Home » ข่าว » ‘ลุงตู่’ฝากบอกอบจ.เพิ่มแพ! ข้ามเลสาบระหว่างศึกษาสะพาน

‘ลุงตู่’ฝากบอกอบจ.เพิ่มแพ! ข้ามเลสาบระหว่างศึกษาสะพาน

“ผู้ว่าฯเจษฎา” เผย “นายกลุงตู่” ฝากบอกอบจ. สงขลาเพิ่มแพขนานยนต์ฯ อำนวยความสะดวกประชาชน ระหว่างศึกษาฯสร้างสะพานข้ามทะเล

สาบ ขณะที่ตัวแทนอบจ.ระบุยกร่างขอบเขตการศึกษา 8 ด้าน ใช้เวลา 300 วัน งบ 18 ล้านบาท

20 มีนาคม 2566 ณ ห้องประชุม Conference ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดสงขลา นายเจษฎา จิตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานการประชุมคณะทำงานศึกษาความเหมาะสมในเบื้องต้น สำหรับโครงการก่อสร้างสะพานข้ามทะเลสาบสงขลา เพื่อเชื่อมต่ออำเภอเมืองสงขลากับอำเภอสิงหนคร ของจังหวัดสงขลา ครั้งที่ 2/2566

โดยเฉพาะระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อทราบ รายงานผลการตรวจราชการของนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา) สำหรับโครงการศึกษาความเหมาะสมการก่อสร้างสะพานข้าม ระหว่างอำเภอเมืองสงขลาและอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา และประเด็นอื่นที่เกี่ยวข้อง ส่วนที่ 1 สภาพทั่วไป ปัญหาการคมนาคม 3.1 การนำเสนอข้อมูลแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้

1.1 การคมนาคมระหว่างอำเภอสิงหนครกับอำเภอเมืองสงขลา ใช้เส้นทางคมนาคมหลัก 2 เส้นทาง (1) เส้นทางรถยนต์ เดินทางจากฝั่งอำเภอสิงหนคร จุดเริ่มต้นแยกหัวเขา-สะพานติณสลานนท์- เกาะยอ ปริมาณจราจร ๒๐,๐๐๐ คัน/วัน ทั้งนี้ หากเดินทางมายังศูนย์ราชการจังหวัดสงขลา ระยะทางประมาณ 30 กม.ใช้เวลาเดินทางประมาณ 55 นาที

(2) เส้นทางแพขนานยนต์ เดินทางผ่านแพขนานยนต์สงขลา ระหว่างฝั่งหัวเขาแดง-ฝั่งเมืองสงขลา ใช้เวลาเดินทางประมาณ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง

เนื่องจากแพขนานยนต์ที่ให้บริการมีเพียง 3 ลำ ปริมาณการจราจรเดือนละประมาณ 160,000 คัน หรือ ปีละประมาณ 2 ล้านคัน ทั้งนี้ ระยะทาง ข้ามฟาก 750 เมตร หากรวมระยะทางถึงศูนย์ราชการจังหวัดสงขลา 6 กม. 1.2 จากข้อมูลดังกล่าว ทำให้เกิดสภาพ

การจราจรติดขัด ในชั่วโมงเร่งด่วน และช่วงเทศกาลสำคัญ ซึ่งจะใช้เวลาอย่างน้อย 1 ชั่วโมงขึ้นไป ส่วนที่ 2 ผลการดำเนินงานในห้วงที่ผ่านมา 2.1 จังหวัดสงขลาได้แต่งตั้งคณะทำงานศึกษาความเหมาะสมในเบื้องต้น โครงการก่อสร้างสะพาน ณ บริเวณท่าแพขนานยนต์สงขลาเพื่อเชื่อมต่ออำเภอเมืองสงขลากับอำเภอสิงหนคร ของจังหวัดสงขลาคณะทำงาน มีที่ปรึกษา ประกอบด้วย ส.ส. ของจังหวัดสงขลา ทั้ง 8 เขต รวมทั้ง นายเจือ ราชสีห์ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ และหน่วยงานภาครัฐภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยมีอำนาจหน้าที่ ศึกษาความเหมาะสมในเบื้องต้น

2.2 จังหวัดสงขลาได้จัดทำ Road Map การดำเนินโครงการสรุปดังนี้ (1) ปี 2566 สำรวจความคิดเห็นและความต้องการของประชาชน โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย เบื้องต้นสุ่มตัวอย่างประชากรในพื้นที่จังหวัดสงขลา ประมาณ 700 คน พบว่า มากกว่าร้อยละ 50 เห็นว่าปัญหาการเดินทางระหว่างอำเภอสิงหนครกับอำเภอเมืองสงขลา อยู่ในระดับเร่งด่วน

จังหวัดสงขลา กำหนดสำรวจความคิดเห็นเพิ่มเติมให้ครบถ้วนสมบูรณ์ ให้แล้วเสร็จในเดือนมิถุนายน 2566 เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป (2) ปี 2567 มอบอบจ.สงขลา ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ เช่น ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านเศรษฐศาสตร์ เป็นต้น (3) ปี พ.ศ.2568-69 สำรวจออกแบบก่อสร้าง โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบ (4) ปี พ.ศ. 2570-72 ดำเนินการก่อสร้าง

ส่วนที่ 3 ข้อเสนอนำเรียนนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา) เพื่อขอรับการสนับสนุน จังหวัดสงขลาได้นำเสนอนายกรัฐมนตรีฯ เพื่อขอรับการสนับสนุน ดังนี้ (1) เพื่อโปรดทราบ การดำเนินการของจังหวัดสงขลา ในการมอบหมายอบจ.สงขลา เป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study) ทั้งด้านวิศกรรม ขนส่ง การจราจร สิ่งแวดล้อม เศรษฐศาสตร์ สังคม และประเด็นอื่นที่เกี่ยวข้อง ในปี 2567 (2) นำเรียนเพื่อโปรดพิจารณา มอบหมายกระทรวงคมนาคมสนับสนุนการดำเนินงาน ในการสำรวจพื้นที่พร้อมออกแบบก่อสร้าง และดำเนินการก่อสร้างในห้วง ปี 2568-72

3.3 การรับข้อเสนอเชิงนโยบาย นายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา) ได้รับทราบการนำเสนอของจังหวัดสงขลาและมอบหมายหน่วยงานดำเนินการ ดังนี้ (1) รับทราบการดำเนินงานของจังหวัดสงขลา ในการมอบหมายอบจ.สงขลา เป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study) ทั้งด้านวิศกรรม ขนส่ง การจราจร สิ่งแวดล้อม เศรษฐศาสตร์ สังคม และประเด็นอื่นที่เกี่ยวข้อง ในปี 2567 (2) รับข้อเสนอของจังหวัดสงขลาเพื่อมอบหมายกระทรวงคมนาคมสนับสนุนการดำเนินงาน ในการสำรวจพื้นที่พร้อมออกแบบก่อสร้าง และดำเนินการก่อสร้างในห้วง ปี 2568-72 ต่อไป

ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องเพื่อพิจารณาแนวทางการดำเนินงานโครงการฯ ในปี พ.ศ. 2566 (มีนาคม – มิถุนายน) 1. เรื่องเดิมการประชุมคณะทำงานศึกษาความเหมาะสมในเบื้องต้น สำหรับโครงการก่อสร้างสะพานข้ามทะเลสาบสงขลา เพื่อเชื่อมต่ออำเภอเมืองสงขลากับอำเภอสิงหนครของจังหวัดสงขลา 20 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ศาลากลางจังหวัดสงขลา ที่ประชุมการพิจารณาแผนการดำเนินงานโครงการฯ ในปีพ.ศ. 2566 (มีนาคม-มิถุนายน) มีมติ ดังนี้

1.1 มอบหมายจังหวัดสงขลาร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จัดประชุมระดมความคิดเห็นตามกระบวน การมีส่วนร่วม โดยกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ภาคีเครือข่ายภาคประชาชนทุกภาคส่วน เดือนละ 1 ครั้ง รวม 3 ครั้ง หรือดำเนินการอื่นใดตามความเหมาะสม

1.2 มอบหมายอำเภอสิงหนครและอำเภอเมืองสงขลา สำรวจข้อมูลเพิ่มเติม โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ บริเวณอำเภอสิงหนคร โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่ ตำบลหัวเขา เทศบาลเมืองสิงหนคร อ.สิงหนคร และตำบลบ่อยาง อ.เมืองสงขลา รวมทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 500 ตัวอย่าง

1.3 ให้นำผลการดำเนินงานดังกล่าว นำเสนอต่อที่ประชุมคณะทำงานฯเพื่อรับรองผลการระดมความคิดเห็นตามกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายภาคประชาชน พร้อมจัดทำรายงานวิเคราะห์ ข้อมูลในเบื้องต้น นำเสนออบจ.สงขลา เป็นข้อมูลจัดทำโครงการศึกษาความเป็นไปได้ต่อไป โดยข้อเท็จจริง ผศ.ดร.ชลัท ทิพากรเกียรติ อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ราชมงคลศรีวิชัย ได้จัดทำขั้นตอนแนวทางการดำเนินงานโครงการฯในปี พ.ศ. 2566 (มีนาคม – มิถุนายน) เรียบร้อยแล้ว (เสนอข้อมูลในช่วงการประชุม)

นายเจษฎา จิตรัตน์ กล่าวว่า ข้อสรุปในการประชุมครั้งนี้ จะรายงานไปยังกระทรวงมหาดไทย, สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.), สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี,และกระทรวงคมนาคม ประกอบด้วย

1.การศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study) ของโครงการ ซึ่งตัวแทนอบจ.สงขลาได้มารายงานความก้าวหน้าว่า ได้มีการยกร่างขอบเขตการ

ศึกษาไว้ 8 ด้าน ครอบคลุมทุกมิติ โดยจะใช้เวลาในการ ศึกษา 300 วัน ใช้งบประมาณ 18 ล้านบาท “ทางอบจ.สงขลาได้นำเรียนทางจังหวัดสงขลาพิจารณางบประมาณในการดำเนินการ ศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study) ของโครงการ”

2. นายกรัฐมนตรีได้ฝากข้อความมากับท่านวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เมื่อ 19 มีนาคม 2566 ว่า ถ้ายังไม่สามารถสร้างได้ตามโรดแมป

ที่จังหวัดวางไว้ ถ้าจะมีแพขนานยนต์เพิ่มเพื่อเพียงพอต่อความต้องการได้หรือไม่ ให้อบจ.สงขลาไปพิจารณาดู ซึ่งวันนี้ ตัวแทนอบจ.สงขลา ได้รายงานว่าขณะนี้ อบจ.สงขลา กำลังต่อแพขนานยนต์ลำใหม่ คาดว่าจะแล้วเสร็จเดือนสิงหาคม รวมการปรับปรุงท่าแพฝั่งสิงหนครใกล้จะแล้วเสร็จจะสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการเพิ่มขึ้น

“ในเดือนสิงหาคมนี้จะมีแพขนานยนต์ลำใหม่เพิ่มขึ้นอีก 1 ลำ จากเดิมที่ให้บริการอยู่ 3 ลำ รวมเป็น 4 ลำ และจะมีโอกาสเพิ่มได้อีกหรือไม่ก็ได้หารือกับนายกอบจ. ในเรื่องนี้ไปแล้ว” ผู้ว่าฯ เจษฎา กล่าว

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *