Home » ข่าว » รมว.ยุติธรรมลงพื้นที่มอบเงินเยียวยา “ มูโนะ ” ครั้งที่ 2 ย้ำ!!

รมว.ยุติธรรมลงพื้นที่มอบเงินเยียวยา “ มูโนะ ” ครั้งที่ 2 ย้ำ!!

รมว.ยุติธรรมลงพื้นที่มอบเงินเยียวยา “มูโนะ” ครั้งที่ 2 ย้ำ!!ทำสำนวนตรงไปตรงมา-ยุติธรรม

14 ตุลาคม 2566 ที่โรงเรียนบ้านมูโนะ ตำบลมูโนะ อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดงานมอบเงินช่วยเหลือเยียวยา ภายใต้กิจกรรมคุ้มครองคน คุ้มครองสิทธิ : เพื่อสร้างวิถีชีวิตแห่งความเป็นธรรม ครั้งที่ 2 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 พื้นที่จังหวัดนราธิวาสโดยมีนายสิน จินตภากร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงยุติธรรม นางพงษ์สวาท นีละโยธิน ปลัดกระทรวงยุติธรรม นางสาวเอมอร เสียงใหญ่ ผู้ตรวจราชการกระทรวงยุติธรรม นายเกิดโชค เกษมวงศ์จิตร รองอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กระทรวงยุติธรรม นายกูเฮง ยาวอหะซัน เลขานุการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม นายปรีชา นวลน้อย รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมประชุมและมอบเงินเยียวยาในครั้งนี้

ทั้งนี้กระทรวงยุติธรรม โดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ได้มอบเงินช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้เสียหายในคดีอาญา ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส โดยเป็นคดีที่ประชาชนให้ความสนใจ กรณีโกดังพลุระเบิดในบริเวณบ้านมูโนะ จังหวัดนราธิวาส เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 11 ราย และผู้บาดเจ็บจำนวน 345 ราย รวมทั้งสิ้น 356 ราย รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 4,041,888 บาท ซึ่งในรายผู้เสียชีวิต ท่านนายกรัฐมนตรีได้ลงพื้นที่เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2566 มอบเงินให้ความช่วยเหลือแล้ว 9 ราย อยู่ระหว่าง ตรวจสอบข้อเท็จจริงอีก 2 ราย สำหรับในวันนี้ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมจะได้มอบเงินช่วยเหลือ เยียวยารายบาดเจ็บจำนวน 345 ราย รวมเป็นเงิน 2,241,888 บาท

สำหรับพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลย
ในคดีอาญา พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 ได้ให้ความช่วยเหลือเยียวยาบุคคล 2 กลุ่ม ได้แก่
1.ผู้เสียหายในคดีอาญาที่ได้รับบาดเจ็บ หรือเสียชีวิตเนื่องจากการกระทำความผิดอาญา ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดนั้นหรือที่เรียกว่า “เหยื่ออาชญากรรม
2.จำเลยในคดีอาญาที่ถูกพนักงานอัยการฟ้องต่อศาลว่าได้กระทำความผิดอาญา และถูกจำคุกในระหว่างพิจารณาคดี ต่อมาได้มีการถอนฟ้องหรือศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องว่าจำเลยไม่มีความผิดหรือที่เรียกว่า “แพะ”

ด้วยเหตุนี้กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ จึงได้ดำเนินการลงพื้นที่มอบเงินช่วยเหลือเยียวยา กรณี โกดังพลุระเบิดในบริเวณบ้านมูโนะ จังหวัดนราธิวาส ภายใต้กิจกรรม “คุ้มครองคน คุ้มครองสิทธิ : เพื่อสร้าง วิถีชีวิตแห่งความเป็นธรรม ครั้งที่ 2 ประจำปีงบประมาณ พศ. 2567 พื้นที่จังหวัดนราธิวาส” ขึ้น เพื่อเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ออกไปอย่างกว้างขวาง และให้ประชาชนได้ทราบถึงสิทธิตามกฎหมาย และยังเป็นการชี้แนะช่องทางการให้บริการภารกิจคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของกระทรวงยุติธรรม ผ่านสำนักงานยุติธรรมจังหวัด ทั่วประเทศ ซึ่งได้มีการกระจายอำนาจการพิจารณาให้ความช่วยเหลือไปทั้ง 76 จังหวัด ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้อย่าง สะดวก รวดเร็วและเป็นธรรม

ด้าน พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า วันนี้เกินทางมาช่วยเหลือเยียวยาตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายรวมถึงค่าใช้จ่ายของจำเลยในคดีอาญา ซึ่งเป็นกฎหมายที่เป็นมาตรฐานกลาง เป็นกฎหมายที่เกิดจากรัฐธรรมนูญ ดูแลผู้เสียหายที่ถือว่าเป็นเหยื่อจากการกระทำผิดอาญา ที่บัญญัติในประมวลกฎหมายอาญาบางประเภท


เช่นกฎหมายเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย ซึ่งโดยปกตินั้นถ้าเราจับตัวผู้กระทำผิดหรือจำเลยได้ เมื่อศาลตัดสินแล้วตัวจำเลยหรือผู้ต้องหาก็ จะต้องชดใช้ทางแพ่งกับความเสียหายอีกส่วนหนึ่ง แต่ กฎหมายนี้เป็นหลักประกันที่ไม่ได้ตัวผู้กระทำผิดมาหรือจะเป็นตัวจำเลยมีความยากจน ทางลัดก็จะมีการช่วยเหลือเยียวยาโดยทางลัดจะมีการกำหนดเพดานค่าเสียชีวิตจำนวน 200,000 บาท โดยวันนี้กรณีเหตุการณ์ที่มูโนะ ก็เป็นกรณีที่เกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย เป็นการกระทำที่เจ้าหน้าที่รัฐบกพร่องในการกวดขัน หรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทำให้มีผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บเป็นจำนวนมาก ซึ่งอย่างน้อยที่สุดนั้นก็อยากจะให้ประชาชนทั้งประเทศได้รับรู้ว่าการช่วยเหลือลักษณะนี้ยังมี เพราะหลายคน ก็ไม่คาดฝันว่าทางรัฐบาลจะมาเยียวยา ซึ่งตอนแรกนั้นบาดแผลไม่มี แต่มีอาการหูอือซึ่งอาการหูอื้อเป็นเดือนนั้นมองบาดแผลไม่เห็นแต่ก็ได้รับการเยียวยา ซึ่งเป็นสิ่งหนึ่งในการปกป้องประชาชน
ซึ่งทางเราก็จะพยายามให้ทางยุติธรรมจังหวัด เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงสิทธิเสรีภาพมากขึ้นในทางกฎหมาย

และในส่วนของทางคดีความนั้น ก็จะให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในพื้นที่เป็นคนทำคดี ซึ่งถ้าหากมองว่ายังไม่ได้รับความเป็นธรรม ในกระทรวงยุติธรรมเองก็ยังมีหน่วยงานที่มาสนับสนุนและตรวจสอบ โดยให้กรมสอบสวนเข้ามาดู ดูเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใหญ่ขนาดนี้ต้องมีผู้กระทำผิด และมีคนอยู่เบื้องหลังไหม ซึ่งเรื่องพลุเป็นวัตถุที่ กอ.รมน.รับรองว่ามีและขออนุญาตไม่ได้ ซึ่งต้องดูกันอีกระยะหนึ่งว่ามีการดำเนินคดีถึงขั้นไหนแล้ว ซึ่งถ้าเกิดว่าเจ้าหน้าที่รัฐปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบก็จะต้องส่งเรื่องให้ ปปช.รับผิดชอบ แต่อาจจะเร่งรัดให้ทาง ปปช. ดำเนินการให้เร็วเพราะความล่าช้าก็เป็นความยุติธรรม ซึ่งพี่น้องประชาชนหลายคนก็ไม่ได้มองแค่การเยียวยาให้ความช่วยเหลือ แต่ไม่อยากให้เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นอีก ซึ่งเป็นการที่ไม่ปล่อยให้ผู้กระทำผิดตัวจริงลอยนวลคือความยุติธรรมที่สำคัญ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *