“วชช.สงขลา” สร้างเทพาชุมชนต้นแบบ ยุค VUCA World ให้ทันความเปลี่ยนแปลง ด้วย กระบวนการ Design Thinking และ Hackathon ทั้งเตรียมสร้าง “นวัตกรชุมชน” เพื่อให้กินอิ่ม นอนอุ่น มุ่นคง
11 ก.ย. 66 วิทยาลัยชุมชนสงขลา จัด เวที
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้นำการเปลี่ยนแปลงยุค VUCA World อันเป็นกิจกรรมที่ 3 และมอบวุฒิบัตรแก่ผู้จบหลักสูตรอบรม ณ ห้องประชุมสร้อยสวรรค์ อาคารวิทยบริการวิทยาลัยชุมชนสงขลา อ.เทพา จ.สงขลา
โดยเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้นำการเปลี่ยนแปลงยุค VUCA World เป็นการดำเนินการถอดบทเรียนการสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ และการให้ความรู้เรื่องโดยใช้ ผู้นำเป็นฐาน (Leader Based Learning) อันเป็นเครื่องมือสำคัญสู่การออกแบบโครงการเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง รวมถึงบทบาทของผู้นำเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ สู่การสร้างอาชีพ รายได้ และความเข้มแข็งของชุมชน โดย ดร.ธัญรดี ทวีกาญจน์ รองคณบดี ฝ่ายพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) เป็นวิทยากรหลักในการบรรยาย
อ.วทัญญู หมัดชูโชติ ผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวว่า จุดมุ่งหมายของโครงการนี้เพื่อต้องการพัฒนาผู้นำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง โดยเริ่มมาตั้งแต่ปี 2565 โดยวชช.สงขลาได้จัดทำหลักสูตร มุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้ การสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงยุค VUCA World
ซึ่งในปีแรกเป็นการยกร่างหลักสูตร อนุมัติหลักสูตรโดยสภาวิทยาลัยฯ แล้วได้นำไปทดลองใช้กับกลุ่มผู้นำชุมชน นักศึกษา ประชาชน และกลุ่มวิชาชีพในชุมชน
“พอมาในปี 2566 ได้นำหลักสูตรมาทำการอบรมโดยความร่วมมือกับอำเภอเทพา ในการคัดสรร
ผู้นำที่พร้อมจะเข้าเรียนในหลักสูตร 30 ชั่วโมง ซึ่งผู้นำ
ที่เป็นจุดหมายของเราคือ ผู้นำท้องที่และผู้นำท้องถิ่น
รวมทั้งบัณฑิตอาสาของทั้ง 7 ตำบล ของอำเภอเทพา รวม 40 คน” อ.วทัญญู กล่าว และว่า
เนื้อหาของหลักสูตรเริ่มด้วย การถอดบทบาทของการผู้นำว่า ควรจะมีลักษณะอย่างไรบ้าง เป็นช่วง
ของการปรับ Mindset ต่อมาก็เป็นในส่วนขององค์ความรู้ยุค VUCA World นั่นคือ ยุคที่โลกมีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ซึ่งผู้นำเองต้องเท่าทัน และ
มีการวางแผนรับมือที่ฉับไวทันเหตุการณ์ และเรื่องที่สามคือ การติดเครื่องมือความรู้ในการจัดทำโครงการ การค้นหาปัญหาในชุมชนเพื่อจะแก้ไขด้วยการจัดทำโครงการ ได้ความรู้ในการเขียนโครงการ ฝึกการกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) แล้วลงทำจริงในชุมชน
เมื่อครบเวลา 30 ชั่วโมงของการอบรม แต่ละคน
ก็ไปทำเวิร์คชอป เรียนรู้งานที่เขาทำอยู่จริง ซึ่งเวทีของ
วันที่ 11 ก.ย. 66 คือการถอดบทเรียน และสะท้อนความคิดเห็นจากการเข้าอบรม รวมทั้งผลสะท้อนจากคณาจารย์ที่ทำการอบรม
“สิ่งที่เราได้รับจากโครงการนี้คือ การพัฒนาหลักสูตรให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นเพื่อนำไปใช้ สองคือ การเกิด
ผู้นำที่มีทักษะ มีความรู้ ในการทำงานกับชุมชน ซึ่งทั้งหมดนี้จะขยายต่อไปในเฟสที่ 3 คือปี 2567 นั่นคือ
การสร้าง “นวัตกรชุมชน” เพื่อให้เกิดมิติด้านเศรษฐกิจขึ้นมา โดยนำฐานความรู้ที่ได้จากปีนี้ไปทำโครงการจริงๆ ในชุมชน การจัด Hackathon (รูปแบบการทำงานร่วมกันของคนที่ต้องการจะเอาชนะปัญหาอะไรสักอย่าง แล้วพร้อมใจกันมามาลงแรงทำด้วยกัน ถ้าไม่สำเร็จก็จะไม่ยอมเลิกรา) พัฒนาความคิดสร้างสรรค์และสร้างนวัตกรรม โดยจะเป็นการประกวดการทำโครงการ แต่ละชุมชนส่งแฮกกาธอน เข้ามา เพื่อนำเงินรางวัลที่ได้ไปทำโครงการพัฒนาชุมชนต่อไป”
เป้าหมายทั้งหมดคือ การส่งผลต่อสังคม ให้ชุมชน “นอนอุ่น” คือ เกิดความผาสุกในชุมชน คนในชุมชนรู้สึกมีคุณค่าโดยผู้นำเป็นต้นแบบของความเข้มแข็งเสียสละ ให้ชุมชน “กินอิ่ม” คือ การสร้างรายได้ ส่งเสริมอาชีพในชุมชนจากฐานทรัพยากรที่มี และสุดท้ายคือ ให้พื้นที่ในชุมชนมีความ “มั่นคง”