Home » ข่าว » ดันเกษียณ65ปีรับสังคมสูงวัย“อ.นิยม”ขอพม.หนุนกิจกรรม335ชมรม

ดันเกษียณ65ปีรับสังคมสูงวัย“อ.นิยม”ขอพม.หนุนกิจกรรม335ชมรม

18 ปี สมาคมเครือข่ายสุขภาพผู้สูงอายุ จังหวัดสงขลา “อาจารย์นิยม” เผยสมาชิกกว่า 2 แสนคน
มุ่งพัฒนากลุ่มสุขภาพดีให้ไม่เป็นภาระองค์กรที่ต้องดูแล ขอ “พม.” หนุนกิจกรรม 335 ชมรม ดันรั
เปิดทางเลือกให้เกษียณ 65 ปี ชี้การดูแลผู้สูงอายุเป็นวิชาชีพที่มีรายได้ดี

18 ต.ค. 66 นายมาหะมะพีสกรี วาแม รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ประธานในพิธีเปิดงานวันครบรอบการก่อตั้ง สมาคมเครือข่ายสุขภาพผู้สูงอายุ จังหวัดสงขลา ครั้งที่ 18 ประจำปี 2566 ณ โรงแรม
กรีนเวิลด์พาเลซ อ.เมือง จ.สงขลา โดยมี นายนิยม ชูชื่น นายกสมาคมเครือข่ายสุขภาพผู้สูงอายุจังหวัดสงขลา นางวิไลวรรณ สุวรรณรักษา พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสงขลา พร้อมด้วยเครือข่ายสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ ในจังหวัดสงขลา เข้าร่วม


นายกสมาคมเครือข่ายสุขภาพผู้สูงอายุจังหวัดสงขลา ได้กล่าวรายงานว่า ประเทศไทยมีแนวโน้มผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หากไม่มีการเตรียมความพร้อมรับมือ อาจส่งผลกระทบทั้งด้านสุขภาพ เศรษฐกิจและสังคมได้ ด้วยเหตุว่าผู้สูงอายุมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ
กรมอนามัย จึงได้เร่งดำเนินการส่งเสริมสุขภาพ


ผู้สูงอายุ โดยเน้น 2 กลุ่มหลักคือ กลุ่มผู้สูงอายุสุขภาพดี โดยการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้
ผู้สูงอายุมีสุขภาพแข็งแรง และชะลอการเกิดโรคเรื้อรัง กลุ่มที่ 2 คือ ผู้สูงอายุที่เจ็บป่วย ให้สามารถรักษาตนเอง และบรรเทาอาการเจ็บป่วยให้ดีขึ้นได้


สมาคมเครือข่ายสุขภาพผู้สูงอายุ จังหวัดสงขลา ได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อให้เป็นองค์กรภาคเอกชนที่ช่วยหนุนเสริมภารกิจของภาครัฐในการส่งเสริม
สุขภาพผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้สูงอายุสุขภาพดีให้รู้จักการป้องกันโรค มีสุขภาพแข็งแรง ชะลอการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ


การดำเนินงานของสมาคม ฯ จะมีชมรมผู้สูงอายุในอำเภอต่างๆ ร่วมเป็นเครือข่าย จำนวน 335 ชมรม และมีสมาชิกแต่ละชมรม รวมกันประมาณ 50,000 คน โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

  1. ให้คำแนะนำแก่สมาชิกในการจัดตั้งและ
    พัฒนาองค์กรให้เกิดความมั่นคงและอำนวยประโยชน์แก่สมาชิก, 2. ให้การฝึกอบรมเพื่อเพิ่มพูนทักษะความรู้ ความสามารถแก่สมาชิกในการดูแลสุขภาพกาย สุขภาพจิต, 3. ส่งเสริม สนับสนุนด้านวิชาการและวิจัยเกี่ยวกับผู้สูงอายุ และ 4. ส่งเสริม สนับสนุนให้สมาชิกผู้สูงอายุออกกำลังกาย เล่นกีฬาเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ และจัดให้มีการแข่งขันกีฬาเชื่อมความสามัคคี เป็นแบบอย่างอันดีแก่เยาวชน
    “วันนี้เป็นการจัดกิจกรรมวันครบรอบการ
    ก่อตังสมาคมฯ ปีที่ 18 เพื่อเฉลิมฉลองความสำเร็จในการดำเนินกิจกรรมตามภารกิจในรอบปีและความรักสามัคคีของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุในจังหวัดสงขลา” อาจารย์นิยม ชูชื่น กล่าว และว่า
    ผู้สูงอายุมี 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง
    ติดเตียง ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญดูแล เป็นภารกิจของ
    รพ.สต.หรือการดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
    “เครือข่ายสุขภาพผู้สูงอายุฯ เป็นหน่วยงานภาคเอกชนที่ตั้งขึ้นเพื่อหนุนเสริมภารกิจของภาครัฐ เป็นการเรียนรู้และดูแลซึ่งกันและกัน จึงมุ่งเน้นใน
    กลุ่มที่สองคือ ผู้สูงอายุที่สุขภาพดี แต่เป็นกลุ่มเปราะบาง จึงจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ การออกกำลังกาย
    การกินอาหาร การดูแลสุขภาพ ป้องกันไม่ให้ไปสู่กลุ่ม
    ที่หนึ่ง”
    การจัดงานครั้งนี้ เป็นการย้อนรำลึกในการก่อตั้งและการทำงานของพวกเราที่ครบรอบ 18 ปี ซึ่งการดูแลคนทุกช่วงวัยเป็นหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ร่วมกับพมจ. เป็นภารกิจตามกฎหมาย บางกิจกรรมภาครัฐก็จัดทำโครงการเองหรือบางกิจกรรมก็สนับสนุนงบประมาณให้สมาคมฯ ชมรมฯ ทำ ยกตัวอย่างที่สมาคมฯรวมตัวเป็นมวลชนขนาดใหญ่ ทำกิจกรรมกีฬาสันทนาการ ผ่านกระบวนการของสมาคมฯและชมรมผู้สูงอายุ
    “ความจำกัดบางส่วนของภาครัฐในการดูแลผู้สูงอายุอาจเป็นเงื่อนไขของงบประมาณ ซึ่งภาครัฐ
    มักจะเป็นการทำงานบนฐานของงบประมาณที่มี ไม่ค่อยทำงานเชิงรุกที่ต้องเข้าไปหาประเด็นปัญหา สร้างเครือข่ายวิจัยแก้ปัญหาอย่างที่ควรจะเป็นนัก”
    อาจารย์นิยม เผยว่า ปัจจุบันจังหวัดสงขลามีผู้สูงอายุ 18 -19 เปอร์เซ็นต์ นั่นคือจำนวน 260,000 คน
    จากประชากรทั้งหมด 1,400,000 คน จากกราฟประชากรทั้งประเทศ พบว่าผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป มีจำนวนมากกว่าประชากรวัยเด็ก เนื่องจากมีสุขภาพและอายุที่ยืนมากขึ้น แต่ช่วงวัยทำงานในการสร้างฐานเศรษฐกิจถูกวางไว้แค่อายุ 60 ปี จึงมีข้อจำกัดในเชิงเศรษฐกิจ
    ดังนั้น รัฐควรส่งเสริมให้คนกลุ่มนี้ทำงานได้อีก 5 ปี นั่นคือควรปรับเปลี่ยนให้วัยเกษียณเป็นวัย 65 ไว้เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับผู้มีความประสงค์และมีความพร้อมซึ่งผ่านการประเมิณทั้งด้านร่างกายจิตใจแล้ว เพื่อจะเป็นผู้ผลิตไม่ใช่เพียงผู้บริโภคหรือต้องอาศัยการดูแลจากคนอื่น
    “ในภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้สูงอายุมีความน่าสนใจ ซึ่งหลายมหาวิทยาลัยที่มีการสอนเช่น สาขาวิชาที่ว่าด้วยเรื่องการดูแลผู้สูงอายุ หรือ Caregiver ซึ่งการทำงานดูแลผู้สูงอายุเป็นวิชาชีพที่มีรายได้ดี ถือเป็นธุรกิจที่มีแนวโน้มที่ดี”
    ขณะนี้สังคมไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แล้ว ผู้สูงอายุ 50-60 เปอร์เซนต์ ยังเป็นวัยที่ทำงานเป็นผู้ผลิตและเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจได้ ดังนั้น รัฐควรส่งเสริมคนกลุ่มนี้ให้มีโอกาสทำงาน
    ในภาคเอกชนเองได้มีการรวมกลุ่มผู้สูงอายุอย่างมีศักยภาพ ซึ่งภาครัฐควรเข้าไปหนุนเสริมให้กลุ่มต่างๆ เหล่านี้ได้เป็นองค์กรที่มีพลังในการดูแลและพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ซึ่งขณะนี้สมาคม ชมรมผู้สูงอายุทั่วประเทศ มีสมาชิกกว่า 12 ล้านคน จากประชากร 70 ล้านคน มีชมรมทุกจังหวัด ทุกหมู่บ้าน-ชุมชน แต่กลไกในการหนุนเสริมยังไม่เพียงพอ
    “เราอยากเรียกร้องไปยังกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.)ว่า หากต้องการทำโครงการให้มีผลงานที่จับต้องได้ชัดเจน การส่งเสริมชมรมผู้สูงอายุ เช่น ให้การสนับสนุน ชมรมละ 5,000-10,000 บาท ก็จะเป็นพลังในการพัฒนาประเทศได้อย่างมาก” อาจารย์นิยม กล่าว

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *