แบ่งปันความรู้และความสุขสู่ชุมชน!“ดร.วรรณ์”​ศิษย์เก่าดีเด่นคณะวิทย์ม.อ.

เฟรมข่าวไอเน็ท เว็บ เปลี่ยน 98

คอลัมน์ PSU Alumni Talk โดยสมาคมศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ฉบับนี้ คุยกับ “ดร.วรรณ” ดร.อภิวรรณ์ ดำแสงสวัสดิ์ ศิษย์เก่าดีเด่น ม.อ. ผู้สร้างคุณประโยชน์ต่อสังคมและสถาบัน จากคณะวิทยาศาสตร์ ม.อ.
“พี่มีความสุขกับการได้ให้ความรู้ เห็นชุมชนมีการพัฒนาต่อยอดผลผลิตตนเอง ทุกคนมีโอกาสใหม่ มีรายได้เพิ่มขึ้น วันนี้สิ่งที่ลงมือทำได้เห็นผล ก็ชื่นใจ” ดร.อภิวรรณ์ เผยแนวคิดการทำงานในปัจจุบันกับการสร้าง “วิสาหกิจชุมชน ศูนย์สมุนไพรบ้านนก @ไร่ฐิภูตา” ต.วัดสน อ.ระโนด จ.สงขลา “

วรรณ


เดิมเป็นคนอำเภอทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช เรียนจบ มศ.5 (รุ่นสุดท้าย) ที่โรงเรียสตรีทุ่งสง สอบเอ็นตรงเข้าเรียน ม.อ.) รหัสนักศึกษา 26 หรือ Scince 15
“ตั้งใจจะเรียนวิศวกรรมศาสตร์ เป็นลำดับที่หนึ่ง เพราะชอบ ด้วยคนในครอบครัว เห็นคุณพ่อเป็นสารพัดช่าง พี่ชายเป็นวิศวกรไฟฟ้า แต่ตนสอบวิศวะไม่ได้ มาติดวิทยาศาสตร์ ลำดับที่สอง จึงเลือกเรียนสาขาฟิสิกส์ เรียนไปได้สักพักมีความสนใจทางด้านคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์”
สมัยนั้น คอมพิวเตอร์เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น จึงอยากเรียนรู้ด้านคอมพิวเตอร์ให้เจาะลึกมากขึ้น ในขณะเรียนได้ฝึกงานที่ “สหวิริยา” ด้านคอมพิวเตอร์โดยตรง ช่วงปีที่ 4 ได้ทำงานเป็นโปรแกรมเมอร์ให้กับ บจ.วีดีโอแลป จนกระทั่งเรียนจบ ไปสอบเข้าทำงานที่ บมจ.ล็อกซเล่ย์ (ประเทศไทย) ซึ่งเปิดรับ 13 คน จากผู้สมัครกว่า 100 คน ก่อนเริ่มทำงานบริษัทได้อบรมบ่มเพาะความรู้ 6 เดือน หลังจากนั้น ทางอาจารย์ ดร.สรรเสริญ วิชสุวรรณ ผู้อำนวยการฝ่ายคอมพิวเตอร์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้แนะนำให้เข้าทำงานในวงการหลักทรัพย์

S 12853261 0


ซึ่งเป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง นำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้แทนระบบเคาะด้วยมือ จึงสมัครไปร่วมทำงานเป็นทีมบุกเบิกพัฒนาระบบ ในปี 2530 ช่วงนั้นโปรแกรมเมอร์ และคนที่เก่งด้านคอมพิวเตอร์มีน้อย พี่เป็นทั้งโปรแกรมเมอร์ และเป็นผู้วางระบบให้กับโบรกเกอร์อื่นๆ ด้วย ของ “โปรกเกอร์ เบอร์ 3” บมจ.หลักทรัพย์ แอ็ดคินซัน จนได้ขึ้นตำแหน่งเป็นผู้จัดการฝ่ายคอมพิวเตอร์ ในปี 2535 ตัดสินใจลาออก เพราะแต่งงานและครอบครัวอยู่ที่หาดใหญ่ แต่ผู้บริหารไม่ให้ลาออก แต่ยอมให้ ไปทำงานด้านการตลาด บุกเปิด 12 สาขาในภาคใต้ และนั่งบริหารงานที่สาขาหาดใหญ่ ของ“โปรกเกอร์ เบอร์ 3” บมจ.หลักทรัพย์ แอ็ดคินซัน
ปี 2547-2553 ได้ศึกษาปริญญาเอก 2 ใบ ทั้งด้านพฤติกรรมมนุษย์ และด้านการศึกษา หลังจากจบปริญญาเอก ได้ลาออกมาเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ มีความสุขกับการได้เจอนักศึกษา ควบคู่กับการทำธุรกิจด้านการศึกษา เปิดโรงเรียนติวเตอร์และธุรกิจด้านการศึกษาที่รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย

LINE ALBUM ทำจานกาบหมาก กาบกล้วย กาบไม้ไผ่ ๒๒๐๘๓๐


งานและธุรกิจกำลังไปได้ดี และมีความสุขกับการได้ส่งเสริมเยาวชนด้านการศึกษา ต้องตัดสินใจทิ้งงานที่รักอีกครั้ง ด้วยเหตุผลทางด้านสุขภาพ ในปี 2560 จึงเปลี่ยนแปลงชีวิตมาพลิกพื้นนาที่รกร้าง 12.5 ไร่ ที่ต.วัดสน อ.ระโนด จ.สงขลา เป็นโคกหนองนา ตามศาสตร์พระราชา ซึ่งปัจจุบันคือ “วิสาหกิจชุมชน ศูนย์สมุนไพรบ้านนก @ไร่ฐิภูตา”
“พี่มองว่าการเรียนวิทยาศาสตร์ เป็นศาสตร์พื้นฐานของทุกๆ ศาสตร์ เป็นจิกซอร์ที่สามารถเชื่อมต่อกันได้ โดยใช้หลักคิด ทำอะไรต้องรู้จริง มุ่งมั่นทำอย่างจริงจัง ที่สำคัญต้องใส่ใจคนรอบข้างด้วย”
ดร.วรรณ บอกว่า ทุกวันนี้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ปลูกผักอินทรีย์ริมรั้วท่ามกลางธรรมชาติบำบัด หันมาทำเกษตร ทำให้ทุกคนรอบข้างมีความสุข แบ่งปัน และส่งต่อความสุขให้กับคนรอบข้าง โดยการนำเทคโนโลยีมาใช้ให้การทำงานน้อยลงแต่ได้ผลผลิตสูงขึ้น ทั้งด้านเกษตร ด้านการแปรรูปโดยจะเน้น Zero Waste ,พลังงานสะอาด ปัจจุบันเป็น “ศูนย์เรียนรู้ แก่ชุมชน” นำความรู้มาเสริมสร้างอาชีพให้ชาวบ้านในพื้นที่

432696576 739421101703987 7622216213975394547 n 0


นอกจากนั้น ยังนำ Digital Transformation และนำเทคโนโลยีมาปรับเข้ากับชุมชน และนำมาใช้เพื่อวางแผน กำหนดเป้าหมาย ดำเนินการ ให้ชาวบ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมไปจนถึงให้ นักเรียน นักศึกษา มาเรียนรู้ เพื่อรู้จริง นำไปใช้ได้จริง
มีกิจกรรม 7 ฐานการเรียนรู้สำหรับเด็กทุกช่วงวัย เช่น เกษตรทฤษฎีใหม่ การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ให้มีอายุการเก็บมากขึ้น เช่น แป้งกล้วย ผงกล้วยดิบ ทำถ้วยจาน ชาม จากต้นกล้วย การนำเปลือกกล้วยมาช่วยด้านสกินแคร์ เน้นเรื่องสุขภาพจากผลผลิตจากในสวน การใช้พลังงานสะอาดมาช่วยทางการเกษตรและการแปรรูป และปรับปรุงพัฒนาพื้นที่เป็นจุดเช็คอินและแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดสงขลา มีเด็ก ๆ เยาวชน หรือประชาชนเข้ามาศึกษาดูงาน ทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
“อนาคตจะอยากพัฒนาพื้นที่ตรงนี้ให้เป็นตลาด ให้ชาวบ้านใกล้เคียงได้นำสินค้า หรือผลผลิตมาจำหน่าย โดยฐานลูกค้าหลักจากผู้มาเรียนรู้ และท่องเที่ยว”

12999 0


สำหรับการพัฒนาภาคใต้ ดร.วรรณ มองว่าคาบสมุทรสทิงพระเป็นพื้นที่ที่มีทรัพยากรธรรมชาติที่ดี ทั้งด้วยภูมิศาสตร์ที่เป็นเอกลักษณ์ เป็นแหล่งวัตถุดิบที่มีคุณค่า ที่ไม่เหมือนที่อื่นๆ จึงต้องนำสิ่งเหล่านี้ ของดีแต่ละพื้นที่มาเพิ่มมูลค่า หรือการแปรรูปให้เป็นผลิตภัณฑ์ อัตลักษณ์ของพื้นถิ่น เช่น ไข่ครอบ มะม่วงเบา ซึ่งเป็นของดีคาบสมุทรสทิงพระที่ได้รับรอง GI สามารถนำมาต่อยอดเพิ่มมูลค่าได้มากยิ่งขึ้น ภาครัฐควรเข้ามาส่งเสริมพัฒนาในเรื่องนั้น ๆ ได้เต็มที่ ทั้งด้านท่องเที่ยว ด้านศาสนา ด้านผลผลิตทางการเกษตร
“พื้นที่ชุมชนไหนมีความโดดเด่นด้านใด ต้องเข้าไปพัฒนาในจุดนั้น”
สำหรับบทบาท ม.อ.นั้น มีนักวิจัยอาจารย์ที่มีความรู้มากมาย หลากหลายสาขาวิชา รวมถึงมีอุทยานวิทยาศาสตร์ อยากให้ท่านลงไปในพื้นที่แต่ละจุด ลงไปหาชาวบ้าน ร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนแต่ละจุดให้ถูกทาง เช่น พัฒนานวัตกรรมทางการเกษตร หรือเครื่องมือในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *