Home » ข่าว » ลุ้นดัน‘6มิติ’ก่อนยุบสภา ระเบียงศก.เวลเนสสงขลา

ลุ้นดัน‘6มิติ’ก่อนยุบสภา ระเบียงศก.เวลเนสสงขลา

“สภาเศรษฐกิจหาดใหญ่” ร่วมม.อ. เปิดเวทีถกทุกภาคส่วนกำหนดยุทธศาสตร์ระเบียงเศรษฐกิจ

เวลเนสสงขลา ชูดจุดแข็งการท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ฮาลาล พร้อม 6 มิติการพัฒนา หวังฝ่ายเลขาฯ เสนอครม.ก่อนยุบสภา

4 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ห้องประชุมชั้น 14 อาคารศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ (LRC1) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตหาดใหญ่ “การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์ Thailand Wellnes Economic Corridor” โดยสภาเศรษฐกิจหาดใหญ่ ร่วมกับม.อ. วิทยาเขตหาดใหญ่

รศ.ดร. ภาณุพงศ์ พุทธรักษ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายระบบขับเคลื่อนวิจัยและนวัตกรรม ม.อ. วิทยาเขตหาดใหญ่ เผยว่า เป็นการทำยุทธศาสตร์ที่

เชื่อมโยงกับการทำยุทธศาสตร์ระเบียงเศรษฐกิจเวลเนสอันดามัน (Andaman Wellness Corridor : AWC) และระเบียงเศรษฐกิจเวลเนสไทย (Thailand Wellness Corridor:TWC)

โดยการทำยุทธศาสตร์ TWC เป็นการต่อยอดจาก AWC ที่มติกรรมการศูนย์การแพทย์ (Medical Hub) ซึ่งกรรมการของ Medical Hub ที่รัฐมนตรี 2 กระทรวงคือ กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬาร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข ที่พูดถึงเรื่องการพัฒนาอันดามัน โดยใช้ wellness มายกระดับการท่องเที่ยวในรูปแบบใหม่ ๆ

จากการขับเคลื่อนที่ผ่านมาได้รับความสนใจจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในจังหวัดต่าง ๆ ทั้งภาคเหนือ อีสาน ส่วนในภาคใต้ก็ได้ขยายมาที่จังหวัดสงขลา ซึ่งในการทำยุทธศาสตร์ เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา จึงนำเอายุทธศาสตร์ทั้ง 8 ด้าน และกลยุทธภายใต้ยุทธศาสตร์ดังกล่าวมาหารือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน กลุ่มประชาสังคม รวมถึงหาวิทยาลัยว่าจะมีแผนในการขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมในพื้นที่จังหวัดสงขลาอย่างไร โดยนำกรอบยุทธศาสตร์และกลยุทธมาวางแล้วใส่ตัวโครงการที่เป็นเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ของพื้นที่ นําไปสู่เรื่องการจัดทำโครงการเพื่อจะนําเสนอ ครม. ในการอนุมัติในเชิงหลักการต่อไป

“การหารือในวันนั้นมีข้อมูลจากทุกภาคส่วนเข้ามาแล้วก็นําเสนอเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ใด ๆ บ้างที่พูดถึง Wellness ในฉบับสงขลาจะเป็นอย่างไร ก็มีหลาย ๆ มิติ”

อย่างแรก เรื่องการพัฒนาตัวผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ว่าจะเป็น ยา อาหาร เครื่องสําอาง หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ โดยใช้ม.อ. เป็นฐานที่เรามีนวัตกรรมเป็นตัวเริ่มต้นอยู่แล้ว อันที่สอง เรื่องการพัฒนารูปแบบการให้บริการแบบใหม่ ๆ โดยเน้นเรื่องการแพทย์ทันสมัยมากขึ้น เพราะเรามีลูกค้าที่มาจากต่างประเทศมาก ที่มาใช้บริการทางด้านสุขภาพในมิติต่าง ๆ ฉะนั้นการยกระดับตรงนี้ให้เป็นมาตรฐานระดับสากลน่าจะทำให้เกิดการดึงดูดคนที่เข้ามาใช้บริการมากขึ้น สาม การพัฒนาการแพทย์แผนไทยให้เป็น ทางการแพทย์หลักของโรค เนื่องจากเรามีคณะการแพทย์แผนไทย มีทรัพยากรเรื่องสมุนไพรมากมายและทำอย่างไรที่จะยกระดับให้การบริการการแพทย์แผนไทยในภาคใต้ โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดสงขลา

“เรามีข้อมูลจากผลงานวิจัยที่รองรับในระดับที่น่าเชื่อถือ รวมถึงเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ทั้งยังมีการประยุกต์เอาแพทย์แผนไทยไปดูแลภาวะของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อย่างเช่น พวก NCD ต่าง ๆ รวมถึงการเอาแพทย์แผนไทยไปดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ร่วมกับการแพทย์แผนปัจจุบัน หรือการไปนำพัฒนาในลักษณะ home health care หรือการดูแลผู้สูงอายุในสภาวะที่เป็น aging society ว่าเป็นอย่างไร”

วันนั้น มีการพูดถึงมิติการพัฒนาสมุนไพร การพัฒนาพืชกระท่อม พืชกัญชาที่มีหลักฐานเชิง ประจักษ์ มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์รองรับในการใช้ในเชิงการแพทย์ การพัฒนาการดูแลรักษาโรคโดยใช้น้ำหรือวารีบําบัด เป็นตัวเดินเรื่อง นั่นจะเป็นมิติที่สาม มิติที่สี่ เรื่องศาสตร์การบำบัดและผ่อนคลายผิวด้วยน้ำ(ไฮโดรเธอราพี) เพราะในพื้นที่ภาคใต้มี 2 คาบสมุทร เรามีทรัพยากรอยู่มาก ทำอย่างไรที่จะเอาตัว

การแลกเปลี่ยนเชิงพื้นที่มาช่วยส่งเสริมการรักษาโรคหรือแม้แต่การส่งเสริมสุขภาพในมุมของ Wellness

ห้า พูดถึงพื้นที่ ๆ เป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดสงขลา ที่งน่าจะพัฒนาไปเป็นการท่องเที่ยวฮาลาล และยกระดับไปสู่สากลได้ ซึ่งก็จะสร้างลักษณะพิเศษเฉพาะกว่าพื้นที่อื่น ๆ ในระเบียงเศรษฐกิจเวลเนสทั่วประเทศ

หก เรื่องเมืองแห่งวิทยาการอาหาร (City of Gastronomy) และอาหารสุขภาพ (healthy food) จากความหลากหลาย เพราะในพื้นที่มีทั้งอาหารมุสลิม อาหารจีน อาหารทะเล แล้วก็มีความหลากหลายของอาหารมาก

รวมถึงจังหวัดสงขลา มีความพร้อมในการพัฒนาตัวของ โดยเฉพาะเกษตรคุณภาพสูงหรือเกษตรปลอดภัย ซึ่งจะเป็นห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ในการส่งมอบต่อยังธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ทั้งในเชิงการประกอบอาหารและการทำอาหารเพื่อสุขภาพ ทั้งในและนอกโรงพยาบาล

ส่วนสุดท้ายที่เป็นเอกลักษณ์ (signature) ของพื้นที่ น่าจะเป็นตัวของสุขภาพชั้นนำ (healthy leading) ของสังคมผู้สูงอายุ (Aging Socity) ในอนาคต ซึ่งจังหวัดสงขลาน่าจะพัฒนาแพลตฟอร์มตรงนี้ รองรับคนที่มาใช้บริการในพื้นที่มากขึ้น และจะเป็นเมืองที่เหมาะสมกับการใช้ชีวิต จนถึงบั้นปลายชีวิต

รศ.ดร. ภาณุพงศ์ กล่าวต่อว่า ขั้นตอนต่อไปจะเอาข้อมูลจากแผนยุทธศาสตร์ของแต่ละพื้นที่ ไปรวมเป็นระเบียงเศรษฐกิจเวลเนสประเทศไทย แล้วนําเสนอกลับไปที่กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ซึ่งเป็นเลขาของคณะทำงาน Medical Hub ของประเทศ ในการที่จะนําเสนอ ครม.ต่อไป

“ถ้ายังไม่ยุบสภาก็น่าจะทัน แต่ถ้าไม่ทันในรัฐบาลใหม่ก็จะได้นําเสนอแผนนี้ต่อไป”

รศ.ดร. ภาณุพงศ์ กล่าวด้วยว่า ทั้งหมดน่าจะเป็นจุดแข็งของจังหวัดสงขลาได้ เนื่องจากมีทรัพยากร มีผู้เชี่ยวชาญ องค์ความรู้อยู่มาก และที่ยิ่งโดดเด่นกว่าที่อื่นคือ การท่องเที่ยวฮาลาลและผลิตภัณฑ์ฮาลาลที่สามารถกระจายไปยังทั้งตัวของตะวันออกกลางหรือแม้แต่ในอาเซี่ยนเอง อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์

ในขณะที่พื้นที่เองมีความหลากหลายอยู่มาก ฉะนั้น การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในมิติอื่น ๆ ที่ไม่ใช่แค่การรักษาโรค ก็น่าจะเป็นจุดเด่นของพื้นที่ได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *