ม.อ.สร้างเครือข่ายความร่วมมือ! พัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนกลุ่มประเทศอาเซียน

เฟรมข่าวไอเน็ท เว็บ เปลี่ยน 113

หนังสือพิมพ์ภูมิภาค รายสัปดาห์ ของคนใต้
ปีที่ 26 ฉบับที่ 1,332
วันที่ 29 เมษายน – 5 พฤษภาคม 2567

418c9653 c4f7 4420 b719 94a8c3a133bf

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์​ (ม.อ.)​ เปิดโครงการ Community Development through Community Based Tourism and Health Sciences เพื่อพัฒนาความร่วมมือและเครือข่ายด้านการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนในกลุ่มประเทศอาเซียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ องค์ความรู้ด้านต่าง ๆ จากผู้เชี่ยวชาญสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ตลอดจนพัฒนาทักษะความเป็นนานาชาติและองค์ความรู้ในด้านพัฒนาชุมชนของบุคลากร นักศึกษา โดยมี ผศ. ดร.เถกิง วงศ์ศิริโชติ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ ให้เกียรติกล่าวต้อนรับและเปิดงาน ผศ. ดร.สุพัตรา เดวิสัน ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการอาเซียนและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ กล่าวรายงาน พร้อมด้วย บุคลากร และนักศึกษาจาก Airlangga University ประเทศอินโดนีเซีย มหาวิทยาลัยทักษิณ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เข้าร่วม ณ ห้องประชุม 210 สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

download 1 0 2

เมื่อวันที่ 24 เม.ย. 67 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รับเป็นเจ้าภาพจัดโครงการ “Community Development Through Community Based Tourism in Southern Thailand” ระหว่างวันที่ 23-27 เมษายน 2567 โดยใช้การท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community Based Tourism) เป็นเครื่องมือในการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนอย่างยั่งยืนบนฐานของความรู้และต้นทุนของชุมชนอย่างมีส่วนร่วม
โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้สมัครเป็นสมาชิก WUACD และได้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ซึ่งในปี 2566 ได้เป็นเจ้าภาพในการประชุมกลางปีของสมาคมในรูปแบบออนไลน์

download 3 0 2


โครงการนี้จะเป็นแพลทฟอร์มในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมของคณาจารย์ นักศึกษา วิทยากรและชุมชน ในการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนอย่างยั่งยืน สามารถนำไปปรับใช้ในบริบทที่แตกต่างกันได้ ผู้เข้าร่วมได้มีโอกาสในการเปิดโลกทัศน์ มีประสบการณ์ทำงานในบรรยากาศของความเป็นนานาชาติ ได้เรียนรู้งานด้านการพัฒนาชุมชนและสามารถพัฒนาโครงการร่วมกับชุมชนอย่างมีส่วนร่วมและยั่งยืนได้ ควบคู่กับการบ่มเพาะความมีจิตอาสาในการทำประโยชน์ให้แก่ชุมชน ตามพันธกิจของมหาลัย “พัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นสังคมฐานความรู้บนพื้นฐานพหุวัฒนธรรม”

download 0 2

ทั้งนี้ ภายในงานมีการบรรยาย อภิปราย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การแบ่งกลุ่มลงพื้นที่ทำกิจกรรมร่วมกับชุมชน ในประเด็นต่าง ๆ อาทิผลิตภัณฑ์สมุนไพร การทำเกษตรอินทรีย์ การเลี้ยงปลากะพงสามน้ำทะเลสาบสงขลา การทอผ้า มะม่วงเบา การศึกษาแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ เมืองเก่าสงขลา ตลอดจนการระดมความคิด นำเสนอ และจัดทำรายงานอีกด้วย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *