“ผู้ว่าฯเจษฎา” ประชุม 3 บอร์ดกีฬา ครั้งที่ 1/2566 รับฟังเสนอแนะเพื่อบูรณาการ เตรียมพร้อมการเป็นเจ้าภาพซีเกมส์ ครั้งที่ 33 พ.ศ. 2568 เผยคณะมนตรีซีเกมส์ให้จังหวัดสงขลาเป็นเจ้าภาพจัดแข่งขัน ฟุตบอล เซปักตะกร้อ และปันจักสีลัต
26 กรกฎาคม 2566 ณ ห้องประชุม Conference hall ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา นายเจษฎา จิตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกีฬาจังหวัดสงขลา, คณะกรรมการกีฬาอำเภอ และคณะทำงานเตรียมความพร้อมการเป็นเจ้าภาพซีเกมส์ครั้งที่ 33 ครั้งที่ 1/2566 ประจำปีงบประมาณ 2566 พร้อมด้วย นายกองเอกพุทธ กฤชคงพันธุ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา นายไพเจน มากสุวรรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา, นายประสงค์ บริรักษ์ นายกสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดสงขลา ร่วมด้วยนายอำเภอทั้ง 16 อำเภอ รวมถึงภาครัฐและภาคเอกชน เข้าร่วมกว่า 100 คน
นายเจษฎา จิตรัตน์ กล่าวว่า เป็นการประชุมครั้งแรกของคณะกรรมการกีฬาจังหวัดสงขลาหรือที่เรียกว่า “บอร์ด” จังหวัดสงขลา ร่วมกับคณะกรรมการกีฬาอำเภอหรือบอร์ดอำเภอ และที่สำคัญคือ คณะทำงานเตรียมความพร้อมการเป็นเจ้าภาพซีเกมส์ ครั้งที่ 33 ซึ่งเป็นคณะฯล่าสุด ที่ได้รับการแต่งตั้ง “วันนี้ที่ต้องรบกวนเวลาของทุกท่าน ก็เพราะว่าอยากให้ทั้ง 3 คณะฯนี้ ได้มีโอกาสมาเจอกัน” การที่จังหวัดสงขลาได้รับมอบหมายภารกิจจากรัฐบาลในการเป็นเจ้าภาพกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 33 ในปีพ.ศ.2568 ร่วมกับกรุงเทพมหานคร และจังหวัดชลบุรีนั้น ถ้าคิดเวลาแล้ว ก็เหลือไม่มากในการเตรียม
การเพื่อให้เกิดความเรียบร้อย และสมบูรณ์แบบ สมฐานะของประเทศไทยในการรับเป็นเจ้าภาพ ที่เชิญท่านมานอกจากต้องการให้ท่านได้รับทราบแนวทางแล้ว ก็อยากจะฟังความคิดเห็นของท่านทั้งหลาย ซึ่งความคิดเห็นของทุกท่านในวันนี้จะเป็นส่วนหนึ่งในแนวทางที่เราจะเดินร่วมกันในการรับมือกับการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ในหลากหลายมิติ
“การประชุมในครั้งนี้อาจจะยังไม่ได้ข้อยุติ ทุกความคิดเห็นของทุกท่านมีประโยชน์ เราก็จะให้คณะทำงานฯย่อย ๆ อาจจะต้องนัดหารือกันสัก 2 เดือนต่อครั้ง ไปเรื่อย ๆ หรืออาจจะเร็วกว่านั้น”
เพื่อที่จะทำให้การเป็นเจ้าภาพซีเกมส์ในนามของจังหวัดสงขลาเกิดผลสำเร็จอย่างแท้จริง สิ่งที่สำคัญที่สุด ซึ่งได้คุยกับคณะกรรมการกีฬาจังหวัดสงขลา และคณะทำงานเตรียมความพร้อมการเป็นเจ้าภาพซีเกมส์ ครั้งที่ 33 มี 4 เรื่องที่เราจะต้อง
จัดระบบให้ได้ในการเป็นเจ้าภาพซีเกมส์ ซึ่งเป็นหลักของการบริหารทั่ว ๆ ไปคือ เรื่องงาน เรื่องงบประมาณ
เรื่องระบบบริหารจัดการ และเรื่องคน “สี่เรื่องนี้อยากฝากกับท่านทั้งหลายว่าทำอย่างไรให้เป็นทิศทางที่พวกเรารับไว้ ใครรับผิดชอบ เรื่องงาน งบประมาณ การบริหารจัดการ และคน” จะบูรณาการให้เกิดการปฏิบัติอย่างเป็นระบบ หรือเมื่อถึงวันจริง 5 ธันวาคม 2568 หรือก่อนที่จะถึงพิธีเปิด ทุกอย่างเป็นไปอย่างสมบูรณ์ เดินไปได้ทันทีโดยที่พวกเราจะต้องอาศัยการพูดคุยกันนับจากนี้ไป ซึ่ง 4 เรื่องนี้เป็นเรื่องหลักทั่วไปไม่ขอลงรายละเอียด
“วันนี้นอกจากวาระการประชุมที่ฝ่ายเลขาฯทำมาแล้ว ก็อยากจะฟังในเรื่องอื่น ๆ ที่คิดว่าเราจะบูรณาการกันได้เพื่อให้เกิดผลอย่างไร”
ฉะนั้น ในวันนี้ 2 เรื่องที่สำคัญคือ อยากให้ท่านทั้งหลายได้มาเจอกัน แล้วก็แลกเปลี่ยนพูดคุยในเรื่องงาน เรื่องงบ เรื่องระบบ เรื่องคน ซึ่งเป็นข้อเสนอที่จะนำ
ไปสู่การปฏิบัติการเป็นเจ้าภาพซีเกมส์ของพวกเรานางสาวอุไรวรรณ จันทร์ลาภ ผู้อำนวยการการกีฬาแห่งประเทศไทยจังหวัดสงขลา กล่าวถึง Action Plan 13 แผนงาน ของคณะกรรมการกีฬา จังหวัดสงขลากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ืทำต่อเนื่องกันมาตลอดปี 2566 ซึ่งประกอบด้วย
1. วันพุธ วันกีฬาสงขลา (Songkhla Sports day) สวมเสื้อสงขลาเมืองกีฬาออกกำลังกายพร้อมกัน 16 อำเภอ
2.จัดทำแผนพัฒนากีฬาจังหวัดสงขลา
3. ปฏิทินกีฬาประจำปีงบประมาณฯ,
4. เสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาระดับชาติและนานาชาติ
5.เชิดชูเกียรติคุณผู้ทำประโยชน์ด้านการกีฬาของจังหวัดสงขลา
6. เปิดศูนย์ฝึกกีฬาชนิดต่าง ๆ
7. 1 กีฬา 1 ผู้ประกอบการ
8. สร้างนักกีฬาเพื่อความเป็นเลิศปั้นดินให้เป็นดาว
9.จัดตั้งคณะกรรมการกีฬาอำเภอ
10. ตลาดกีฬา-ตลาดนัดสุขภาพ
11. หอเกียรติยศเชิดชูนักกีฬาและผู้ฝึกสอน
12. เสนอตัวเป็นเจ้าภาพซีเกมส์ครั้งที่ 33 พ.ศ.2568 และ
13. ประชาสัมพันธ์สงขลาเมืองกีฬา เพิ่มการรับรู้และการมีส่วนร่วมสำหรับ 3 บอร์ดเกิดขึ้นเมื่อปี 2562 หลังจากที่
จังหวัดสงขลา ได้รับการยกระดับเป็นเมืองกีฬา (Sport City) 26 กันยายน 2562 ฉะนั้น 13 แผนงานเกิด
จากความต้องการของบุคลากรทางการกีฬา จึงมีแผนที่จะเป็นเหมือนเข็มทิศหรือทิศทางในการเดิน
“วันนี้จะได้มาสอบถามว่าแผนที่มีทั้งหมดจะต้องขับเคลื่อนไปพร้อม ๆ กัน และจะได้มาลงรายละเอียดกิจกรรมต่าง ๆ “
โดย 13 แผนงานปัจจุบันเดินได้ประมาณ 20% เหลืออีก 80% ที่ต้องขับเคลื่อน และเป็นจังหวัดเดียว ที่มีคณะกรรมการกีฬาอำเภอ 16 อำเภอ โดยท่านผู้ว่าราชการจังหวัดได้แต่งตั้งให้นายอำเภอทุกอำเภอเป็นประธานฯ ประกอบด้วย ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ ส่วนราชการในพื้นที่เป็นคณะกรรมการร่วม
ซึ่งคณะมนตรีซีเกมส์ให้จังหวัดสงขลาเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ฟุตบอล เซปักตะกร้อ ปันจักสีลัต
“ขณะนี้กกท. อยู่ระหว่างการประกวดโลโก้สัญญลักษณ์การแข่งขันของซีเกมส์ และคณะมนตรีซีเกมส์จะประชุมชนิดกีฬาที่คาดว่าจะได้รับเพิ่มเติม”
ทั้งนี้ วาระการประชุม ครั้งนี้ ประกอบด้วย วาระ ที่ 1 ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ เรื่องคำสั่งแต่งตั้ง
คณะกรรมการกีฬาจังหวัดสงขลา และคำสั่งคณะกรรมการกีฬาอำเภอแต่ละอำเภอ, วาระที่ 2 รับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว (ไม่มี),วาระที่ 3 เรื่องแจ้งเพื่อทราบ แผนปฏิบัติการ Action Plan 13 แผนงาน ของคณะกรรมการกีฬาจังหวัดสงขลากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การแต่งตั้ง คณะทำงานเตรียมความพร้อมเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 33 พ.ศ.2568 (ค.ศ.2025) ชนิดกีฬาที่จัดการแข่งขันและสถานที่สนามแข่งขันฯ
ที่ตั้งสำนักงานเลขาธิการจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 33 ณ จังหวัดสงขลา, การขึ้นทะเบียนนักกีฬาสังกัดสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดสงขลา ตามระเบียบที่กกท. กำหนด ในการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ, กีฬาเยาวชนแห่งชาติ, และกีฬาอาวุโสแห่งชาติ(สมาคมกีฬาแห่งจังหวัดสงขลา)
การจำหน่ายเสื้อสงขลาเมืองกีฬา, วันกีฬาประจำสัปดาห์ (ทุกวันพุธ) สวมเสื้อกีฬา, กำหนดการแข่งขันโครงการเมืองกีฬา Sport City ประจำปี 2566 จำนวน 2 ชนิดกีฬา โดยกรีฑา 26-27 สิงหาคม 2566 ณ สนามกีฬาติณสูลานนท์ อ.เมืองสงขลา และจักรยาน 16-17 กันยายน 2566 ณ อำเภอสะเดา วาระที่ 4 เรื่องเพื่อพิจารณา การจัดทำปฏิทินกีฬาแต่ละอำเภอ เพื่อบูรณาการแนวทางการปฏิบัติ คณะกรรมการกีฬาจังหวัดสงขลา ได้กำหนดแบบฟอร์มแผนงานกิจกรรมด้านการกีฬาประจำแต่ละอำเภอ รวมถึงการประชาสัมพันธ์การแข่งขันซีเกมส์ ในฐานะเจ้าภาพจัดการแข่งขันแต่ละอำเภอ, ขอความร่วมมือจำหน่ายเสื้อสงขลาเมืองกีฬา, แนวทางในการจัดหางบประมาณ เจ้าภาพซีเกมส์ ครั้งที่ 33