ป.ป.ช.สงขลาตรวจลู่วิ่งราชภัฎฯแจงน้ำขัง-เตรียมซ่อม17ล.

เฟรมข่าวไอเน็ท เว็บ เปลี่ยน 46
ป.ป.ช.สงขลา ลงพื้นที่ตรวจสอบ ลู่วิ่ง 10 ล้าน ราชภัฎสงขลา เหตุบิดพลิ้วเป็นลอนคลื่น ราชภัฎฯแจง เหตุน้ำขัง ช่วง โควิค เตรียมงบซ่อม 17 ล้าน

วันนี้ 14 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 14.00 น.  นายราม วสุธนภิญโญ ผู้อำนวยการ สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสงขลา  พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กลุ่มงานป้องกันการทุจริตลงพื้นที่ตรวจสอบลู่วิ่งสนามกีฬากลาง มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
174834 0

หลังจากได้รับแจ้งจากศูนย์ป้องปรามการทุจริตแห่งชาติ (Corruption Deterrence Center: CDC) ได้แจ้งเหตุอันควร สงสัยเกี่ยวกับการทุจริตว่า เพจ Facebook ปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน ได้มีการโพสข้อมูลเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 14.55 น. โดยมีรายละเอียดว่า ” ลู่วิ่งลานกรีฑา ราคา 10 ล้าน ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา พื้นยางสังเคราะห์หนาอย่างดี ชนิด Multi Layer พร้อมตีเส้น ทำเสร็จปี 61 เจอโควิดไม่ทันได้ใช้ ไม่นานต่อมาก็สภาพสู่ขิต เหมือนคลื่นริมหาดสมิหลา”

ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า ลู่วิ่งลานกรีฑาดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของงานปรับปรุงสนามกีฬากลางของมหาวิทยาลัย โดยมีงบประมาณสัญญาจ้างทั้งโครงการราว 25 ล้านบาท เมื่อปี 2560 ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)

174835 0

โดยเปิดใช้งานในปี 2561 ในส่วนของการสร้างลู่วิ่งใช้งบประมาณ 5.9 ล้านบาท โดยมีโครงสร้างการก่อสร้างชั้นลู่วิ่งแบบ multilayer กล่าวคือ เป็นการสร้างลู่วิ่งกรีฑาด้วยยางสังเคราะห์ จำนวน 3 ชั้น ประกอบด้วย ชั้นที่1 (ฐาน).ชั้นแอลฟัลติกส์คอนกรีต ชั้นที่2(กลาง). ชั้นเม็ดยางดำ SBR (styrene butadiene rubber) คุณสมบัติเป็นวัสดุโพลีเมอร์ธรรมชาติ มีความยืดหยุ่น เกาะติดกันด้วยกาว PU ชั้นที่ 3(ส่วนบน) ชั้นเม็ดยางแดง EPDM rubber (Ethylene propylene diene monomer) ซึ่งเป็นโพลิเมอร์สังเคราะห์ และยางแดงเหลว PU ที่แข็งตัวแล้ว เพื่อสร้างพื้นผิวลู่วิ่งที่เหนียวและแข็งแรง

และยังพบอีกว่าที่ผ่านมาได้มีการเข้าซ่อมแซมจากผู้รับจ้างภายในระยะเวลาประกันผลงาน (2ปี) นับตั้งแต่ส่งมอบงานเมื่อปี 2561 จำนวน 4 จุด

174836 0

ทางด้าน มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลาชี้แจงว่า ปัญหาลู่วิ่งชำรุดเป็นลอนคลื่นดังกล่าว เกิดจากการเสื่อมสภาพของกาว PU ที่ยึดติดเม็ดยางดำ ในพื้นยางชั้นที่ 2 ของโครงสร้างลู่วิ่ง ทำให้ลู่วิ่งโป่งพองจากสภาวะ Polyurethane Hydrolytic กล่าวคือมีน้ำเข้าไปแทรกซึมในชั้นยางเกิดปฏิกิริยา ทำให้เม็ดยางเกิดการแตกตัว อีกทั้งในช่วงโควิด19 ได้มีการปิดสนามราว 2 ปี ทำให้เกิดน้ำขังในลู่วิ่ง ประกอบกับสภาพภูมิอากาศทั้งฝนตกหนักสลับกับความร้อนสะสม รวมถึงความชื้นจากการรดน้ำในสนามฟุตบอล เรื่อยมาตลอดระยะเวลา 5 ปี ทำให้เกิดการยืดหดเป็นลอนคลื่นในช่วงปลายปี 2566

โดยมหาวิทยาลัยได้รับทราบถึงปัญหาดังกล่าว พร้อมให้คณาจารย์ที่มีความรู้เฉพาะด้านที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ตรวจสอบเพื่อตั้งคณะหารือ และได้เตรียมจัดสรรงบประมาณจากงบคงคลังปี 2567 โดยชี้แจงเพิ่มเติมว่างบประมาณ 30 ล้านบาทที่ปรากฏในข่าวใช้สำหรับปรับปรุงพื้นลู่วิ่งเพียง 17 ล้านบาท และซื้อครุภัณฑ์อื่นๆ เพื่อการบริหารจัดการ13 ล้านบาท

นายราม วสุธนภิญโญ ผู้อำนวยการ สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสงขลา ระบุหลังลงพื้นที่ ว่า สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสงขลา ตั้งข้อสังเกตว่า ปัญหาการบิดพลิ้วเป็นลอนคลื่น อาจเกิดจากระบบระบายน้ำของลู่สิ่งลานกรีฑาที่ไม่ได้มาตรฐาน ประกอบกับการอุดตันของหญ้าจากสนามฟุตบอล พร้อมกำชับหน่วยงานว่า หากได้งบประมาณจัดสรรในการซ่อมแซมเพิ่มเติมแล้วควรให้ความสำคัญกับรูปแบบการวางระบบระบายน้ำ และการเลือกวัสดุโครงสร้าง ของลู่วิ่งให้คงทนเพื่อไม่ได้เกิดปัญหาซ้ำอีก"  

“และในส่วนของการเข้าซ่อมแซมจากผู้รับจ้างภายในระยะเวลาประกันผลงาน (2ปี) นับตั้งแต่ส่งมอบงานเมื่อปี 2561 จำนวน 4 จุดนั้น ทางสำนักงานป.ป.ช. ประจำจังหวัดสงขลา จะดำเนินการตรวจสอบต่อไป” ผอ.ป.ป.ช.จังหวัดสงบลา กล่าว

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *