แจงดราม่า‘ซุ้มประตูไชน่าทาวน์’ ผู้รับเหมาควักเงินเพิ่มความแข็งแรง

IMG 4042

ผู้รับเหมา “ซุ้มประตู China Town” ชี้แจงดราม่าความแข็งแรงและปลอดภัย ย้ำทำตามขั้นตอนวิศวกร ทั้งควักเงินตัวเองเพิ่มความแข็งแรงหลายรายการ เพราะเป็นแลนด์มาร์คใหม่ของหาดใหญ่ ต้อนรับนักท่องเที่ยวและผู้มาเยือน คาดแล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคมนี้

หลังจากที่มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในสื่อสังคม “ซุ้มประตู China Town” เรื่องโครงสร้างความแข็งแรงและปลอดภัยของซุ้มประตู ที่การก่อสร้างใกล้จะแล้วเสร็จ บริเวณถนนศุภสารรังสรรค์ เขตเทศบาลนครหาดใหญ่ โครงการก่อสร้างซุ้มประตู China Town และตกแต่งถนนบริเวณถนนศุภสารรังสรรค์ของเทศบาลนครหาดใหญ่ ซึ่งการก่อสร้าง โดย“ห้างหุ้นส่วนจำกัด มิตรแสงวิศวกรรม”ที่ชนะการเสนอราคาด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)19,986,000.00 บาท 

นายแสง  ชัยจีระธิกุล  ผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด มิตรแสงวิศวกรรม เผยว่า การดำเนินการก่อสร้างเป็นไปตามแผนคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคมนี้ส่วนประเด็นดราม่าเรื่องความแข็งแรงความปลอดภัยของซุ้มประตู โดยเฉพาะเสาของซุ้มประตู ที่อาจจะดูไม่สมดุล แต่เนื่องจากผู้ออกแบบที่มีข้อจำกัดในเรื่องถนน ทำให้ไม่สามารถทำเสาให้มีขนาดใหญ่จนเกินไป จึงออกแบบให้รับน้ำหนักได้ตามวิศวกรรม ซึ่งผู้ออกแบบก็เป็นวุฒิวิศวกร และสามัญวิศวกร2 ท่านบริษัทที่ออกแบบก็มีชื่อเสียงในด้านการออกแบบอาคารสูง ผลงานจะเป็นอาคารส่วนราชการ ที่เห็นได้ชัดคืออาคารโรงพยาบาลแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) ทั้งยังออกแบบอาคารต่าง ๆ จำนวนมาก ส่วนการดำเนินการก่อสร้างของบริษัท ก็เป็นไปตามที่บริษัทผู้ออกแบบเป็นผู้กำหนด

“ผมทำงานตามขั้นตอนทุกอย่าง การเจาะเสาเข็มความลึก 17 เมตร เนื่องจากสภาพเป็นดินเหนียว สามารถกันแรงถอนได้ ไม่ได้รับน้ำหนักกดอย่างเดียว แต่ต้องรับน้ำหนักการถอนด้วย”คำว่าแรงถอน คือเหมือนเสาเข็มจะถอนขึ้นสามารถรับแรงบิดได้ตามการคำนวณ ที่มีรับแรงถอน แรงบิดด้วย ส่วนเรื่องการรองรับแผ่นดินไหวนั้นเขาคงจะมีการออกแบบไว้อยู่แล้ว เนื่องจากปลอกที่ใช้เป็นปลอกเส้นเดียว กดเป็นวงกลมแล้วนำมาพันที่เสา ก็จะเป็นลักษณะนั้น แต่เมื่อการทำงานจริง เนื่องจากเหล็กแน่นมาก เยอะมากโดยเสาใช้เหล็กขนาด 1 นิ้วประมาณ จำนวน 24 เส้น สำหรับเสาขนาด 1 เมตรใช้เหล็กขนาด 1 นิ้ว 24 เส้น ซึ่งถ้าผูกตามแบบที่เขาออกแบบการทำงานก็ทำงานไม่ได้

“เวลามีเหล็กคานด้านบน ก็จะดึงผ่านเข้ามาที่เหล็กหัวเสา เพราะฉะนั้น ถ้าเราไม่มีการวางแผนในการจัดเหล็ก 24 เส้นนี้ ทำไปตามแบบ พอถึงเวลาเราไปขึ้นคาน เหล็กคานมันก็จะผ่านเหล็กเสาไม่ได้ เพราะฉะนั้นเราก็เคยปรึกษาและมีการออกแบบใหม่คือใช้เหล็กเส้นขนาด 1 นิ้ว จำนวน 24 เส้นเท่าเดิม”โดยไปเพิ่มปลอกเพื่อขยับเหล็กเสาให้เหล็กคานสามารถวิ่งผ่านได้  เพราะฉะนั้นเหล็กก็จะอยู่ไม่อยู่ในแนวกลม มันก็จะอยู่ซิกแซกออกมานิดนึง ผมจะต้องไปเพิ่มปลอกเสาเพิ่มจากแบบฉะนั้น การก่อสร้างของเราทำมากกว่าแบบ เพิ่มจากแบบ เพื่อให้การก่อสร้างมันเป็นไปได้  เหล็กปลอกเสาที่เพิ่มขึ้นมันก็เป็นตัวป้องกันแผ่นดินไหวอีกขั้นหนึ่ง จากที่ออกแบบไว้แล้ว

“การที่ผมเพิ่มเหล็กปลอกเพิ่มขึ้น แล้วผมก็ดัดปลอกเพื่อป้องกันแผ่นดินไหวด้วย เป็นตัวที่ผมทำเพิ่มขึ้นจากแบบ ซึ่งผมก็ไม่ได้คิดเงินจากราชการเพิ่มแต่อย่างใด  นี่ก็คือส่วนของเสาซุ้มประตู”ส่วนวิธีการก่อสสร้างที่ออกแบบไว้เบื้องต้น ก็คือเขาจะใช้วิธีหล่อคานแล้วไปวางบนหัวเสาซุ้มประตู ถ้ารูปที่มีการนำมาวิพากษ์วิจารณ์ทางสื่อโซเชียลและมีดราม่ากันนั้น ก็จะเป็นคานเหล็กตัวนั้นที่เห็นยาว ๆ ที่มีการถ่ายรูปมาโพสต์ในสื่อโซเชียล ซึ่งคานเหล็กตัวนั้น อยู่ในคานที่จะไว้สำหรับยกไปติดกับหัวเสา  แต่สุดท้ายผมไม่ได้ทำในวิธีนั้น เพราะเดิมทีเดียวเขาวางแผนไว้ว่าพอขึ้นเสาเสร็จก็ยกคานไปตั้งไว้บนหัวเสาเลย แต่ผมไม่ได้ทำวิธีนั้น เนื่องจากวิศวกรผมมาดูแล้วว่าคานถ้าเราหล่อสำเร็จรูปแล้วไปตั้งอยู่บนสะพาน

แล้วใช้รถเครนขนาด 200 ตัน 2 ตัว มายกคานไปตั้งบนหัวเสาซุ้มประตู มันจะไม่ปลอดภัยกับสะพาน เพราะน้ำหนักของคาน น้ำหนักของรถเครน 2 ตัว จะทำให้สะพานไม่ปลอดภัย

เราเปลี่ยนวิธีการทำงาน คือใช้วิธีการหล่อคานติดกับหัวเสาของซุ้มประตู โดยไม่ใช่วิธีการขันน็อตตามที่เขาแนะนำมา  ฉะนั้น คานที่เห็นในรูปถ่ายที่โพสต์กันในสื่อโซเชียล  เราไม่ได้ใช้คานตัวนั้นเพราะคานตัวนั้นจะฝากไว้ในคานปูนแล้วก็ฝากเหล็กตะขอไว้สำหรับหิ้วไปติดตั้งเท่านั้น ฉะนั้นคานเหล็กที่เห็นในสื่อโซเชียล เหมือนกับไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไรเลย เพราะแม้จะไม่มีก็ได้

“แม้ไม่มีคานเหล็กดังกล่าวโครงสร้างซุ้มประตูก็สามารถอยู่ได้แล้ว ฉะนั้น ที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ตั้งข้อสังเกตต่าง ๆเรื่องความแข็งแรงและความปลอดภัยของซุ้มประตูไชน่าทาวน์ เรื่องคานเหล็กดังกล่าว เพราะถึงไม่มีก็ไม่มีผลอะไร”แต่การที่ยังคงคานเหล็กดังกล่าวไว้ก็เพื่อให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดไว้ ต้องดำเนินการให้ครบตามแบบ แต่ในความเป็นจริงเราทำมากกว่า แข็งแรงกว่า ด้วยการหล่อคานเชื่อมกับหัวเสา จึงต้องการตั้งนั่งร้านข้ามถนน

“มีการโจมตีว่าถนนแคบมั่ง อะไรมั่ง ก็เพราะเราต้องค้ำตรงกลาง แล้วผมไปเสียค่าเหล็กตัวไอ ไอบีม ทำเป็นสะพานชั่วคราว เพื่อรับโครงสร้างในขณะที่เทคอนกรีต”แนวคิดของคนออกแบบคือ ตีหัวเสาโล่ง ๆ สองข้าง หล่อคานมาแล้วยกไปวางไว้บนหัวเสาแล้วขันน็อต แล้วก็เทปิดจบ ไม่ต้องปิดถนน แต่ผมทำเพิ่มทำมากกว่า

“ผมมองแล้วว่ามันจะไม่แข็งแรงพอ เพราะว่าเป็นการขันน็อตประมาณ 24 ตัว และทำการฝังเหล็กไว้ในตัวเสามารถรองรับกับเหล็กคานก็ขันน็อตไว้ แต่ไม่ทำอย่างนั้น”

“ผมใช้วิธีหล่อชิ้นเดียวกันกับเสาซุ้มประตู  ซึ่งทำให้เสียเวลาในการที่จะไปเชื่อมสะพาน ที่จะต้องไปทำโครงสร้างชั่วคราวขึ้นมา ทำให้ต้องใช้เวลา เพื่อรับตัวคานที่จะเทคอนกรีต”เพราะฉะนั้นเชื่อมั่นได้ว่าคานกับหัวเสามันจะหล่อเป็นคอนกรีตแท่งเดียวกัน ซึ่งผมต้องยอมเสียเงินเพิ่ม แต่เพื่อความแข็งแรงปลอดภัยของซุ้มประตู ซึ่งจะอยู่คู่บ้านคู่เมือง จำเป็นต้องทำให้ดีที่สุด

“ซุ้มประตูไชน่าทาวน์หาดใหญ่จะเป็นหน้าตา ต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง ให้นักท่องเที่ยวมาถ่ายรูปเป็นแลนด์มาร์คใหม่ของเมืองหาดใหญ่ ทำให้การก่อสร้างหลาย ๆ รายการ เราต้องควักเงินเอง” นายแสง กล่าว และว่าเราคำนึกถึงความแข็งแรง ความปลอดภัย จึงไม่มีการลดสเปกลงมา กลับกันเรากลับเพิ่ม ฉะนั้น ขั้นตอนการทำงานเป็นไปตามขั้นตอนการทำงานทางวิศวกรรมทั้งหมด

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *