ป.ตรีอาชีวฯโชว์ผลงานวิจัย! ค่าเทอม4หมื่น8รุ่นจบ221คน​

PTn5ng UPOq2VQt9w6eeZlx6ov

“สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3” เปิดเวทีแลกเปลี่ยน ประกวดผลงานวิจัยนวัตกรรม สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพงานวิจัยและนวัตกรรมของนักศึกษาปริญญาตรี

22 มีนาคม 2566 สถาบันการอาชีวศึกษา ภาคใต้ 3 จัดงานประชุมวิชาการและประกวดผลงานวิจัย นวัตกรรมเทคโนโลยีและสิ่งประดิษฐ์ ระดับสถาบัน ครั้งที่ 4 มี นายประเสริฐ แก้วเพ็ชร นายกสภาสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3 เป็นประธาน พร้อมด้วยภาคส่วนที่​เกี่ยวข้อง​เข้าร่วม ณ ห้องประชุมนพเก้า สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3 ในรูปแบบ On-Site และระบบออนไลน์

1 128

สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3 จัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี สายเทคโนโลยีหรือสายปฎิบัติการ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2557 มีผู้สำเร็จการศึกษาแล้ว 8 รุ่น โดยปีการศึกษา 2565 มีผู้สำเร็จ

การศึกษา 221 คน ซึ่งตามโครงสร้างของหลักสูตร ผู้สำเร็จการศึกษาต้องประมวลความรู้ที่เรียนในลักษณะโครงงานและนำไปเผยแพร่ในรูปแบบประชุมวิชาการและคัดเลือกผลงานไปประกวดในระดับชาติ เพื่อสอดคล้องตามโครงสร้างของหลักสูตร

2 110

การประชุมวิชาการครั้งนี้ มีผลงานนักศึกษาระดับปริญญาตรี นำเสนอในแต่ละกลุ่ม ดังนี้ กลุ่มเทคโนโลยีและนวัตกรรม ด้านอุตสาหกรรม 31 ชิ้น, กลุ่มเทคโนโลยีและนวัตกรรม ด้านบริหารธุรกิจ เทคโนโลยีสารสนเทศ และการศึกษาและสังคม 16 ชิ้น และกลุ่มเทคโนโลยีนวัตกรรม ด้านคหกรรม อาหาร เกษตรและประมง ศิลปกรรม 10 ชิ้น

โดยนำเสนอผลงานในเวทีระดับสถาบันทางวิชาการ การบรรยาย และนำเสนอภาคโปสเตอร์ เพื่อกระตุ้น และสร้างบรรยากาศการวิจัยและนวัตกรรมของนักศึกษาปริญญาตรี เพื่อเผยแพร่ผลงงานและนวัตกรรมของนักศึกษาให้แพร่หลายมากขึ้น

3 89

ทั้งเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนผลงานและข้อมูลวิจัย และนวัตกรรมระหว่างนักศึกษาในสถาบัน รวมถึงเพื่อให้เกิดการสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ในสถาบัน และเพื่อพัฒนาคุณภาพของงานวิจัยและนวัตกรรมของนักศึกษา ปริญญาตรี

นายประเสริฐ แก้วเพ็ชร กล่าวว่า รู้สึกยินดีและเป็นเกียรติที่มาเป็นประธานเปิดประชุมวิชาการและประกวดผลงานวิจัยนวัตกรรมเทคโนโลโลยีและสิ่งประดิษฐ์ ระดับสถาบัน ครั้งที่ 4 ขอชื่นชมและขอแสดงความยินดีต่อนักศึกษาปริญญาตรี

การประชุมวิชาการและประกวดผลงานวิจัยนวัตกรรมเทคโนโลยีและสิ่งประดิษฐ์ เป็นการพัฒนาผลงานจากรายวิชาไปสู่งานวิจัยที่สอดคล้องกับนโยบายหลักของรัฐบาลที่จะพัฒนาประเทศ (ไทยแลนด์ 4.0) โดยใช้นวัตกรรมขับเคลื่อน ตลอดจนเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนผลงานข้อมูลผลวิจัย/นวัตกรรมในสาขาต่าง ๆ

4 60

“หวังว่าการจัดประชุมวิชาการในครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์และแบบอย่างที่ดีในการพัฒนา ผลวิจัย/นวัตกรรมในศึกษารุ่นต่อไป”​ นายประเสริฐ กล่าว และว่าลักษณะเด่นของหลักสูตรปริญญาตรี สถาบันการอาชีวศึกษาฯ จัดรูปแบบระบบทวิภาคี ปริญญาตรี เรียน 2 ปี โดย 2 เทอมอยู่ในสถานศึกษา อีก 2 เทอม อยู่ในสถานประกอบการ

“เมื่อก่อน ด้วยค่านิยมทางสังคมว่าต้องจบปริญญาตรี คนที่จบสายอาชีพระดับปวส.จำนวนมากไปเรียนปริญญาตรีสายสังคมศาสตร์ ไม่ได้ต่อ ยอดในสาขาเดิม สถาบันฯจึงจัดหลักสูตรต่อเนื่องขึ้นมา ให้เขาได้เรียนไปด้วย และทำงานไปด้วย อีกทั้งคิดค่าหน่วยกิตต่ำมาก โดยเน้นให้ผู้ศึกษาต่อมีจุดเด่นทางด้านทักษะ และได้ทฤษฎีหรือมีหลักวิชาการด้วย” นายประเสริฐ กล่าว และว่า

5 34

ที่สำคัญคือ ค่าใช้จ่ายในการเรียนราคาถูก เฉลี่ยไม่เกินเทอมละ 10,000 บาท หรือตลอดหลักสูตร 40,000 บาท ผู้ศึกษาต่อส่วนใหญ่จะทำงานในสถานประกอบการที่มีความร่วมมือกับสถาบันอยู่แล้ว ปัจจุบันสถาบันฯ มีนักศึกษา 517 คน

ขณะเดียวกัน สถาบันฯ ยังเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนที่เป็นภาคีร่วมออกแบบรวมกันอาจารย์ประจำสาขาวิชานั้นได้ด้วย รวมถึงการประเมินผลร่วมกัน ซึ่งกรณีนี้ ผู้ประกอบการภาคเอกชนรายใดต้องการเข้าร่วมเป็นภาคีกับสถาบันฯ ก็สามารถมาติดต่อที่ได้

6 16

“ตั้งแต่เปิดดำเนินการมาได้รับการตอบรับที่ดี ทั้งจากผู้ศึกษาต่อและสถานประกอบการที่เป็นภาคี จากรุ่นแรกที่สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3 มีนักศึกษารุ่นแรก 50 คน และมีนักศึกษาเพิ่มขึ้่นอย่างต่อเนื่อง จนปัจจุบันมี 517 คน เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 จำนวน 284 คน และปีที่ 2 จำนวน 233 คน สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3 ประกอบด้วย 9 วิทยาลัยคือ วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ วิทยาลัย เทคนิคปัตตานี วิทยาลัยเทคนิคยะลา วิทยาลัยเทคนิคสตูล วิทยาลัยอาชีวศึกษาปัตตานี วิทยาลัยอาชีวศึกษายะลา วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา วิทยาลัยการอาชีพปัตตานี และวิทยาลัยเทคโนโลยีการเกษตรและประมงปัตตานี

เปิดสอนระดับปริญญาตรี 9 สาขาคือ วิทยาลัยเทคนิคปัตตานี เปิดสอนสาขาเทคโนโลยีไฟฟ้า เทคโนโลยียานยนต์ และเทคโนโลยีก่อสร้าง วิทยาลัยอาชีวศึกษาปัตตานี เปิดสอนสาขาเทคโนโลยีอาหารและโภชนาการ และเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยเทคโนโลยีการเกษตรและประมงปัตตานี เปิดสอนสาขาเทคโนโลยีแปรรูปสัตว์น้ำ วิทยาลัยเทคนิคยะลา เปิดสอนสาขาเทคโนโลยีไฟฟ้า กับเทคโนโลยียานยนต์ วิทยาลัยอาชีวศึกษายะลา เปิดสอนสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ เปิดสอนสาขาเทคโนโลยีไฟฟ้า เทคโนโลยีการผลิต เทคโนโลยีพลังงาน เทคโนโลยียานยนต์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา เปิดสอนสาขาการบัญชี และวิทยาลัยเทคนิคสตูล เปิดสอนสาขาการตลาด

7 11

นางสาวจีระภา เพ็ชรจำรัส นักศึกษาสถาบันการอาชีวภาคใต้ 3 วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา สาขาการบัญชี กล่าวว่า เหตุผลที่มาเลือกเรียนที่นี่เพราะเรียนเฉพาะวันเสาร์ อาทิตย์ เหมาะสำหรับคนที่ทำงานไปด้วย บวกกับค่าใช้จ่ายน้อย

“ผลงานวิจัยที่นำเสนอในวันนี้ การศึกษาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประชาชนในตำบลชุมพล อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง เป็นการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หลังจากให้ความรู้ ก็ให้ทำแบบสอบถาม จำนวน 30 ข้อ และนำผลที่ได้มาประเมินว่า ประชาชนมีความรู้ระดับไหน ผลประเมินที่ได้ 21.84 อยู่ในระดับดี”

ขณะที่ นางสาววรรณรดา เทพรักษ์ ซึ่งทำวิจัยร่วมกันกับ นางสาวจีระภา เพ็ชรจำรัส เผยว่า ผลงานวิจัยชิ้นนี้จะสามารถนำไปต่อยอดในอนาคตได้ บางคนยังมีความรู้อยู่ในระดับน้อย ทั้งกิจการร้านค้า ตนได้ทำงานสำนักงานบัญชี ก็มีคนเข้ามาปรึกษา กรณีที่สรรพากรเรียกไปพบ ก็ให้คำแนะนำในการจัดการระบบบัญชีที่ถูกต้อง

8 5

นายทัตพงศ์ จันทเลิศ นักศึกษาสาขาเทคโนโลยีการผลิต วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ เผยว่า ที่เลือกเรียนสถาบันอาชีวศึกษาภาคใต้ 3 ที่วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ว่า ป.ว.ช,และป.ว.ส เรียนที่นี่มาโดยตลอด ที่สำคัญคือรียนตรงสาย เพราะคิดว่าเป็นประโยชน์กับตัวเองมากที่สุด

สำหรับโครงงานวิจัยที่ทำชื่อ โครงการการสร้าง และหาสมรรถนะการทำงานของเครื่องพาวเวอร์ยูนิตเป็นเครื่องที่ส่งสินค้า ยกสินค้า ยกของหนักๆ โดยไม่ต้องใช้แรงคนนั้น สิ่งที่สามารถนำไปต่อยอดได้คือ นำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมหรือโรงงานอื่นๆได้ เครื่องนี้สามารถยกของหนักได้ถึง 100 ตัน

ทั้งนี้ ผลงานที่นักศึกษานำเสนอ ทั้งสิ้น 57 ชิ้น อาทิเช่น โครงการใช้เทคโนโลยีการแช่เยือกแข็งต่อคุณภาพผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นปลา, โครงการพัฒนาถังเติมน้ำมันเกียร์และเฟืองท้ายด้วย, โครงการพัฒนาเครื่องอัดฉีดล้างแอร์แบบพกพา, โครงการตู้อบบัสบาร์ทองแดง, โครงการสร้างและหาสมรรถนะการทำงานของเครื่องพาวเวอร์ยูนิต, โครงการปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อกาแฟสดของผู้บริโภคที่ใช้บริการร้านกาแฟ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา, โครงการเครื่องสูบน้ำอัตโนมัติ, โครงการการสร้างและหาประสิทธิภาพเครื่องร่อนบูลไส้เดือน, โครงการแอปพลิเคชั่นวิเคราะห์ความเที่ยงตรงของมิเตอร์ไฟฟ้าแบบจานหมุน, โครงการพัฒนาระบบเเจ้งซ่อมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *