ศึกษา‘สะพานเปิดปิด’ข้ามเลสาบ! “เจือ”ไม่กังวลมติครม.ห้ามก่อสร้าง

IMG 9853

นับหนึ่ง “สะพานเปิดปิด” ข้ามทะเลสาบสงขลา” ฝั่งหัวเขาแดง อ.สิงหนคร กับอ.เมืองสงขลา กรมทางหลวงชนบทตั้งงบ 9 ล้าน ศึกษา คาดใช้งบ 450 ล้านบาท คุ้มค่าการลงทุนและส่งผลกระทบน้อยที่สุด “เจือ” ไม่กังวลข้อห้าม มติครม.ปี 32 

25 ธันวาคม 2567 เวลา 13.00 น. ที่ โรงแรมลากูน่า แกรนด์ แอนด์ สปา สงขลา อ.เมือง จ,สงขลา นายโชตินรินทร์ เกิดสม ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานประชุมคณะทำงานศึกษาความเหมาะสม

เบื้องต้นเพื่อรายงานผลการดำเนินงาน โครงการก่อสร้างสะพานข้ามทะเลสาบสงขลา หรืออุโมงค์ลอดทะเลสาบ ณบริเวณท่าแพขนานยนต์สงขลา เพื่อเชื่อมต่ออำเภอเมืองสงขลากับอำเภอสิงหนคร 

ของจังหวัดสงขลา มีเป้าหมายเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่ต้องเดินทางระหว่างอำเภอเมืองสงขลาและอำเภอสิงหนคร ให้มีความสะดวกสบายและรวดเร็วยิ่งขึ้น 

มี นายเจือ ราชสีห์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน, นายวีรเดช ชีวาพัฒนานุวงศ์ วิศวกรใหญ่ที่ปรึกษาวิชาชีพเฉพาะด้านวิศวกรรมโยธา (ด้านสำรวจและออกแบบ), สำนักงานเจ้าท่าจังหวัดสงขลา, สำนักงานสิ่งแวดล้อมฯ และตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมในที่ประชุม นายวีรเดช ชีวาพัฒนานุวงศ์ ได้

รายงานให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาได้รับทราบความคืบหน้าและการดำเนินงานผลการสำรวจพื้นที่และการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ โดยคณะทำงานได้พิจารณาถึงความเหมาะสมในการสร้างสะพานข้ามทะเลสาบในด้านต่าง ๆ เช่น ปริมาณจราจรที่หนาแน่นและความจำเป็นในการเชื่อมโยงการเดินทางระหว่างสองพื้นที่ รวมถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนใกล้เคียง

ที่ประชุมได้พิจารณาข้อกังวลเกี่ยวกับการขออนุญาตยกเว้นจากมติคณะรัฐมนตรี ปี 2532 เกี่ยวกับ

สิ่งแวดล้อมบางข้อที่อาจจะเป็นอุปสรรคต่อการก่อสร้างสะพาน โดยคณะกรรมการจะศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อหาทางออกที่เหมาะสมและสอดคล้องกับนโยบายของรัฐ ซึ่งคาดว่าอาจจะต้องยื่นคำร้องขอการยกเว้นจากระเบียบหรือข้อบังคับบางประการที่อาจจะเป็นอุปสรรค

ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ได้เสนอให้พิจารณาการสร้างสะพานในรูปแบบ “สะพานเปิดปิด” ซึ่งจะรองรับการข้ามผ่านของเรือและยังสามารถแก้ไขปัญหาการจราจรที่ติดขัดในพื้นที่ได้สะดวก โดยสะพานประเภทนี้ได้ถูกใช้งานในหลายประเทศและตอบโจทย์การจราจรในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ซึ่ง นายวีรเดช กล่าวต่อที่ประชุมว่า จากการประชุมครั้งที่แล้วประมาณ 1 เดือนเศษ พบว่าโครงการก่อสร้างสะพานข้ามทะเลสาบสงขลาหรืออุโมงค์ลอดทะเลสาบมีคำถามเรื่องความคุ้มค่าการลงทุน โดยเฉพาะอุโมงค์ฯ หากลงทุนวันนี้ จะต้องใช้งบประมาณสูงถึง 6 พันล้านบาท รวมถึงผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม เรื่องตะกอนทรายที่จะเกิดขึ้น และการไหลเวียนของน้ำบริเวณตอม่อของสะพาน 

จึงขอนำเสนอแนวคิดการก่อสร้างสะพานเปิดปิดเหมือนกับที่กรุงเทพฯ เป็นกรณีศึกษา ซึ่งมีความเป็นไปได้มากที่สุดหากจะมีก่อสร้างบริเวณท่าแพขนานยนต์สงขลา เพื่อเชื่อมต่ออำเภอเมืองสงขลากับอำเภอสิงหนคร โดยกรมทางหลวงชนบทเทียบเคียงกับโครงการสะพานข้ามน้ำลำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์ และกำลังก่อสร้างสะพานลำปาว 2 

โดยใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 400 กว่าล้านบาท ระยะทาง 2 กิโลเมตรกว่า แต่ของสงขลาระยะทาง 491 เมตร ใช้งบประมาณก่อสร้างประมาณ 450 ล้านบาท ซึ่งจุดก่อสร้าง คือบริเวณท่าแพขนานยนต์

“การก่อสร้างสะพานเปิดปิดข้ามทะเลสาบบริเวณท่าแพขนานยนต์ จะเกิดตะกอนน้อยที่สุด จึงเหมาะสมและคุ้มค่าที่สุด” นายวีรเดช กล่าว และว่า

 ได้นำเรียนกับผู้บริหารขอให้มีการตั้งงบประมาณปี 2569 จำนวนเงิน 9 ล้านบาท เพื่อทำการศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้น พร้อมศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น ความคุ้มทุน โดยจะใช้เวลาในการศึกษา 1 ปี  และคาดว่าจะได้ก่อสร้างในปี 2572 

ขณะที่ นายเจือ กล่าวถึงความสำคัญของโครงการนี้ว่า สะพานข้ามทะเลสาบจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเดินทางและเชื่อมโยงการค้าขายระหว่างอ.สิงหนครและเทศบาลนครสงขลา รวมทั้งยังเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดสงขลาอย่างยั่งยืน 

โดยการเชื่อมต่อของสองพื้นที่นี้ จะทำให้การเดินทางและการขนส่งสินค้ารวดเร็วและสะดวกขึ้น 

ส่งผลให้เศรษฐกิจของทั้งสองพื้นที่มีการเติบโตที่ดีขึ้น ทั้งยังสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาสัมผัสความสวยงามของทะเลสาบและวิถีชีวิตท้องถิ่นได้มากขึ้น “ขณะนี้ กรมทางหลวงชนบทได้ตั้งงบประมาณ 9 ล้านบาท เพื่อศึกษาผลกระทบ ซึ่งถือว่าเป็นการเริ่มนับหนึ่งของโคางการ” นายเจือ กล่าว และว่า 

ข้อกังวลของ ผอ.เจ้าท่า ที่แจ้งทีประชุมว่า บริเวณดังกล่าวมีมติคณะรัฐมนตรี ปี 2532 ห้ามก่อสร้างโครงการ หรือสิ่งปลูกสร้างใดๆ ตั้งแต่ท่าเทียบเรือข้ามฝากถึงแหลมสนนั้น ผอ. สผ.สงขลา ได้แจ้งว่าผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา จะเป็นประธานคณะอนุกรรมการพิจารณาอนุรักษ์ฯ และจะส่งต่อคณะกรรมการชุดใหญ่ที่กระทรวงทรัพยากรฯ จากการนำเสนอโครงการมา คณะกรรมการชุดใหญ่จะอนุมัติตามมติชุดจังหวัดสงขลา เพื่อข้อยกเว้นตามมติคณะรัฐมนตรีปี 2532 ได้ 

“เป็นเรื่องปกติ ซึ่งบางเรื่องเวลาจะทำอะไร ก็ต้องทำตามมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งขั้นตอนต่อไป ทางจังหวัดจะประชุมร่วมกับคณะกรรมการฯเพื่อเสนอคณะรัฐมมตรี ขอยกเว้นบางข้อตามมติคณะรัฐมนตรีต่อไป ผมไม่เป็นกังวลและเชื่อว่าหากทำเพื่อประชาชน ทุกหน่วยงานยินดีที่จะให้ความร่วมมือ“ 

นายเจือ ยืนยันว่า จะผลักดันโครงการนี้อย่างเต็มที่ โดยจะนำความเห็นและข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชนในพื้นที่ รวมถึงการตรวจสอบทุกมิติทั้งด้านเทคนิคและการศึกษาผล

กระทบ(EIA) ที่จะเกิดขึ้นเพื่อให้โครงการนี้เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

“คาดว่าโครงการนี้จะเสร็จสมบูรณ์และเปิดใช้งานได้ภายในปี 2572 หากทุกอย่างเป็นไปตามแผนที่วางไว้” นายเจือกล่าว

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *