Home » ข่าว » ‘สทิงพระ’ต่อยอดตาลโตนดพัฒนาท่องเที่ยวชุมชน-ชายทะเล

‘สทิงพระ’ต่อยอดตาลโตนดพัฒนาท่องเที่ยวชุมชน-ชายทะเล

ที่อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา จัดงาน “วันลูกโหนดและของดีสทิงพระ ครั้งที่ 34” ประจำปี 2566bวันที่ 12 – 18 มิถุนายน 2566 ณ สนามหน้าที่ว่าการอำเภอสทิงพระ และก่อนหน้านั้น ที่ตำบลท่าหิน มีการจัดงาน “เที่ยวท่าหิน กินปลามิหลัง นั่งเรือแลบัวชมพู เรียนรู้วิถีโหนด นา เล ครั้งที่ 3” วันที่ 2-4 มิถุนายน ณ ศูนย์เรียนรู้ชุมชนท่าหิน โดยทั้งสองงานได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา
นายชัยเดช ปาละวงศ์ นายอำเภอสทิงพระ กล่าวถึงการจัดงานวันลูกโหนดว่า เป็นเทศกาลที่ถูกจัดมาแล้วกว่า 30 ปี ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 34 เพื่อส่งเสริมผลผลิตของตาลโตนดและของดีสทิงพระให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น
“การจัดเทศกาลครั้งนี้ มีการปรับรุปแบบ เพื่อสื่อให้เข้าใจถึงวิถีชีวิตโหนด นา เล และอาชีพที่ทำให้ชาวสทิงพระมีรายได้ มีความเป็นอยู่ที่ดี” นายอำเภอสทิงพระ กล่าว และว่า เดิมการขายตาลโตนดอาจจะไม่สามารถขยายการขายได้ เนื่องจากสมัยก่อนมีปัญหาหลายอย่าง แต่ปัจจุบันการจำหน่ายผลิตผลการเกษตรมีแนวโน้มดีขึ้น เพราะมีการด้านการสื่อสารและการขนส่ง ขณะเดียวกัน ก็มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจากลูกตาล ลำต้น และใยตาล เหล่านี้สามารถแปรรูปส่งขาย
ได้ถึงต่างประเทศ อาทิ ญี่ปุ่นและเดนมาร์ก“ลูกตาลสดบ้่านเราส่งขายไปยังภาคอีสานและภาคกลาง”


นายชัยเดช กล่าวต่อว่า เราพยายามอนุรักษ์ไว้ ซึ่งต้นตาลที่เป็นอาชีพหลัก ผสมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ตามรอยหลวงปู่ทวด และมีทะเลสาบสงขลามีทิวทัศน์ที่สวยงาม มีอาหารสดจากเรือประมงพื้นบ้านที่มีอยู่ตามฤดูกาล
“ตอนนี้เรายังขาดสถานที่ท่องเที่ยว ไม่ว่าจะร้านอาหารหรือจุดท่องเที่ยว ท่ี่มีน้อยเนื่องจากเป็นพื้นที่สาธารณะ จึงอยากส่งเสริมให้ดีขึ้น โดยเชิญองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาหารือ เรื่องการจัดสรรพื้นที่ให้ผู้ที่สนใจมาประกอบการเพื่อเปิดร้านอาหารชั่วคราว สร้างห้องน้ำ ตรงนี้น่าจะส่งเสริมให้สอดรับกับการท่องเที่ยวได้ยิ่งขึ้น”
ขณะที่ นายนราศักดิ์ ชุมแก้ว เกษตรอำเภอสทิงพระ กล่าวว่า สำนักงานเกษตรอำเภอสทิงพระ มีส่วนร่วมในการจัดการประกวดผลผลิตทางการเกษตร โดยเฉพาะตาลตโนด 2 สายพันธุ์คือ พันธุ์กาและพันธุ์ข้าว เป็นสายพันธ์ุที่มีคุณภาพสามารถนำไปทำได้หลายอย่าง ทั้งยังมีการประกวดผลผลิตอื่น ๆ ที่สำคัญ เช่น มะพร้าวน้ำหอม กล้าวยน้ำว้า เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมสันทนาการที่ช่วยกระชับความสัมพันธ์และความสามัคคีให้ชาวบ้าน อย่าง การแข่งขันกินลูกโหนด หรือแข่งขันขูดมะพร้าวในงาน


นายนราศักดิ์ กล่าวว่า ตาลตโนดเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญกับวิถีชีวิตคนสทิงพระอย่างมาก จากงานวิจัย ต้นตาลตโนดของสทิงพระน่าจะมีมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย ประมาณ 1 ล้าน 5 แสนต้น
ต้นตาลโตนด สามารถสร้างรายได้ได้ทุกส่วน ทั้งผลลูกตาล ที่นำไปขายเป็นลูกตาลสด คำนวณคร่าว ๆ ในหนึ่งปี จะมีรายได้เข้ามาประมาณ 4,000 บาทต่อต้น ถือเป็นมูลค่ามาก นอกจากการแปรรูปที่เราเคยเห็นอยู่ ยังมีการแปรรูปใหม่ ๆ เช่น เส้นใยตาลที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชน นำไปทำกระเป๋าส่งเข้าห้าง หรือเจ้าใหญ่อย่างบริษัท ตาลบุรี ที่นำผลผลิตจากตาลไปแปรรูปหลายอย่าง เช่น คราฟท์เบียร์ สุรา และน้ำตาลสำหรับกาแฟ
“สทิงพระมีตาลโตนดเยอะ หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก เกษตรอำเภอก็พยายามจะรักษาต้นตาลที่มี เพราะกว่าจะให้ผลผลิตก็ใช้เวลานาน”
นายนราศักดิ์ กล่าวด้วยว่า ประมงพื้นบ้านยังเป็นอาชีพสำคัญที่หล่อเลี้ยงอำเภอสทิงพระ องค์กรส่วนท้องถื่นตระหนักถึงเรื่องนี้เป็นอย่างดี จึงจัดเทศกาลเกี่ยวกับประมงพื้นบ้านคือ เทศกาลกินปลา
มิหลังครั้งนี้ ครั้งที่ 3 วันที่ 2 – 4 มิถุนายน ที่ผ่านมา
นายธนิต พ่วงแม่กลอง นายก อบต.ท่าหิน กล่าวว่า เทศกาลนี้จัดขึ้นเพื่อประสานงานระหว่างหน่วยงานให้มีความรักสามัคคี และกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่งเสริมการท่องเที่ยวหลังจากโควิด ซึ่งปลามิหลัง จัดเป็นหนึ่งในของดี อำเภอสทิงพระ ที่มีอยู่ในทะเลสาบสงขลา


“ปลาในทะเลสาบสงขลา มีจุดเด่นคือ เป็นปลาสามน้ำ คือน้ำเค็ม น้ำจืด น้ำกร่อย เนื้อปลาที่รับประทานจะอร่อยขึ้นชื่อด้านรสชาติที่แตกต่างกับปลาในทะเลอื่น” นายธนิต กล่าว และว่า อำเภอสทิงพระ มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล เป็นทรัพยากรที่สำคัญต่อกาารท่องเที่ยวและอาหาร มีผู้ประกอบการเล็งเห็นโอกาสเข้ามาพัฒนาพื้นที่ สร้างที่พักให้นักท่องเที่ยวที่มาพักผ่อน
ขณะที่ นายชัยพร คชฤทธิ์ เจ้าของรีสอร์ทซันไชน์ โฮมเสตย์ กล่าวว่า ซัลไชน์ โฮมเสตย์เป็นโฮมเสตย์ที่ติดกับทะเลอ่าวไทย มีวิวสวย และราคาถูก เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่มาเป็นคู่รัก และนักท่องเที่ยวที่มาเป็นครอบครัว จึงสามารถดำเนินกิจการมาได้จนปัจจุบัน แม้ยังไม่มีการสนับสนุนการท่องเที่ยวอย่างเต็มที่
“เมื่อโรคระบาดลดลง ท่องเที่ยวก็เริ่มดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เริ่มมีผู้ประกอบการสนใจเข้ามาสร้างรีสอร์ทและโรงแรม ทำให้สามารถพัฒนาไปเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่คนรู้จักมากขึ้น แม้การแข่งขันจะสูงขึ้น แต่เป็นข้อดีที่ช่วยผลักดันให้มีการพัฒนาศักยภาพของตัวเอง” นายชัยพร กล่าว และว่า การสนับสนุนจากท้องถิ่น ด้านปรับปรุงบริการสาธารณะหรือพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ยังเป็นสิ่งสำคัญมากต่อการพัฒนาอำเภสทิงพระ
นายฐาวร บุญราศรี เจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ(องค์กรมหาชน) หรือ BEDO ซึ่งมาร่วมสนับสนุนการจัดงาน “ของดีท่าหิน” กล่าวว่า วิถีชีวิตชาวทะเลสาบสงขลา เกี่ยวโยงกับต้นตาลโตนดตั้งแต่เริ่มตื่นนอน
“คนที่นี่มีอาชีพปีนตาล ขายลูกตาล แปรรูปลูกตาล แม้กระทั่งแกะสลักไม้ตาล ถ้าหากคำนวณแล้วมูลค่าไม่ต่ำพันล้านต่อปี” นายฐาวร กล่าว และว่า จะทำอย่างไรให้คนข้างนอกเข้ามาเรียนรู้กับชุมชน จึงเกิดเป็นสิ่งที่เราเรียกว่า การท่องเที่ยวเชิงชีวภาพ การที่คนนอกเข้ามาเรียนรู้ มาทำ มากินอาหารพื้นบ้าน เขาก็ได้รู้ถึงคุณค่า


การดำรางกิจกรรมตรงนี้ไว้ เราต่อยอดจากศูนย์เรียนรู้ ให้เด็กและเยาวชนตั้งแต่อนุบาลจนถึงมหาลัยเข้ามาเรียนรู้ วิถีโหนดนาเล เพราะการที่คนนอกเข้ามา ก็จะเกิดเป็นเศรษฐกิจชุมชน ทำให้คนในชุมชนมีกำลังใจที่จะทำกิจกรรมต่อยอด
ขณะที่ นางพูนทรัพย์ ชูแก้ว ผอ.ศูนย์เรียนรู้วิถีโหนด-นา-เล กล่าวว่า ตาลโตนดมี 3 สายพันธุ์คือ สายพันธุ์ขมิ้น ลักษณะมีผิวเรียบ สีอมน้ำตาล, สายพันธุ์กา เปลือกจะแตกลายงา คนส่วนใหญ่คิดว่าสายพันธุ์กาคือ โหนดขมิ้นที่ใกล้สุก ที่มี beta-carothine สูง และสายพันธุ์ข้าว ลูกจะเล็ก มีสีเขียว ยุมใหญ่ หัวหวาน
“ที่นี่เราอนุรักษ์การทำน้ำตาล ทั้งน้ำตาลโหนด น้ำตาลแว่น และน้ำตาลผง นำมาใช้ทำขนม ส่วนลูกที่สุกก็เอามาทำสบู่ เซรั่ม โลชั่น น้ำยาล้างจาน รวมไปถึงทำน้ำหมักชีวภาพ เป็นการแปรรูปแบบครบวงจรทำโดยวิสาหกิจชุมชน เป็นการเพิ่มมูลค่าของวัตถุดิบและรายได้ให้กับชุมชน” นางพูนทรัพย์ กล่าว และว่า
เราใช้เรื่องเหล่านี้เป็นจุดขายเรื่องท่องเที่ยวเชิงชีวภาพ เพื่อให้คนภายนอกรู้จักวิถีชีวิตชาวตำบลท่าหิน และทำเป็นศูนยย์เรียนรู้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *