ตำนาน“ เซี่ยงตึ๊ง“
กว่า 70 ปี ของการถือกำเนิดมูลนิธมิตรภาพสามัคคี (ท่งเซียเซี่ยงตึ๊ง) “ไคเกีย แซ่เอี้ยว” (เอี้ยววงษ์เจริญ) ผู้บริจาคที่ดิน 1 ไร่ 3 งาน 65 ตารางวา คือจุดเริ่มต้น และประธานมูลนิธิฯ คนแรก

ย้อนไปในอดีต เมื่อปี พ.ศ.2494-2495 ราว 70 กว่าปีที่แล้ว อำเภอหาดใหญ่ มีความเจริญรุ่งเรืองอย่างมาก เศรษฐกิจการค้าเฟื่องฟู แหล่งการค้าหลักตั้งอยู่ถนนเพียง 3 สาย คือ ถนนนิพันธ์อุทิศ 1, 2, 3 หรือที่ชางหาดใหญ่เรียกติดปากกันว่า สาย 1, 2, 3 จนถึงปัจจุบัน
ประชากรส่วนใหญ่จะเป็นชาวจีนโพันทะเล มีทั้งแต้จิ๋ว ฮกเกี้ยน แคะกวางตุ้ง ไหหลำ ฯลฯ โดยเฉพาะ “แต้จิ๋ว” ที่มีจำนวนมาก ทั้งพ่อค้า ชาวสวนชาวไร่และผู้ใช้แรงงาน จึงได้มีการรวมตัวของชาวจีนแต้จิ๋วกลุ่มหนึ่งตั้ง “ชมรมดนตรีจีน” ขึ้นชื่อว่า “เตี่ยเซียอิมเหง่าเสีย” นำโดย นายบุญฮ่วน แซ่โซว่า
มีอยู่วันหนึ่ง เพื่อนของมายบุญฮ่วนได้ชวนนายบุญฮ่วน ไปกราบพ่อท่านยอด สุวณฺโณ วัดอ่าวบัว ต.เกาะใหญ่ อ.กระแสสินธ์ุ จ.สงขลา ซึ่งสมัยนั้นการเดินทางยังลำบากมาก ต้องนั่งเรือจากสงขลา 1 คืน จึงจะถึงวัด เมื่อถูกเพื่อนชักชวนอยู่หลายครั้ง ก็ตัดสินใจไปกราบพ่อท่านยอดด้วยกัน
ตลอดการเดินทางที่จะไปวัด (นั่งเรือจากสงขลา) ได้ยินแต่ซาวบ้านพูดถึงแต่คุณงามความดี ความศักดิ์สิทธิ์ของพ่อท่านยอด จนถึงเช้า เรือมาถึงเกาะใหญ่ เนื่องจากน้ำลง ทำให้เรือเข้าฝั่งไม่ได้ มีชาวบ้านใจดีพาเรือมารับถึงกลางน้ำ นายบุญฮ่วนก็แปลกใจ ชาวบ้านจึงบอกว่า พ่อท่านยอดให้มารับ
เมื่อถึงฝั่งก็มีชาวบ้านมารอรับ พร้อมเลี้ยงข้าวปลาอาหาร เสร็จแล้วจึงพานายบุญฮ่วนและเพื่อนเข้าไปกราบพ่อท่านยอด และเมื่อกราบคารวะพ่อท่านยอดแล้ว นายบุญฮ่วนได้ยินพ่อท่านพูดว่า “ฉันคอยเธอมาตั้งนานแล้ว” พ่อท่านพูดด้วยเสียงเครือและน้ำตาคลอ จากนั้นท่านจึงเล่าเรื่องราวต่างๆ ในอดีต ให้นายบุญฮ่วนและเพื่อนฟัง
พ่อท่านพูดว่า เมื่อชาติที่แล้วเคยเป็นพี่น้องกัน เคยสร้างบุญกุกลมาด้วยกัน ชาตินี้จึงได้มาพบกัน ถึงช้าไปก็ยังดี มีธุระจะฝากให้ทำต่ออีกในวันหลัง
อยู่ฟังโอวาทจากพ่อท่านรอดเป็นวลาพอสมควร นายฮ่วนและเพื่อนก็ลากลับ
หลังกลับจากวัดวันนั้นแล้ว นายบุญฮ่วนได้ชักชวนเพื่อน ๆ ในชมรมไปกราบพ่อท่าน และช่วยงานวัดเป็นประจำ ทุกคนนับถือและเคารพพ่อท่านยอดเป็นอย่างยิ่ง ในปฏิหาริย์และความศักดิ์สิทธิ์ในองค์พ่อท่าน
นายบุญฮ่วนเคยพาช่างถ่ายรูปไปถ่ายรูปพ่อท่านไว้รูปหนึ่ง ซึ่งรูปนี้ลูกศิษย์และผู้ศรัทธาได้เก็บไว้กราบไหว้บูชาจนถึงปัจจุบัน และสร้างเหรียญท่านยอดขึ้นรุ่นหนึ่ง จำนวนไม่มากนัก (ประมาณ 1,000 เหรียญ แจกในงานฌาปนกิจ
ต้นปี 2497 ด้วยความชราพ่อท่านก็เกิดอาพาธ จึงเรียกนายฮ่วนและพื่อน ๆ มาพบ พ่อท่านได้แนะนำแกมขอร้องในนายฮ่วนและเพื่อน ๆ สร้างมูลนิธิขึ้น เพื่อช่วยหลือผู้ประสบภัยต่าง ๆ ซึ่งนายบุญฮ่วนและเพื่อน ๆ ก็ได้รับปากกับพ่อท่าน
จากนั้น อีกไม่นาน วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2497 พ่อท่านก็ถึงกาลมรณภาพ ทุกคนเสียใจมาก ช่วยกันจัดงานศพของท่านอย่างใหญ่โตและกำหนดทำบุญ 1 ปี จึงจะทำการฌาปนกิจ
หลังจากพ่อท่านมรณภาพแล้ว นายบุญฮ่วนและเพื่อน ๆ ในชมรมเตียเซียอิมเหง่าเสีย ก็เริ่มหาทุนก่อสร้างมูลนิธิ โดยรับจ้างบรรเลงดนตรีทุกประเภท ทุกงาน โดยไม่หักค่าใช้จ่าย เก็บไว้เป็นทุนก่อสร้างและซื้อที่ดิน
ประกอบกับในช่วงนั้น นายไคเกีย แซ่เอี้ยว (เอี้ยววงษ์เจริญ) ได้บริจาคที่ดินให้แปลงหนึ่ง จำนวน 1 ไร่ 3 งาน 65 ตารางวา จึงเป็นการเริ่มต้นก่อสร้างมูลนิธิมูลนิธิมิตรภาพสามัคคี (ท่งเซียเซี่ยงตึ๊ง) ซึ่งนายไคเกีย แซ่เอี้ยว เป็นประธานมูลนิธิท่งเซียเซี่ยงตึ๊ง คนแรก
โดยสมาชิกในชมรมทุกคน หลังว่าจากกิจการแล้ว ก็จะมาช่วยขุดดินหิ้วปูนหิ้วทรายกันตั้งแต่เช้าถึงมือค่ำทุกวัน ทุกคนมีความตั้งใจและสามัคคีกัน จนถึงปี พ.ศ. 2499 อาคารบูลนิธิฯ ก็เป็นรูปเป็นร่างขึ้น
เดือนนิถุนายน 2499 ก็ได้เปลี่ยนคณะกรรมการขมรมเตียเซียอิมเหง่าเสีย เป็นคณะผู้ก่อตั้งมูลนิธิมูลนิธิท่งเซียเซี่ยงตึ๊ง ตั้งแต่นั้นมา โดยมีคณะกรรมการต่อดัง ประกอบด้วย
นายตี้เวิง แซ่โค้ว, นายเท่งชิว แซ่ล้อ, นายย่งเซี้ย แซ่โง้ว, นายเคี้ยกกี แซ่คู, นายบุญฮ่วน แซ่โซว, นายเปียวเซ็ง แซ่ตั้ง , นายบักกิ้ม แซ่ตั้ง, นายฮั่งเกีย แซ่เจี่ย, นายชี่เอี้ยง แซ่ลิ้ม
นายเหลี่ยงอัว แซ่จัง, นายบักจั๊ว แซ่โง่ว, นายเอี่ยงซื้อ แซ่ตั้ง, นายเหนี่ยกิ้ม แซ่โล้ว , นายจื่ออิ้ว แซ่ตั้ง, นายบุ่งอัง แซ่โค้ว, นายหมุยแซ่ตั้ง, นายโหงว แซ่ตั้ง, นายอั้งบุ้ง แซ่กี้
นายบักซิว แซ่โง่ย, นายหยิ่มจุ้ย แซ่แห่ , นายหยู่ท้วง แซ่ตั้ง , นายกิมจุ้ย แซ่กัง, นายซิวง้วง แซ่ตั้ง, นายจิ้งเหลี่ยว แซ่อัง , นายฉ่ายฮ่อ แซ่ลิ้ม, นายห่งเซ็ง แซ่คู, นายจิบเส็ง แซ่บุ้ง, นายจั้ยหุย แซ่ลิ้ม
นายเคี่ยง้วง แซ่เบ้, นายเอี่ยงฮง แซ่โง้ว, นายส่งเฮง แซ่เอ็ง, นายเกียงยก แซ่อั้ง ฃ, นายเสี่ยวซั่ว แซ่ตั้ง, นายบู๋เคี้ยง แซ่ตั้ง, นายบักเล้ง แซ่ฉั่ว, นายเจ็กเกี้ยก แซ่เฮ้ง , นายจิวเซี้ย แซ่ตั้ง, นายเหนี่ยกี แซ่ฉั่ว
โดยคณะกรรมการก่อตั้งมูลนิธิฯ คือ คณะบุคคลที่ก่อตั้งชมรมเตี่ยเซียอิมเหง่าเสียเท่านั้น สำหรับผู้ที่เข้าร่วมกิากรรมของชมรมหลังจากนั้น ยังมีอีกที่ไม่ได้เป็นคณะกรรมการก่อตั้งมูลนิธิฯ อาทิ นายวิชัย ธรรรรมชัยสภิต (เฮียจื้อ), นายนัฐสกล ยงเกียรติไพบูลย์ (เฮียเก้า) ฯลฯ ซึ่งทุกคนก็ช่วยงานมูลนิธิฯ ตั้งแต่สมัยนั้นจนถึงปัจจุบัน และบางท่านก็ถึงแก่กรรมแล้ว
ความสุขของผู้ให้
นายจำนงค์ เอี้ยววงษ์เจริญ กรรมการบริหาร ห้างสยามนครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา กล่าวถึงการตัดสินใจบริจาคที่ดิน 130 ไร่ที่ตำบลบ้านพรุเพื่อสร้างโรงพยาบาลหาดใหญ่ 2 ว่า ที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นของคุณพ่อที่เป็นมรดกตกทอดมา และตนซื้อเพิ่มอีกส่วนหนึ่ง
“คุณพ่อเป็นคนจีนที่เข้ามาทำมาหากินตั้งถิ่นฐานที่หาดใหญ่ และมีความตั้งใจว่า ถ้าหากตั้งตัวได้จะตอบแทนด้วยการทำกุศลให้กับเมืองนี้”
ท่านได้บริจาคที่ดิน 1 ไร่ พร้อมสร้างเก๋งจีนให้ มูลนิธิมิตรภาพสามัคคี (ท่งเซียเซี่ยงตึ๊ง) พร้อมทำงานด้านสาธารณกุศลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเก็บศพในเหตุการณ์พายุแหลมตะลุมพุก, ช่วยงานศพ, ช่วยเหตุการณ์ไฟไหม้ในหาดใหญ่ และรายได้จากสุสานที่บ้านพรุ ยังนำมาบริจาคให้กับเซี่ยงตึ๊งด้วย
“ที่ดินแปลงที่บริจาคนี้ ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลบ้านไร่ หมู่ที่ 9 ต.บ้านพรุ การจราจรสัญจรสะดวก คุณพ่อมอบให้ตั้งแต่ปี 2490 ด้วยความตั้งใจของคุณพ่ออยากให้บริจาคให้ผู้ยากไร้ หรือนำไปทำบุญ และผมได้ซื้อเพิ่มอีกส่วนหนึ่ง“
เรามองว่า พื้นที่ของโรงพยาบาลหาดใหญ่เดิมมีความคับแคบไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ป่วย ผมกับครอบครัว 3 คนพี่น้องในนามบริษัท สยามนครินทร์ จำกัด รู้สึกดีใจที่ได้มอบที่ดินให้โรงพยาบาล เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ยากจน หรือผู้ป่วย และประชาชนทั่วไปได้มีสถานที่ในการไปพบแพทย์หรือรักษาตัว


นายจำนงค์ กล่าวต่อว่า ครอบครัวเราได้ทำกิจกรรมการกุศลเพื่อ รพ.หาดใหญ่มาอย่างต่อเนื่อง และได้ร่วมผลักดันในการสร้างโรงพยาบาล แห่งที่ 2 มาก่อนหน้านี้ โดยเสนอที่ดินแปลงนี้ให้ตั้งแต่ 2 ปีก่อน ช่วงนั้นเขาไม่เอา จึงได้ปลูกปาล์มไปแล้ว แต่ก็ยังมีความตั้งใจที่จะบริจาคที่ดินเพื่อทำสาธารณะประโยชน์ โดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ
วันที่ได้มีการประชุมหารือร่วมกับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายเดชอิศม์ ขาวทอง) และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบในส่วนต่าง ๆ ทุกอย่างลงตัวสมบูรณ์แบบ
“ผมเห็นถึงความยากลำบากของทุกครอบครัว ไม่ว่าจะยากดีมีจนในการเข้ารับการรักษา ค่อนข้างมีความลำบาก ผมจึงอยากให้ทุกคนมีสุขภาพดีขึ้น ได้รับการรักษาที่ดีและการบริการที่ดี มีสถานที่ในการรักษา เตียงผู้ป่วยที่เพียงพอ ไม่ล้นออกมาด้านนอก รวมถึงอยากให้คุณหมอและพยาบาลมีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วย”
รพ.หาดใหญ่ มีความพร้อมด้านบุคลากรทางการแพทย์ ขาดเพียงสถานที่ในการรักษารองรับผู้ป่วย เพื่อให้สามารถเข้าถึงการรักษาที่มีคุณภาพที่ดีคาดว่ารพ.หาดใหญ่ 2 จะมี 700 เตียง มีบุคลากรที่เกี่ยวข้องกว่า 1,000 คน จะส่งผลให้คนในพื้นที่มีอาชีพตามไปด้วย และสร้างความเจริญให้ชุมชนโดยรอบ


นายจำนงค์ กล่าวถึงรัฐมนตรีเดชอิศม์ว่า ท่านเป็นคนสงขลาที่ลงพื้นที่เอง พร้อมกับสนับสนุนโครงการนี้อย่างเต็มที่ และให้ความสำคัญในเรื่องนี้มาก ท่านติดต่อประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วยตัวเองทั้งหมด ทั้งทางการไฟฟ้า การประปา รวมถึง หน่วยงานอื่น ๆ ท่านเน้นย้ำและกำชับเองทั้งหมด เดินหน้าอย่างเต็มกำลัง
“ต้องขอขอบคุณท่านรัฐมนตรี และทีมงานโรงพยาบาลหาดใหญ่ที่ทำงานร่วมกันอย่างเต็มที่เช่นกัน”
จากที่ตนได้เข้าพบและพูดคุยกับท่านรัฐมนตรี ตนได้ให้ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับที่ดินอย่างชัดเจนครบถ้วน พูดคุยเป็นไปได้ด้วยดี และท่านอยากให้พื้นที่เพิ่ม เพื่อสร้างวิทยาลัยพยาบาล จากเดิมจะบริจาค 100 ไร่ ก็เพิ่มเป็น 130 ไร่ เพื่อให้เกิดขึ้นทั้งโรงพยาบาลและวิทยาลัยพยาบาล
“ผมเชื่อว่า ถ้าหากมีเงิน หรือที่ดิน ถ้าเราไม่ใช้ ให้เกิดประโยชน์ ก็จะไม่มีคุณค่าอะไร ผมเป็นหัวหน้าครอบครัว ถ้าเกิดเจ็บป่วย ครอบครัวเราจะเดือดร้อน เป็นความทุกข์ที่ทุกคนไม่อยากเจอ แต่ถ้าหากเจ็บป่วยก็ควรมีที่รักษาที่ดี มีคุณภาพ อยากฝากทุกคนช่วยกันคนละไม้ คนละมือ ผลักดันให้โครงการนี้สำเร็จไปด้วยดี อย่ามีอุปสรรคใด ๆ ให้เป็นไปอย่างราบรื่น”
นายจำนงค์ กล่าวด้วยว่า ปัจจุบันพื้นที่บริเวณนี้ จะกลายเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย มีบ้านจัดสรรเกิดขึ้น หลายโครงการ และกำลังจะเกิดความเจริญตามมา เช่น ใกล้ทางเลี่ยงเมือง ที่จะทำให้เดินทางสะดวกมากขึ้น ทั้งไปสนามบิน และเชื่อมต่อไปด่านสะเดา และเข้าเมืองหาดใหญ่ และไปสงขลา ทั้งยังใกล้เส้นทางรถไฟความเร็วสูง โดยปัจจุบันราคาไร่ละประมาณ 500,000 บาท รวมประมาณ 65 ล้านบาท
“ผมรู้สึกมีความสุขที่ได้ให้ อยากให้ทุกคนได้กุศลครั้งนี้ไปด้วย อยากให้ทุกคนร่วมมือ โดยเฉพาะการสนับสนุนของท่านรัฐมนตรี และทีมงานของโรงพยาบาลหาดใหญ่ ที่พร้อมสนับสนุน ทำงานร่วมกันอย่างเต็มที่” นายจำนงค์ กล่าว

