สตูล ปฐมนิเทศศึกษาความเหมาะสม-ผลกระทบสิ่งแวดล้อม พัฒนาเส้นทางเชื่อมโยง สายสตูล–เปอร์ลิส เชื่อมการคมนาคมขนส่ง การค้า และการท่องเที่ยวระหว่างไทย-มาเลเซีย
17 มีนาคม 2566 ที่ห้องประชุมอภัยนุราช 1 โรงแรมสินเกียรติบุรี อำเภอเมือง จังหวัดสตูล นายสัมฤทธิ์ เลียงประสิทธิ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล เป็นประธานในพิธีเปิดประชุม “ปฐมนิเทศโครงการการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และผลกระทบสิ่งแวดล้อมการพัฒนาเส้นทางเชื่อมโยงระหว่างไทย – มาเลเซีย สายสตูล – เปอร์ลิส”
ทั้งนี้ เพื่อเชื่อมโยงการคมนาคมขนส่ง การค้า และการท่องเที่ยวระหว่างไทย – มาเลเซีย โดยมี นางสาวพาริษา ปทุมวงษา วิศวกรโยธาชำนาญการพิเศษและผู้จัดการโครงการฯ พร้อมด้วย ผู้เชี่ยวชาญจากกรมทางหลวง หัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา และประชาชนเข้าร่วมการประชุมเป็นจำนวนมาก
สำหรับการประชุมในครั้งนี้ สืบเนื่องจากจังหวัดสตูลเป็นจังหวัดชายแดนด้านทิศใต้ของประเทศไทย ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของรัฐเปอร์ลิส ประเทศมาเลเชีย ในปัจจุบันมีการคมนาคมเชื่อมโยงระหว่างประเทศ 2 เส้นทาง คือ ทางเรือที่ทำเรือตำมะลังไปยังเกาะลังกาวี ประเทศมาเลเซีย และทางถนนโดยผ่านทางหลวงหมายเลข 4184 สายควนสต – ด่านชายแดนวังประจัน (เขตแดนไทยมาเลเซีย) เชื่อมต่อกับด่านวังเกลียนรัฐเปอร์ลิส ซึ่งเป็นเส้นทางที่ค่อนข้างคับแคบขึ้นลงเขาและคดเคี้ยว และเป็นเขตพื้นที่อนุรักษ์ทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศมาเลเซีย ทำให้การเดินทางไม่สะดวก
ดังนั้น หากมีการพัฒนาเส้นทางเชื่อมระหว่างจังหวัดสตูล ประเทศไทยไปสู่รัฐเปอร์ลิสประเทศมาเลเซีย เพื่อรองรับการค้า การลงทุน การท่องเที่ยวของจังหวัดสตูล และชายฝั่งทะเลอันดามัน ทำให้สามารถเดินทางได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว และเป็นการกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่
จากการตรวจสอบพื้นที่ศึกษาเบื้องต้นพบว่าตั้งอยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ ได้แก่ พื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำชั้น 1 พื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำชั้น 2 พื้นที่ อุทยานแห่งชาติทะเลบัน พื้นที่ป่าขายเลนในเขตป่าสงวนแห่งชาติ และพื้นที่ชายฝั่งทะเลในระยะ 50 เมตร ห่างจากระดับขึ้นสูงสุดตามปกติทางธรรมชาติ รวมถึงพื้นที่ที่ตั้งอยู่ใกล้โบราณสถาน แหล่งโบราณคดี เป็นตัน ซึ่งเข้าข่ายต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EA Report) เพื่อเสนอต่อสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ก่อนการพัฒนาโครงการ
ดังนั้น กรมทางหลวงจึงได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาประกอบด้วย บริษัท อินเด็กซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป (มหาชน) บริษัท ดีคด คอนซัลแตนท์จำกัดบริษัทนเต็ด แนนาลิสต์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ พีเอสเค คอนซัลแทนส์ จำกัด ให้ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และผลกระทบสิ่งแวดล้อม การพัฒนาทางเชื่อมโยงระหว่างไทย – มาเลเชีย สายสตูล – เปอร์ลิส เพื่อรองรับการพัฒนาโครงข่ายเชื่อมโยงระหว่างประเทศกับสภาวการณ์ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การค้า และการท่องเที่ยว
ในการดำเนินงานโครงการดังกล่าว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนมาเป็นหลักการในการทำงานเพื่อให้การพัฒนโครงกรเป็นไปอย่างรอบคอบ เหมาะสม และมีผลกระทบเกิดขึ้นน้อยที่สุด โดยการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมให้ประชาชน องค์กรพัฒนาเอกชน ตลอดจนหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง สามารถเข้ามามีส่วนร่วมรับรู้ข้อมูลสาร และแสดงความคิดเห็น หรือข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับโครงกรตั้งแต่เริ่มแรก เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจและความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับการพัฒนาโครงการ
โดยขณะนี้โครงการอยู่ในช่วงเริ่มต้น จึงจัดให้มีการประชุมปฐมนิเทศโครงการ (สัมมนา ครั้งที่1) เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของโครงการให้กลุ่มเป้าหมายได้รับทราบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเป็นมาของโครงการ วัตถุประสงค์ของกาศึกษา ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ พื้นที่การศึกษา และแผนการดำเนินงานด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนของโครงการอีกด้วย