสัชกร การรักในวิชาชีพ การมีจริยธรรม คุณธรรม เรามาตั้งแต่นั้น”

วิถีและชีวิตนักกิจกรรม
สิ่งที่เป็นคติประจำใจของพวกเราที่เรียนทางวิชาชีพสุขภาพ ใน มอ.คือ พระราชปณิธาน ของพระราชบิดา “ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตัวเป็นที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง ลาภทรัพย์และเกียรติยศจะตกมาแก่ท่านเอง”
หลังจาก สำเร็จการศึกษา เภสัชกรชุมชน ประจำร้านยา ในวิลล่าซุปเปอร์มาร์เกต ถนนสุขุมวิท เป็นงานแรกในชีวิต ที่มีคนต่างชาติ มาใช้บริการ จำเป็นต้องที่ทักษะการสื่อสารที่ดีโดยเฉพาะ ภาษาอังกฤษ ประสบการณ์ที่ได้ทำกิจกรรม มีส่วนช่วยการทำงานได้มาก เราจะมีเทคนิคการสื่อสาร การจัดการ การตัดสินใจแก้ปัญหา เนื่องตอนทำกิจกรรมสมัยเรียนก็เหมือนการฝึกงานหรือการทำงานอย่างหนึ่งด้วย”
หลังจากนั้น เป็น “ดีเทลยา”ประมาณ 6 ปี เพื่อสะสมทุนทรัพย์เป็นเจ้าของร้านยา กระทั่งอายุ 32 ปี ได้เปิดร้านขายยาที่กรุงเทพจนถึงปัจจุบันเป็นเวลารวมกว่า32ปี
เมื่อร้านยาตัวเอง สามารถ ดำเนินกิจการได้มั่นคงระดับหนึ่ง จึงได้ เข้ามาทำกิจกรรมวิชาชีพ โดยได้ ร่วมเป็นกรรมการของ “ชมรมเภสัชกรรมชุมชน” ซึ่งชมรมนี้ก่อตั้งโดยเภสัชกร รุ่นพี่ เป็นรุ่นแรกเริ่มที่เป็นเภสัชกรเป็นเจ้าของร้านและให้คำแนะนำแก่ผู้มารับบริการ ชมรมก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2517 ผมได้เป็นกรรมการชมรมเมื่อ 2539 จากนั้นในปี 2542 ชมรมเภสัชกรรมชุมชน ได้จดทะเบียนเป็นสมาคมเภสัชกรรมชุมชน แห่งประเทศไทย ซึ่งผมได้มีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนครั้งนั้น และ ยังช่วยทำกิจกรรมใน ตำแหน่งอุปนายกสมาคม ต่อเนื่องกันมาประมาณ 9ปี
บทบาทของสมาคมในช่วงแรกๆได้แก่ส่งเสริมสนับสนุนให้เภสัชกรที่อยู่ประจำร้านยา การให้ความรู้เรื่องยาแก่ประชาชน การให้คำแนะนำการดูแลสุขภาพ ส่งให้ผู้บริโภค เข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ของเภสัชกรชุมชน
พ.ศ.2564 มีการจัดตั้งวิทยาลัยเภสัชกรรมชุมชน แห่งประเทศไทยในสังกัด สภาเภสัชกรรม ผมได้รับการการคัดเลือกให้เป็นผู้ร่วมก่อตั้งวิทยาลัยแห่งนี้ ปัจจุบัน ผมดำรงตำแหน่ง รองประธานวิทยาลัย หน้าที่ของวิทยาลัยคืออบรมเป็นผู้มความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมสาขาเภสัชกรรมชุมชน พิจารณาออกหนังสือ อนุมัติ หนังสืออนุมัติ วุฒิบัตร และประกาศนียบัตร
“การที่อยู่ร้านขายยา เป็นการที่ได้ทำในสิ่งที่รัก และรักในสิ่งที่ทำ( Passion) เป็นความสุขอย่างหนึ่งของผม ที่ได้ให้ช่วยเหลือให้คำแนะนำ การ ปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเหมาะสมของผู้มารับบริการ โดยที่อาจจะมีการให้ยา หรือไม่ได้ให้ยาก็ได้ เพียง แต่ทำให้ เขาหมดกังวลหรือแก้ปัญหานั้นๆได้ก็มีความสุขแล้ว
ระหว่างที่เปิดร้านได้มีโอกาศศึกษาต่อ MBAที่ NIDA ทำให้ เปิดโลกกว้างทางด้านการบริหาร ได้มาเป็นกรรมการ “บริษัท ชุมชนเภสัชกรรม จำกัด (มหาชน)” จากวันที่เริ่มต้นบริษัท มียอดขายไม่ถึง 100 ล้านบาท ซึ่งภายใน สี่ปีนี้ บริษัท ก็จะ มียอดขาย พันล้าน ความสำเร็จนี้เกิดขึ้น จากการทุ่มเทการทำงานหนัก ของพนักงาน ผู้บริหาร กรรมการผู้จัด คณะกรรมการบริษัทที่ทำงานกันเป็นทีม ทีเป้าหมายร่วมกัน ต้องขอขอบคุณทุกๆๆคนในบริษัท ลูกค้า ผู้ถือหุ้น ที่ให้การสนับสนุนบริษัท มาตลอดเกือบ29ปี ที่บริษัทจัดตั้งมาปัจจุบันผมดำรงตำแหน่งเป็น “ประธานกรรมการบริหาร”

Role Model เภสัชฯ
ยอมรับว่า การที่ได้ทำกิจกรรมใน ม.อ. ทั้งที่คณะ และกิจกรรมของมหาวิทยาลัย ทำให้เราสามารถทำงานเป็น “ทีมเวิร์ค” การหาทางออกร่วมกัน การปลูกฝังความซื่อสัตย์สุจริต ความจริงใจต่อกัน และที่สำคัญการยึดประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง มากกว่าประโยชน์ของตัวเอง“สิ่งแรกที่ผมสอนนักศึกษาที่มาฝึกงานว่าต้องมีความรัก มี Passion ต้องพัฒนาตัวเอง เรียนรู้ตลอดชีวิต ทำอย่างไรให้ชนะปัญญาประดิษฐ(AI) ให้ได้ จำเป็น ต้องมีความคิดเชิงวิพากษ์และต้องมีความเห็นอกเห็นใจ(Empathy)ที่และจริยธรรม
ในความเป็น Role Model ได้บอกกับน้อง ๆ ถึงอุดมคติของวิชาชีพนี้ แม้แต่การอยู่ที่ร้านขายยาของเรา ๆ ก็ต้องเอาประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง ยึดประโยชน์ของผู้ป่วยไข้ มากกว่าประโยชน์ของตัวเอง ไม่ได้คิดเรื่องเงินที่จะขายได้ ทำอย่างไรก็ได้ให้ทุกข์ที่เขามีได้คลายลง
“เราไม่ได้เพียงแค่ขายยา แต่เป็นการให้คำแนะนำ แต่เป็นการให้คำแนะนำ การปฎิบัติตัว เพื่อที่จะไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำ”
จากการที่ทุ่มเทในการทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและตั้งตัวได้ มาถึงวันนี้ พี่สิงห์ บอกว่า ชีวิตต้องดำเนินต่อไปอย่างมีคุณค่า จึงทำให้ประสบความสำเร็จในวิชาชีพของตัวเอง สิ่งที่ผมยึดถือตลอดชีวิตก็คือความสำเร็จเกิดขึ้นได้เพราะการสนับสนุนและความเข้าใจจากครอบครัว อันประกอบด้วยภรรยาและลูกสาว 2 คน

ภูมิใจที่จบจากม.อ.
สำหรับ ม.อ.เป็นมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ที่มีความพร้อม ได้แสดงบทบาทในหลากหลายกิจกรรม รับใช้สังคมในภาคใต้อย่างต่อเนื่อง
ถ้าถามว่า นึกถึงม.อ. นึกถึงอะไร นอกจากมหาวิทยาลัยแล้ว จะนึกถึงโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ที่รักษาผู้ป่วยโรคซับซ้อน ใน 14 จังหวัด ภายใต้เป็นการทำภายใต้สหวิชาชีพ เป็นองคพยพที่เกิดจากสถาบันการศึกษา ทั้งแพทยศาสตร์ เภสัชกร พยาบาลทันตแพทย์ เทคนิคการแพทย์ และอื่นๆ ที่คืนให้กับสังคม
“ม.อ.มีความพร้อมในการชี้นำสังคม คณะผู้บริหารปัจจุบันได้เปิดศูนย์สุขภาพนานาชาติอันดามันการแสดงบทบาทของ ม.อ.ได้อย่างดียิ่ง ในการพัฒนา ภาคใต้ฝั่งอันดามัน และส่งเสริม อุตสาหกรรม Wellness tour
ม.อ.มีวิทยาเขตถึง 5 แห่งในภาคใต้ มีบทบาทรับใช้สังคมในแต่ละส่วน ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพและมีบทบาทในด้านอื่น ๆ ได้อีกมากมาย
ม.อ. ยังคงให้ให้ความสำคัญ ในการพัฒนาภาคใต้ต่อเนื่องมาตลอด และม.อ.เติบโตมาจากความเป็นวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นวิชาชีพทางด้านสาธารณสุข และอุตสาหกรรมเกษตร ทำให้มีบทบาทมากขึ้น
ผมรักสถาบันของผม แต่ไม่ได้คาดหวังสิ่งตอบแทน เมื่อมีคนถามว่าจบจากสถาบันไหน ผมตอบด้วยความภูมิใจว่า ม.อ. ผมภูมิใจที่จบจากม.อ.
“ม.อ.เป็นสถาบันที่สร้างเรามา เป็นความภาคภูมิใจของผม”

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *