ผู้ว่าฯสงขลา‘โชตินรินทร์ เกิดสม’ต้อนรับการประชุม SEAMEO SPAFA มรดกเมืองเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

1364

ถือเป็นเรื่องที่ยินดียิ่งของเมืองสงขลาในช่วงเวลาของการเดินทางมารับตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา นายโชตินรินทร์ เกิดสม ผู้ว่าราชการคนที่ 69 กับช่วงเวลาที่เรื่องราวของการนำสงขลาสู่เมืองมรดกโลก ที่ได้ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการยูเนสโก ได้ประกาศรับรองให้สงขลาได้อยู่ในบัญชีเบื้องต้นในการขอขึ้นทะเบียนเป็นเมืองมรดกโลกในการประชุมมรดกโลก ครั้งที่ 64 ที่กรุงนิว
เดลี ประเทศอินเดีย เมืี่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา ที่จังหวัดสงขลาและประเทศไทยได้ตั้งความคาดหวังว่า สงขลาจะได้รับการพิจารณาในการขอขึ้นทะเบียนให้เป็นเมืองมรดกโลกภายในปี 2571 หรือภายใน 4 ปีต่อจากนี้ไป ที่ทุกภาคส่วนของสงขลาต้องร่วมมือกันอย่างเต็มที่

และถือเป็นจุดเริ่มต้นในการเตรียมความพร้อมที่ถือเป็นโชคดีของสงขลา ที่ SEAMEO SPAFA หรือ ศูนย์ภูมิภาคว่าด้วยโบราณคดี และ วิจิตรศิลป์ ภายใต้องค์การรัฐมนตรีศึกษาธิการแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีสมาชิกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถึง 11 ประเทศ ที่มีสำนักงานเลขาฯ อยู่ในประเทศไทย โดยมี นายเขมชาติ เทพไชย อดีตรองอธิบดีกรมศิลปากร เป็นผู้อำนวยการสำนักงาน มี ดร.หัถยา สิริพัฒนากุล ที่เป็นหัวหน้าทีมวิชาการในการเขียนเอกสารในการขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกของสงขลา เป็นเลขาของสำนักงาน ที่ได้มาใช้สงขลาเป็นพื้นที่จัดประชุมที่ปรึกษาเกี่ยวกับมรดกเมืองเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยใช้ “อาคารเสวนาคาร บ้านเขียนเจริญ” สถานที่ที่ นายเฉลิมวุฒิ เจริญวิศาล ได้มอบให้เป็นที่ทำการที่จัดกิจกรรมนำสงขลาสู่มรดกโลกของมูลนิธิสงขลาสู่มรดกโลก เป็นสถานที่ในการจัดประชุม ระหว่างวันที่ 3-5 ธันวาคม 2567

โดย SEAMEO SPAFA ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญ และองค์กรพันธมิตรกว่า 10 องค์กรในหลายประเทศ อาทิ ICCROM : กรมศิลปากร(FAD)สำนักงานภูมิภาคที่ 11 (สงขลา):The Songkhla Towards World Heritage Foundation:DASTA:Urban Redevelopment Authority :สิงคโปร์: George Town World Heritage Incorporated (GTWHI) : IUCN ฯลฯ

ซึ่งมีเป้าหมายวัตถุประสงค์หลัก ในการประชุมและลงพื้นที่มรดกทางวัฒนธรรมในโครงการนำสงขลาสู่มรดกโลก เพื่อยกระดับการอนุรักษ์และการจัดการเมืองประวัติศาสตร์ในเอเชียตะวันออกเชียงใต้ ส่งเสริมมรดกเมืองในฐานะผู้ขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน รับมือกับความเสี่ยงในการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไปยังพื้นที่เมืองประวัติศาสตร์ เสริมสร้างการผังเมืองโดยการโดยการบูรณาการความรู้ภูมิปัญญาดั้งเดิมและหลักเศรษฐกิจสร้างสรรค์

ซึ่งได้เลือกเอาเมืองสงขลา ให้สงขลาได้ทำหน้าที่เป็นกรณีศึกษา ในการสำรวจ และความท้าทายและโอกาสในการอนุรักษ์เมือง ได้นำเสนอบริบทของโลกแห่งความจริงเพื่อระบุปัญหาที่เกิดขึ้นใหม่และแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด ให้เป็นฐานที่สำคัญในการนำสงขลาสู่มรดกโลก

การประชุมในครั้งนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ได้ร่วมมาดูแลต้อนรับและกล่าวขอบคุณทาง SEAMEO SPAFA และ ผู้จัดการประชุม และผู้ร่วมในการประชุมทุกท่านด้วยความขอบคุณยิ่ง

“ท่านพร้อมที่จะสนับสนุนโครงการนำสงขลาสู่เมืองมรดกโลกอย่างเต็มที่ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่สงขลาได้ตั้งใจ พร้อมที่จะร่วมกับทุกหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการเตรียมความพร้อมของสงขลาเพื่อรองรับการประเมินของยูเนสโก ที่จะได้มีการเตรียมงานกันต่อไป…”

คือกิจกรรมที่ถือเป็นความสำคัญแรกในการเตรียมความพร้อม ในการดูแลอนุรักษ์แหล่งโบราณในโครงการนำสงขลาสู่มรดกโลก หลังจากที่สงขลาได้รับการรับรองในการขึ้นทะเบียนเบื้องต้น(Tentative Lish) ที่มูลนิธิสงขลาสู่มรดกโลกต้องขอบคุณผู้ที่ให้การสนับสนุนทุกภาคส่วนที่ได้ร่วมมือกันให้สงขลาได้เดินหน้าในการขึ้นบัญชีเบื้องต้นได้สำเร็จ และขอบคุณเป็นพิเศษคือบริษัท ปตท. สผ.โดย บริษัท ปตท.สผ.เอนเนอร์ยี่ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด ที่ได้สนับสนุนงบประมาณในการนำสงขลาสู่มรดกโลก โดยผ่านทางจังหวัดสงขลา มายังมูนิธิสงขลาสู่มรดกโลก ที่ได้รับมอบหมายจากทางจังหวัดให้เป็นผู้ดำเนินการในโครงการสงขลาสู่มรดกโลก ที่คอลัมน์สงขลาสู่มรดกโลกของหนังสืพิมพ์สงขลาโฟกัสขอนำมาบันทึกไว้ให้ได้รับรู้สืบต่อกันต่อไป

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *