Home » ข่าว » จัดประกวด-กิน”เรียนบ้าน”สืบสานเก้าภูมิปัญญา นำสงขลาสู่มรดกโลก

จัดประกวด-กิน”เรียนบ้าน”สืบสานเก้าภูมิปัญญา นำสงขลาสู่มรดกโลก

สภาทรัพยากรพันธุกรรมพื้นบ้านภาคใต้ ชมรมรักษ์สวนสมรม ร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ศูนย์เรียนรู้ครูภูมิปัญญาเกษตรธรรมชาติธาตุ4 สมาคมชุมชนสร้างสรรค์ และ หนังสือพิมพ์ภาคใต้โฟกัส จัด เทศกาลทุเรียนพื้นบ้าน ปี 2566 “กินเรียนบ้าน สืบสานเก้าภูมิปัญญา นำสงขลาสู่มรดกโลก” ในวันที่ 27 สเวหาคม2566\ณ ศูนย์เรียนรู้ครูภูมิปัญญาเกษตรธรรมชาติธาตุ4 ต.เขาพระ อ.รัตภูมิ จ.สงขลา กล่าวเปิดงานโดย รศ.ดร.ทัศนา ศิริโชติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา พร้อมปาฐกถาเรื่อง “ยุทธศาสตร์ สงขลามหานครทุเรียนพื้นบ้าน” โดย นายไพเจน มากสุวรรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา

จากนั้น มีการเสวนา“กินเรียนบ้าน สืบสานเก้าภูมิปัญญา นำสงขลาสู่มรดกโลก” โดย รศ.ดร.จรัสศรี นวลศรี คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(ม.อ.) วิทยาเขตหาดใหญ่ อ.เทพรัตน์ จันทพันธ์ สถาบันทักษิณคดีศึกษา ม.ทักษิณ นายวุฒิศักดิ์ เพชรมีศรี เกษตรจังหวัดสงขลา นายอภินันท์ หมัดหลี ศูนย์เรียนรู้เกษตรธรรมชาติธาตุ4 ดำเนินรายการโดย นายภูวสิษฎ์ สุขใส บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ภาคใต้โฟกัส และนายกสมาคมชุมชนสร้างสรรค์

ในงานยังมีกิจกรรมประกวดทุเรียนพื้นบ้าน เวทีที่ 5 การประมูลเมล็ดและผลทุเรียนบ้าน และการจัดตั้งกองทุนพัฒนาทุเรียนพื้นบ้านชุมชน

ซึ่งต้องขอขอบคุณ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา นายไพเจน มากสุวรรณ์ ที่ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับทุเรียนบ้าน โดยจัดให้เครือข่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมจัดทำยุทธศาสตร์ “สงขลามหานครทุเรียนพื้นบ้าน” พร้อมบรรจุในแผนงบประมาณปี 2567 ในการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องต่อไป และท่านก็ตอบรับมาร่วมงานในครั้งนี้ เช่นเดียวกับที่เคยมาร่วมกิจกรรมประกวดทุเรียนพื้นที่ครั้งก่อนที่ ต.ทุ่งตำเสา

นายกำราบ พานทอง เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกและสภาทรัพยากรพันธุกรรมพื้นบ้านภาคใต้ ในฐานะผู้ประสานงานกลาง กล่าวถึงการจัดงานครั้งนี้ว่า ทางชมรมรักษ์สวนสมรม ประกอบด้วย เกษตรกร และผู้สนในในเกษตรกรรมยั่งยืนในรูปแบบเกษตร นิเวศน์ของพื้นที่ภาคใต้ ร่วมกับศูนย์เรียนรู้ครูภูมิปัญญาเกษตรธรรมชาติธาตุ4 สมาคมชุมชนสร้างสรรค์ หนังสือพิมพ์ภาคใต้โฟกัส มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา และสภาทรัพยากรพันธุกรรมพื้นบาน ภาคใต้ จัดให้มีเทศกำลทุเรียนพื้นบ้าน เป็นปีที่ 7 ต่อเนื่องกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2560 ในรูปแบบที่แตกต่ำงกันตามสถานการณ์

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรณรงค์ ฟื้นฟูสิทธิเกษตรกรในฐานทรัพยากรพันธุกรรม กรณีทุเรียนพื้นบ้าน ยกระดับ คุณค่าและมูลค่าทุเรียนพื้นบ้านในฐานะพืชสังคม ไปพร้อมกับสวนสมรม ตลอดจนการเชิดชูภูมิปัญญาสวนสมรมให้เป็น มรดกชุมชน มรดกสังคมคนสงขลาและมรดกโลก

“คำว่า กินเรียนบ้าน หมายถึง การกินทุเรียนพื้นบ้านแล้วเห็นคุณค่าของสวนที่ปลูก ซึ่งจะเป็นสวนสมรมของเกษตรกร รู้ที่มาของทุเรียนพันธุ์พื้นบ้านแต่ละพันธุ์ว่ามีคุณค่ามีความเป็นมาอย่างไร เรื่องราวของผู้ที่ปลูกและการปลูก เพื่อต้องการให้เคารพในสิทธิและคุ้มครองสิทธิของผู้ที่ปลูกด้วย” นายกำราบ กล่าว และว่า

ส่วน สืบสานเก้าภูมิปัญญา ซึ่งเป็นแนวการเรียนรู้ของศูนย์เรียนรู้ครูภูมิปัญญาเกษตรธาตุ4 ซึ่งมีอยู่ 9 ภูมิปัญญา 9 ฐานการเรียนรู้ ได้แก่ 1. เกษตรสี่ย.(ยั่งยืน) คือ ดินยั่งยืน น้ำยั่งยืน พืชยั่งยืน และแสงแดดหรืออากาศยั่งยืน 2.การจักสาน 3. การจับผึ้งป่า 4. การแปรรูป 5. การออมทรัพย์ 6. การจัดการป่าชุมชน 7. พฤกษศาสตร์ชุมชน 8. ปุ๋ยหมัก หรือหลุมวิเศษ และ 9. หมอพื้นบ้าน

“ประโยคสุดท้าย นำสงขลาสู่มรดกโลก คือความต้องการให้การขับเคลื่อนสวนสมรม ซึ่งเป็นมรดกด้านภูมิปัญญาและวัฒนธรรม เป็นอีกส่วนหนึ่งในกระบวนการนำสงขลาสู่มรดกโลกของยูเนสโก ซึ่งในส่วนของภูมิปัญญาและวัฒนธรรมถือเป็น Intangible คือ มรดกที่มองไม่เห็นหรือจับต้องไม่ได้ โดยในวันที่ 30 สิงหาคมนี้ จะการสัมมนาเรื่อง “สวนสมรมสู่มรดกโลก” ที่สถาบันทักษิณคดีศึกษา ม.ทักษิณ เพื่อหารือการจัดทำขั้นตอนต่างๆ ต่อไป” นายกำราบ กล่าว

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *