สงขลา-ผู้ว่าฯชุมพร เปิดหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงชุมพรวันนี้ ช่วยเหลือเกษตรกรประสบฝนทิ้งช่วง ขณะที่เกษตรกรจังหวัดเผยเป็นภัยแล้งในรอบ 10 กว่าปี คาดส่งผลกระทบผลิตทุเรียนประมาณ 10,000 ไร่
เวลา 09.30 น. วันที่ 27 พฤษภาคม 2566 นายวิสาห์ พูลศิริรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร พร้อมด้วย ผอ.ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคใต้ หัวหน้าส่วนราชการสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตรวจเยี่ยมให้กำลังใจและวางแผนปฏิบัติการร่วมกับเจ้าหน้าที่หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงชุมพร ณ ท่าอากาศยานชุมพร
โดยทางจังหวัดชุมพรได้ประสานกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เพื่อดำเนินการตั้งศูนย์อำนวยการฝนหลวงที่ท่าอากาศยานชุมพร อ.ปะทิว จ.ชุมพร หลังจากที่ก่อนหน้านี้ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้เริ่มปฏิบัติการฝนหลวงในพื้นที่มาแล้ว แต่ไม่ประสบความสำเร็จ
เนื่องจากสภาพอากาศและสภาพพื้นที่ไม่เอื้ออำนวย ทำให้ฝนไม่ตกหรือตกไม่ตรงพื้นที่เป้าหมาย จึงมีการปรับแผนโดยจะเพิ่มรอบบินให้มากขึ้นจนกว่าจะประสบความสำเร็จหรือจนกว่าฝนจะตก ซึ่งการระดมกำลังมาตั้งศูนย์อำนวยฯ ดังกล่าว จะทำให้สะดวกในการปฏิบัติการมากขึ้น
นายสุบรรณ์ รักษ์ทอง เกษตรจังหวัดชุมพร เปิดเผย “ผู้สื่อข่าว” ว่าผลกระทบจากสถานการณ์ฝนทิ้งช่วงประมาณ 3-4 เดือนที่ผ่านมานั้น ได้ส่งผลกระทบกับสวนทุเรียนในพื้นที่เป็นอย่างมาก ถ้าเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์แล้วก็ประมาณน่าจะประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ที่ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะเกษตรกรที่ไม่มีแหล่งน้ำเป็นของตนเองกระทบมากเลย ต้องใช้วิธีการขนน้ำ ไปช่วยในเรื่องของการรดต้นทุเรียน
ส่วนความเสียหายกับทุเรียนจากสถานการณ์ฝนทิ้งช่วงสำหรับมูลค่าทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น โดยในขณะนี้ที่เสียหาย โดยการคาดการณ์ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับต้นทุเรียนน่าจะเสียหายประมาณ 10,000 ไร่ แต่ที่เสียหายจริง ๆ ก็ไม่น่าจะถึง 10,000 ไร่ ประมาณหลัก 1,000 ไร่ ที่ยืนต้นตาย ทั้งทุเรียนกับมังคุดและมะพร้าวบางส่วน เป็นการคาดการณ์ว่าประมาณ 10,000 ไร่และเสียหายจริง ๆ อาจจะไม่ถึง 10,000 ไร่ 0kdพื้นที่การปลูกทุเรียนของจังหวัดชุมพรประมาณ 270,000 กว่าไร่
สำหรับสถานการณ์ฝนทิ้งช่วงจนทำให้เกิดภัยแล้วในปีนี้ถือว่าหนักที่สุดในรอบ 10 กว่า สถานการณ์ปีนี้รองจากปี 2548 ที่เคยแล้งหนักเหมือนกัน ซึ่งจากการคาดการณ์สำหรับผลผลิตทุเรียนจังหวัดชุมพรในปปีนี้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งนั้น จากการคาดการณ์ครั้งแรกคาดไว้ที่ 410,000 กว่าตัน และคาดการณ์ครั้งที่ 2 ประมาณ 330,000 ตัน แต่คิดว่าจากสถานการณ์ปัจจุบันน่าจะอยู่ที่ประมาณ 290,000 ตันหรือ 300,000 ตัน
เมื่อเทียบผลผลิตกับปี 2564 ที่ผ่านมา ถือว่าผลผลิตทุเรียนจังหวัดชุมพรน้อยกว่าปีนี้ (2566) จะน้อยกว่าปี 2564 ในขณะที่ปี 2565 เป็นปีที่มีฝนตกเยอะทำให้ผลผลิตทุเรียนมีน้อย เนื่องจากทุเรียนไม่ออกดอก แต่มาในปีนี้ (2566) ก็เกิดภัยแล้งที่เป็นผลกระทบรุนแรงในรอบ 10 กว่าปี ล่าสุดทางท่านผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรได้ให้แต่ละอำเภอประชุมเพื่อสำรวจพื้นที่ ๆ เสียหายและคาดว่าจะเสียหาย เพื่อที่จะประกาศเป็นเขตภัยแล้งเพื่อดำเนินการช่วยเหลือต่อไป
“ตอนนี้ได้มีการประกาศเขตภัยแล้งไปแล้วจำนวน 1 ตำบล ก็คือ ตำบลลับล่อ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร มีเพียงตำบลเดียวที่ได้ประกาศเป็นเขตภัยแล้งไปในขณะนี้ และคาดว่าในวันที่ 29 พฤษภาคม นี้ ถ้ามีพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งก็จะมีการประกาศเพิ่ม” เกษตรจังหวัดชุมพร กล่าว
สำนักข่าวโฟกัส
สมชาย สามารถ