ที่ประชุมแก้ไขปัญหาโครงการช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง มีมติจัดสรรโควตาขายกุ้งเกษตรกร 121 ราย ๆ ละ 3,057.85 กิโลกรัม เตรียมนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลิตผลทางการเกษตรระดับจังหวัด (คพจ.) ดำเนินการ
นางสาวฉัตร์สุดา ชุมแสง พาณิชย์จังหวัดสงขลา เปิดเผย “ผู้สื่อข่าว”ว่าวันที่ 6 ตุลาคม 2566 นายวรณัฎฐ์ หนูรอต รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานการประชุมแก้ไขปัญหาโครงการช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง ปี 2566
โดยมีการเชิญเกษตรกรเข้าร่วม ซึ่งตัวแทนเกษตรกรเสนอต่อที่ประชุมให้มีการดำเนินการจัดสรรโควตาในปริมาณเท่า ๆ กัน สำหรับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการที่จับกุ้งไปแล้ว 121 ราย
“เฉลี่ยปริมาณจากที่ได้รับการจัดสรรมาจำนวนทั้งสิ้น 370 ตัน ให้กับเกษตรกรที่จับกุ้งไปแล้ว 121 ราย จากจำนวนเกษตรกรที่สมัครเข้าร่วมจำนวน 146 ราย แต่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ 3 ราย สละสิทธิอีก 22 ราย”
ซึ่งเกษตรกรจำนวน 121 รายนั้น ต้องการให้ปริมาณที่ได้รับจัดสรรมา 370 ตัน เฉลี่ยให้ในปริมาณที่เท่า ๆ กัน จากเดิมที่จัดสรรในปริมาณเท่ากันรายละ 2,530 กิโลกรัม
แต่ต่อมาตรวจพบว่าจำนวน 3 ราย เป็นกุ้งกุลาดำไม่ใช่กุ้งขาว ซึ่งไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้ บวกกับเกษตรที่ได้รับการจัดสรรไปแล้วเขามีกุ้งไม่เพียงพอตามจำนวนที่ได้รับจัดสรร จึงเอาปริมาณดังกล่าวมาจัดเกลี่ยใหม่
ทำให้ได้เพิ่มอีกรายละ 240 กว่ากิโลกรัม รวมเป็นเกษตรกรที่ยังไม่ได้จับกุ้ง ต่อมามีเกษตรกรสละสิทธิอีก 20 ราย ทำให้ปริมาณกุ้งเหลือเยอะ
ทางคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลิตผลทางการเกษตรระดับจังหวัด (คพจ.) ก็ได้เกลี่ยให้กับเกษตรกรที่ยังไม่ได้จับกุ้ง ซึ่งตอนนั้นเหลือ 15 ราย ก็เกลี่ยได้เพิ่มอีก 3,000 กว่ากิโลกรัมต่อราย
เมื่อนำมารวมกับตอนแรกที่ได้รับการจัดสรรก็เท่ากับ 6.5 ตันต่อราย ทำให้เกษตรกรที่เขาได้รับการจัดสรรไปในครั้งที่ 1 จำนวน 2,530 กิโลกรัมต่อรายเขาไม่พอใจ เขาบอกว่าเขาไม่ได้รับจัดสรรเท่า ๆ กับคน
ซึ่งมติในที่ประชุมสรุปก็คือจะต้องเฉลี่ยปริมาณกุ้งให้กับเกษตรกรทั้งหมดจำนวน 121 ราย ในปริมาณเท่า ๆ กัน ซึ่งก็ต้องนำมามติที่ประชุมมาเข้าที่ประชุม คพจ. อีกครั้ง
“ต้องนำมติจากที่ประชุมเข้าที่ประชุม คพจ.ก่อนเพื่อดำเนินการต่อไป ซึ่งขณะนี้ทางกรมการค้าภายในได้มีการขยายเวลาการจับกุ้งไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566 ส่วนระยะเวลาการเบิกจ่ายขยายไปวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567”
ส่วนระยะเวลาโครงการขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 30 เมษายน 2567 เนื่องจากเห็นว่าเกษตรกรมที่ยังจับกุ้งไม่หมดทางกรมการค้าภายในก็เลยมีการขยายเวลาออกไปให้
สำหรับปริมาณที่เกษตรกรได้รับการจัดสรรประมาณ 3,057.85 กิโลกรัมต่อราย จากจำนวนเกษตรกร 121 ราย ซึ่งถือว่าได้ข้อยุติและจะนำเข้าการประชุม คพจ.เพื่อขอมติดำเนินการต่อไป
โดยโครงการช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง ปี 2566 จำนวน 11,433,000 บาท แบ่งเป็นวงเงินสนับสนุนค่าชดเชยราคากุ้งให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการในอัตรากิโลกรัมละไม่เกิน 20 บาท จำนวน 11,110,000 บาท
และค่าชดเชยให้กับผู้รวบรวมและกระจายก็คือแม่ค้าซึ่งมีจำนวน 3 รายกิโลกรัมละไม่เกิน 10 บาท อีกส่วนก็นำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของหน่วยงานตามที่จ่ายจริง
/////////////////////////////////
สำนักข่าวโฟกัส
สมชาย สามารถ/ขอบคุณภาพ ประชาสัมพันธ์จังหวัดสงขลา