คณะกรรมการประมงประจำหวัดสงขลา ยกเลิกเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำบริเวณปากอ่าวสงขลา รองรับการพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันท่าเรือน้ำลึกสงขลา-การท่องเที่ยวในอนาคต ที่สามารถรองรับเรือสำราญ
9 สิงหาคม 2566 ณ ห้องประชุม CEO ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดสงขลา นายกองเอก พุทธ กฤชคงพันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการประมงประจำหวัดสงขลา ครั้งที่ 1/2566
นายเจริญ โอมณี ประมงจังหวัดสงขลากรรมการและเลขานุการคณะกรรมการประมงประจำหวัดสงขลา เผยว่า มีการพิจารณายกเลิกเขตรักษาพืชพันธุ์ พ.ศ. 2525 และการกำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ พ.ศ. 2566
โดยเขตรักษาพืชพันธุ์ พ.ศ. 2525 กำหนดให้เป็นพื้นที่ ๆ ห้ามทำการประมงทุกชนิด เพื่อรักษาพันธุ์สัตว์น้ำ เพื่อเป็นแหล่งอนุบาลทั้งเป็นแหล่งพ่อแม่พันธุ์ ซึ่งการบังคับใช้กฎหมายในพื้นที่ ๆ กำหนดเดิม บางพื้นที่ไม่มีแผนที่ไม่ชัดเจน อาจจะทำให้เกิดความสับสนทางกรมประมงจึงให้ทำแผนที่เพื่อประกาศขึ้นมาใหม่ โดยกำหนดพื้นที่ จุด พิกัดที่ชัดเจนขึ้นในจังหวัดสงขลา เขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ พ.ศ. 2566 มี 10 จุด หรือ 10 พื้นที่ ทั้งในแหล่งน้ำจืดและในทะเล รวมถึงในทะเลสาบ ซึ่งคณะกรรมการฯมีอำนาจในการพิจารณา จึงยกร่างเพื่อนำเสนอกรมประมง เสนอรัฐมนตรีอนุมัติต่อไป โดยปรับปรุงพื้นที่
เดิมตามกำหนดเขตรักษาพืชพันธุ์ พ.ศ. 2525 เป็นหลัก ผ่านกระบวนการเวทีประชาคม “ยกเลิก 1 พื้นที่คือ ปากอ่าวสงขลาหรือท่าเรือน้ำลึกสงขลา เนื่องจากมีการสัญจรของเรือ ซึ่งไม่เหมาะที่จะเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์น้ำอีกต่อไป” ทำให้เขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ พ.ศ. 2566 จังหวัดสงขลาเหลือ 9 พื้นที่ ๆ มีการปรับปรุงแผนที่ให้ชัดเจนขึ้น ซึ่งสาระสำคัญ ๆ ยังเหมือนเดิม โดยวัตถุประสงค์คือ ให้มีแผนที่ประกอบเพื่อให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น ต่างจากของเดิมที่อาจจะยังไม่ชัดเจน เช่น ทิศเหนือจดหมู่นั้น หมู่นี้ ไม่ค่อยชัดเจน ทำให้เวลามีชาวประมงมาทำประมงในเขตอนุรักษ์ เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายค่อนข้างลำบาก เนื่องจากความไม่ชัดเจนว่า อยู่ในเขตหรือนอกเขต“การกำหนดใหม่จะทำให้มีความชัดเจนขึ้นชาวบ้านก็จะได้เข้าใจในทิศทางเดียวกัน และจะไม่เกิดความสับสนของชาวบ้านในพื้นที่” เมื่อผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการประมงประจำจังหวัด ก็จะนำเสนอไปยังกรมประมงเพื่อดูรายละเอียดข้อกฎหมาย ว่าครบถ้วนหรือไม่ หลังจากนั้น ก็นำเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ก่อนจะเสนอครม.อนุมติ แล้วประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้มีผลบังคับใช้
นายหิรัญวัตติ์ สืบกระพันธ์ ผจภ.๔(สข.) กล่าวว่า ปี 2525 กฎหมายที่ออกมา ยึดพ.ร.บ.การประมงพ.ศ.2490 ซึ่งเป็นการสงวนเป็นหลักไม่มีข้อยกเว้นในการอนุญาตให้จับสัตว์น้ำ หรือกระทำการใด ๆ
ซึ่งการจับสัตว์น้ำพัฒนาเปลี่ยนไปมาก โดยเฉพาะกิจการพาณิชย์นาวี อีกทั้ง ตอนที่มีการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกสงขลา แล้วก็มีการลงทุน ซึ่งบริษัทคู่สัญญาดำเนินปรับปรุงท่าเรือ
“ที่สำคัญคือ มติครม.วันที่ 10 มกราคม 2566 ที่ต้องการให้ท่าเรือน้ำลึกสงขลาเป็นศูนย์กลางของการกระจายสินค้าของภาคใต้” โดยให้ขุดลอกร่องน้ำประกันความลึกท่าเรือน้ำลึกสงขลา 9 เมตร เพื่อรองรับเรือที่กินน้ำลึกมากขึ้น และสามารถขนตู้คอนเทนเนอร์ได้มากขึ้น ทำให้เศรษฐกิจมวลรวมดีขึ้น ทำให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนในพื้นที่ เช่น นักลงทุนจากประเทศเพื่อนบ้าน (มาเลเซีย) ที่สนใจเข้ามาลงทุน ซึ่งทำให้เจตนารมย์ของกฎหมายที่แตกต่างกัน ไม่ให้ขัดหรือแย้ง
จึงหมดความจำเป็น และมีเหตุผลความจำเป็นที่จะต้องยกเลิก เปลี่ยนพื้นที่จับสัตว์น้ำตรงนี้ ประกอบกับมีวิถีชีวิตเป็นการช้านานที่เขามีเครื่องมือทำการประมงที่เรียกว่า โพงพาง ทำมาหากินอยู่แล้ว
ประกอบกับมีการสันทนาการในการตกปลา หรือการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องพันธุ์สัตว์น้ำบริเวณดังกล่าวที่บริเวณปากอ่าวสงขลา จึงรับฟังได้ว่าหมดเหตุผลความจำเป็นที่จะอนุรักษ์สงวนหวงห้ามโดยเด็ดขาด และปรับเปลี่ยนบริเวณทางน้ำที่พิกัดที่กำหนดให้เป็นทางน้ำสาธารณะทั่วไป โดยเฉพาะในเรื่องการคมนาคมขนส่งการโดยสารหรือส่งเสริมการท่องเที่ยว ไม่อยู่ต้องห้ามตามการประมงอีกต่อไป หลังจากครม.อนุมัติ
แต่กรณีการปลูกสร้างสิ่งรุกล้ำลำน้ำจะต้องอยู่ภายใต้การอนุญาตของกรมประมง โดยอธิบดีฯ มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดออกใบอนุญาต ที่เขาเรียกว่า ใบอนุญาตให้กระทำการใด ๆ ในที่จับสัตว์น้ำได้ ซึ่งจะมีอีกกรณีหนึ่งอีก ในกรณีนี้บอกว่า เขตรักษาพันธุ์สัตว์น้ำ แต่กรณีโน้นคือ การปลูกสร้างล่วงล้ำลำน้ำ หลังจากออกใบอนุญาตของเจ้าท่าฯแล้วคณะกรรมการกลั่นกรองสิ่งล่วงล้ำลำน้ำจังหวัดต้องไปขออนุญาตจากประมง แต่ประเด็นที่น่าจะพิจารณาและตั้งข้อสังเกตคือ เรื่องโพงพางหรือเครื่องมือการประมงที่บริเวณดังกล่าว พอยกเลิกเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ เท่ากับต้องมาพิจารณาตามกฎหมายประมงว่า จะอนุญาตอาชญาบัตรเครื่องมือ
ทำการประมงเหล่านี้ได้หรือไม่ อย่างไร ก็ต้องไปดูหลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการที่กรมประมงกำหนดส่วนเจ้าท่าฯ ถ้าไม่กีดขวางร่องน้ำ ไม่เปลี่ยนแปลง หรือกระทบต่อการเดินเรือหรือภัยอันตรายก็มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ตามที่เข้าคณะกรรมการฯจังหวัดอยู่แล้วที่สำคัญเรื่องนี้กรมเจ้าท่า เคยมอบอำนาจให้ผู้ว่าฯ ถ้าเป็นกรณีกระชังเลี้ยงสัตว์น้ำ ก็พิจารณาคราวเดียวกันกับประมงกับผู้ว่าฯอยู่แล้ว
“กรณีนี้หัวใจคือ ห้ามกีดขวาง ไม่ให้มีการขยายหรือทำเครื่องมือประมงเพิ่มเติมอยู่แล้ว เพราะว่าท่านผู้ว่าฯให้ความสำคัญกับเรื่องเหล่านี้”เพราะเราจะพัฒนาทางน้ำ เพื่อส่งเสริมเรื่องการเดินเรือ การขนส่งสินค้า การท่องเที่ยว แต่อีกมุมเรามาส่งเสริมแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ เรื่องเครื่องมือทำการประมง มันก็ขัดหรือแย้งกันโดยสิ้นเชิง
ฉะนั้น ภาครัฐก็ต้องไปประชุมเพื่อขีดเส้น หรือกำหนดพื้นที่ ซึ่งการยกเลิกเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำปากอ่าวสงขลาบริเวณท่าเรือน้ำลึกสงขลาจะมีหกระทบเชิงบวกคือ มองไปที่การขับเคลื่อนขีดความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศ เพราะท่าเรือ
น้ำลึกสงขลา หลังจากที่มติครม.ให้กรมเจ้าท่าพิจารณาภายใต้งบประมาณ 3,000 ล้านบาท 25 ปี ขุดลอกร่องน้ำประกันความลึกไม่ต่ำกว่า 9 เมตร และ ได้รับอนุญาตในการปรับปรุงติดตั้งเครนหน้าท่า เพื่อยกตู้คอนเทนเนอร์จากเรือขึ้นสู่ลานท่าเรือ ก็จะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศ คือสามารถพัฒนาร่องน้ำได้ 9 เมตร ก็สามารถนำเรือที่กินน้ำลึก 1-2 เมตรเข้ามา ทำให้มีปริมาณตู้สินค้าเพิ่มขึ้นถึง 100,000 ตู้ต่อปี ทำรายได้เข้ารัฐเพิ่มอีก 10,000 ล้านบาท เนื่องจากจะมีตู้คอนเทนเนอร์ผ่านท่าเรือน้ำลึกสงขลาเพิ่มขึ้น“นอกจากรองรับการขนส่งสินค้าแล้ว สามารถรองรับเรือท่องเที่ยวขนาดใหญ่ หรือเรือซุปเปอร์ยอร์ชได้ในอนาคต เพราะอยู่ในระดับความลึกร่องน้ำ 9 เมตร” นายหิรัญวัตติ กล่าว