Home » ข่าว » วชช.สงขลาต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชน!​ ยกระดับการท่องเที่ยวลุ่มน้ำทะเลสาบ

วชช.สงขลาต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชน!​ ยกระดับการท่องเที่ยวลุ่มน้ำทะเลสาบ

วชช.สงขลา พัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวตามรอยบ้านเกิดหลวงปู่ทวด พร้อมส่งเสริมปลูกพืชสมุนไพรต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน​ ยกระดับการท่องเที่ยวลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา

วิทยาลัยชุมชนสงขลา นำโดย นางสุธี เทพสุริวงค์ และ นางสาวกฤษณวรรณ เสวีพงศ์ ผู้รับผิดชอบโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากฐานทรัพยากรลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา งบประมาณประจำปี 2566 จัดกิจกรรม “การอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอุทยานธรรมตามรอยบ้านเกิดหลวงปู่ทวด”​ มีสมาชิกวิสาหกิจชุมชนฯ เข้าร่วมกิจกรรม 16 คน ระหว่างวันที่ 14 – 15 มีนาคม 2566 ณ วัดต้นเลียบ หมู่ที่ 1 ต.ดีหลวง อ.สทิงพระ จ.สงขลา

สืบเนื่องจากปี 2565 วชช.สงขลา ได้เข้ามาส่งเสริมการทำกิจกรรมเกี่ยวกับการปลูกพืชสมุนไพรให้แก่ชุมชน เพื่อนำมาใช้ในการดูแลชุมชนให้ห่างไกลจากโรคโควิด-19 และเห็นว่าสมุนไพรบางส่วนน่าจะสามารถนำมาต่อยอดทำเป็นของที่ระลึก เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวให้แก่ชุมชนได้

ผู้รับผิดชอบโครงการฯ จึงได้ลงพื้นที่ร่วมพูดคุยระดมความคิดกับชุมชน มีข้อสรุปร่วมกันเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์คือ การทำผลิตภัณฑ์ยาดมสมุนไพร, ผลิตภัณฑ์ถุงหอมสมุนไพร และผลิตภัณฑ์ลูกประคบสมุนไพร ซึ่งได้จัดกิจกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอุทยานธรรมตามรอยบ้านเกิดหลวงปู่ทวด

นางสาวพรเพ็ญ ประกอบกิจ ผู้อำนวยการวิทยาลัยชุมชนสงขลา กล่าวว่า วิทยาลัยชุมชนสงขลา ได้เข้าไปพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวตามรอยหลวงปู่ทวดมาตั้งแต่ 2563 ร่วมกับชุมชนพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวตามรอยบ้านเกิดหลวงปู่ทวด จนตอนนี้มีนักท่องเที่ยวจำนวนมากขึ้น

เมื่อมีนักท่องเที่ยวมากขึ้น แต่ชุมชนยังไม่มีสินค้าเป็นของที่ระลึก เมื่อสถานการณ์โควิดปีที่ผ่านมา คณะทำงานของวิทยาลัยชุมชนฯได้เข้าไปส่งเสริมชุมชนปลูกสมุนไพร เพื่อให้นำมาใช้ดูแลตัวเองในสถานการณ์โควิด เมื่อปลูกมากขึ้นคนในชุมชนจึงคิดว่านำสมุนไพรที่ปลูกมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนและนักท่องเที่ยวได้จับจ่ายซื้อของฝากเป็นที่ระลึก

ตลอดจน​สามารถนำต่อยอดให้คนในชุมชนในพื้นที่ปลูกสมุนไพรเพิ่มขึ้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์หลาย ๆ ชนิดให้สอดคล้องกับนักท่องเที่ยว พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีจำนวนมากขึ้นตามความต้องการของนักท่องเที่ยวอีกด้วย

“วชช.เราได้มีส่วนช่วยสนับสนุนส่งเสริมร่วมกับชุมชน เนื่องจากอาจารย์ของเราจบทางด้านแพทย์แผนไทย ได้ให้ความรู้และเพิ่มผลิตภัณฑ์ให้มีมากขึ้นกว่าเดิม เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว และให้เป็นสินค้าของที่ระลึกที่แสดงความเป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่นบนฐานทรัพยากร” ผอ.พรเพ็ญ กล่าว

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *