สภาฯผ่านกม.ประมง‘ม.69’ “ประมงพื้นบ้าน”ต้านถึงที่สุด

“ประมงพื้นบ้าน” เดินหน้ารณรงค์คัดค้านการแก้

กฎหมายประมง มาตรา 69 ก่อนเข้าที่ประชุมวุฒิสภา หลังผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร 25 ธ.ค. ด้วยผลโหวต เห็นด้วย 239 ไม่เห็นด้วย 28 งดออกเสียง 114 

“เรามารณรงค์คัดค้านกฎหมายประมง มาตรา 

69 กันที่หน้ารัฐสภา  เราเพิ่งได้รับการแจ้งว่าจะมีการ

พิจารณาเรื่องนี้วันที่ 23 ธ.ค. 67 จึงแทบไม่ทันตั้งตัว 

โดยรวมตัวกันได้จำนวนหนึ่งเพื่อมาเรียกร้องให้มีการยกเลิก” นายปิยะ เทศแย้ม นายกสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย  กล่าว และว่า

เราคัดค้านมาตรา 69 ในร่างพระราชบัญญัติแก้ไขพระราชกำหนด ซึ่งกำลังพิจารณาอยู่ในขณะนี้ 

ผมสงวนญัตติขอแก้ไขมาตรา 69 แต่ก็มีตัวแทนของเราเข้าไปแล้ว เท่าที่รับฟัง พรรคการเมืองได้นำเสนอเรื่องนี้เข้ามาซึ่งเมื่อพิจารณาผ่านมาตรานี้ เรายังมีเวลาไปจนถึงวันที่ 25 ม.ค. 68 ก่อนจะเข้าเข้าสู่การ

พิจารณาวาระ 3 ในขั้นวุฒิสภา 

นั่นคือมีเวลาอีก 30 วัน และหลังปีใหม่เครือข่าย

ประมงพื้นบ้านทั้งหมดก็จะรวมตัวกันขึ้นมาที่กรุงเทพฯ เพื่อรณรงค์คัดค้านเรื่องนี้ และเข้าพบพรรคการเมืองต่างๆ เข้าพบวุฒิสมาชิกเพื่ออธิบายว่าการที่จะเอาอวนมุ้งตาถี่ที่ควรจะใช้กันยุงไปจับสัตว์น้ำจะทำให้ท้องทะเลทั้งหมดมีจุดจบอย่างไร

“วันนี้เราเห็นแล้วว่าการเมืองไม่ใช้เหตุผลในการพิจารณา ซึ่งในขั้นกรรมาธิการพิจารณาก็เห็นชัดว่าไม่มีความถูกต้องเป็นธรรม นั่นคือใช้ตัวแทนจากประมงพาณิช 10 คน ประมงพื้นบ้าน 2 คน ผลการลง

คะแนนของสมาชิกสภาฯที่ออกมาจึงไม่ต่างจากที่เราคาดไว้”

หลังปีใหม่ เราจะรณรงค์อย่างเต็มที่ ไปทุกที่ทุกช่องทางที่ให้เราได้พูด ปกป้องอย่างเต็มที่สื่อสารสารธารณะให้สังคมเข้าใจ ว่าไม่ใช่แค่ประมงพื้นบ้านที่ได้รับผลกระทบ แต่มันเป็นกติกาของประเทศในการทำการประมงที่นำไปสู่ความยั่งยืนที่แท้จริง 

“สิ่งรัฐบาลทำเป็นความเลวร้ายสำหรับทรัพยากร ดังนั้น หลังจากนี้เครือข่ายเตรียมการต่อสู้ให้ถึงที่สุดอีกครั้งหลังปีใหม่” นายปิยะ กล่าว

ขณะที่ นายวิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี นายกสมาคมรักษ์ทะเลไทย กล่าวว่า มาตรา 69 กฎหมายประมง เปิดทางเครื่องมืออุตสาหกรรมประมงชนิดใหม่ อวนล้อม 3 มิลฯ มุ่งจับสัตว์ทะเลขนาดเล็กและ

สัตว์น้ำวัยอ่อน โดยเฉพาะโศกนาฏกรรมทางทะเล 

ทำปลาทูไทยล่มสลาย จนต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เป็นปริมาณ 90% ของการบริโภคคนไทยทั้งหมด ซึ่งมีปริมาณรวมประมาณ 3-4 แสนตัน หรือ 300-400 ล้านกิโลกรัม ต่อปี 

หากคำนวณมูลค่า ปลาทูในมูลค่าตลาด 80-100 บาทตอกิโลกรัม คิดเป็นเงิน 3 – 4 หมื่นล้านบาท 

เป็นตัวเลขความเสียหาย ขาดดุล หลุดรุ่ยทางเศรษฐกิจ ที่คนไทยต้องแบกรับ ในทุกๆ ปี 

“นี่แค่สัตว์น้ำเศรษฐกิจหลัก เพียงชนิดเดียว 

ในจำนวนสัตว์น้ำเศรษฐกิจกว่า 700 ชนิดในทะเลไทย” นายวิโชคศักดิ์ กล่าว และว่า

สัตว์น้ำเศรษฐกิจทะเลไทยในชนิดอื่น ที่มีมูลค่าสูงกว่าปลาทู เช่น ปลาอินทรี 200 บาทต่อกิโลกรัม ปูม้า 300 บาทต่อกิโลกรัม  กุ้งแชบ๊วย 400 บาทต่อกิโลกรัม ฯลฯ เหล่านี้ ล้วนอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูง,

ที่จะถูกเครื่องจักรล้างผลาญชนิดใหม่นี้ ทำลายได้ในทันที 

“ผมคำนวณและเชื่อว่า เราคนไทยสูญเสียเม็ดเงิน เพราะการบริหารทรัพยากรทรงคุณค่า แบบปู้ยี่ปู้ยำเช่นนี้ ไม่ต่ำกว่าปีละหนึ่งแสนล้านบาทซ้ำๆ ทุก ๆ ปี” 

โดยวันที่ 25 ธ.ค. 67 สภาผู้แทนราษฎร ได้

กำหนดพิจารณาแก้ไข มาตรา 69 แห่งพระราชกำหนดการประมง จากเดิมที่ประเทศไทยได้คุ้มครองเศรษฐกิจทางทะเล ห้ามมิให้ทำการประมงด้วยอวนล้อมจับด้วยอวนที่มีขนาดสองจุดห้าเซนติเมตรในเวลากลางคืน แล้วเปิดให้เครื่องมือชนิดนี้ สามารถทำได้ในเวลากลางคืน โดยนับที่ 12 ไมล์ทะเลออกไป 

ซึ่งบริเวณ 12 ไมล์ทะเลที่ว่านี้ คือเส้นทางอพยพขึ้นเหนือของฝูงลูกปลาวัยอ่อน พอดิบพอดี 

ที่น่าสังเกตคือ ในการพิจารณาขั้นกรรมาธิการวิสามัญนั้น มีการกล่าวอ้างว่า กลุ่มอุตสาหกรรมนี้ 

ถูกเผด็จการรังแก บังคับให้เลิกเมื่อปี 2558  ทั้งที่ ใน

ความเป็นจริงเครื่องมือชนิดนี้ ถูกห้ามมิให้ใช้ในทะเล

ประเทศไทย มาดั้งแต่ 50 ปีก่อน ซึ่งเป็นยุคเริ่มต้นอุตสาหกรรมประมงใหม่ ๆ 

เมื่อพิจารณาข้อมูลปัจจุบัน เอาแค่ที่มีอุตสาหกรรม อวนช้อน อวนครอบ อวนยก ที่ใช้อวน

ขนาด 3 มิลลิเมตร (ในศัพท์เทคนิคการประมง จะวัด

สองด้านของตาข่ายสี่เหลี่ยมรวมกัน จึงจะเรียกว่าอวนขนาด 6 มิลลิเมตร) พบว่า แค่วงรัศมีของ อวนช้อน ยก ครอบซึ่งจะบังคับด้วยขนาดความยาวเรือโดยอัตโนมัติ เช่น เรือยาว 20-50 เมตร รัศมีอวนก็จะไม่เกิน 20-50 เมตร ผลจับสัตว์น้ำขนาดเล็ก กลุ่มกะตัก( ขนาด 3-5 ซม.) ถูกกวาดจับได้สูงสุด ของชนิดพันธ์สัตว์น้ำประเทศไทย ทำให้ปลาทูไทยและสัตว์น้ำ

เศรษฐกิจสูญหายจำนวนมาก คนไทยต้องแบกรับต้นทุน ทางอ้อม ผ่านมูลค่าสัตว์น้ำที่เพิ่มขึ้น 

นายวิโชคศักดิ์ กล่าวต่อว่า เมื่อสถาผู้แทนฯ

หลงเชื่อกลุ่มทุนอุตสาหกรรมประมง หลอกหลอนว่า โดนเผด็จการรังแก จนมีมติ ให้ทำอวนล้อมจับด้วย

อวนตาเท่ามุ้ง ในเวลากลางคืน เป็นเครื่องมือใหม่ 

ได้เป็นครั้งแรกเช่นนี้ ต้องตั้งคำถามถึงพรรคร่วมรัฐบาล พรรคเพื่อไทย และพรรคฝ่ายค้าน ที่นำโดย 

พรรคประชาชนว่า ได้ตระหนักถึงสิ่งเหล่านี้มากน้อยเพียงใด ได้เล็งเห็นถึงผลกระทบชาวประมงพื้นบ้านคนเล็กคนน้อยและผลประโยชน์ของคนไทยส่วนรวม อย่างแท้จริงหรือไม่? 

“หลังจากนี้ ประมาณ 30 วัน ก่อนการพิจารณาของสว.เราจะรณรงค์เพื่อให้ประชาชนรับทราบและเข้าใจว่าปัญหานี้ไม่ใช่แค่การทำประมง แต่เป็นปัญหาทั้งด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชนทุกคน ทั้งที่เป็นชาวประมงและในฐานะที่เป็นผู้บริโภคด้วยเช่นกัน” นายวิโชคศักดิ์ กล่าว

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *