นศ.พระปกเกล้าหนุนนายกฯ“ขอโทษ” ชู“ล้างใจ-ล้างปัญหา” – “3ย.” ดับไฟใต้

IMG 0802

นักศึกษาหลักสูตรเสริมสร้างสันติสุขชายแดนใต้ สถาบันพระปกเกล้าฯ เสนอแนวทาง “ล้างใจ-ล้างปัญหา” พร้อมหนุน “นายกแพทองธาร” ขอโทษ และชู 3 ย. แก้ปัญหา

นายอาหะมะ บากา รองประธานนักศึกษา หลักสูตรเสริมสร้างสันติสุขชายแดนใต้ 4 ส.ของสถาบันพระปกเกล้าฯ รุ่นที่7 ซึ่งเพิ่งจบหลักสูตรมาเมื่อเร็ว ๆ นีั ได้จัดคุยโต๊ะกลมกับเพื่อนนักศึกษา และภาคประชาสังคมในพื้นที่ ในประเด็น“ร่วมกันคิด พลิกมุมมอง เพื่อสันติสุขคนบ้านเรา” พร้อมเก็บประเด็นที่ได้จากคำบรรยายในหลักสูตร ถือโอกาสนำเสนอถึงรัฐบาลที่กำลังหาทางออก ในการกำหนดทางเดินในรัฐบาล

นายอาหามะฯ และคณะกล่าวว่า ในฐานะคนไทยมุสลิมคนพื้นที่ รู้สึกพอใจในท่าทีของนายกรัฐมนตรี แพทองธาร ชินวัตร ที่แสดงความพร้อมในการ “ขอโทษ“ และแนวคิดของรองนายกฯภูมิธรรม เวชยชัย ที่รัฐบาลมอบหมายให้ดูปัญหาจชต.ระบุชัดว่า “ต้องทบทวนแนวทางเพราะกว่า 20 ปีที่ผ่านมาแก้มาไม่เป็นผล” โดยเสนอแนวทาง ดังนี้

1. ”ล้างใจ”ใช้แนวทาง “ศาสนธรรม นำพาสันติสุข หรือศาสนานำบ้านเมือง” ใช้สถาบันวะสะฏียะห์ สำนักจุฬาราชมนตรี และสมาพันธ์ไทยพุทธในพื้นที่เป็นตัวขับเคลื่อน โดยยึดหลักการที่สำคัญคือ 3 จชต.คือดินแดนดารุสลาม/ดินแดนสันติสุขใครก่อเหตุถือเป็นบาป และการ “มาอัฟ-การขอโทษให้อภัยเป็นหัวใจสันติสุข”

ดังนั้น การที่นายกรัฐมนตรีพร้อมกล่าว ”ขอโทษ“ เท่ากับการล้างใจสู่การเริ่มต้นที่ดี

ทั้งนี้ ต้องถือว่าเป็นการกล่าวในนามทุกรัฐบาลกล่าวแทนนายกรัฐมนตรีตั้งแต่ปี 2547 – ปัจจุบัน รวม 9 คน กระทำอย่างเป็นพิธีการ

2.“ล้างปัญหา(ล้างเมือง)” ยังคงยึดยุทธศาสตร์พระราชทานเดิมคือ “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” โดยทำอย่างจริงจังให้เห็นผลเป็นรูปธรรม

(1) การเข้าใจ เน้นกระบวนการจัดการศึกษาในเด็กเยาวชนเพิ่มเติม ”สำนึกไทย รักสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์”/กระบวนการจัดเสริมสร้างความสามัคคีเข้มแข็งในระดับกลุ่มพลังมวลชน เช่น กลุ่มจิตอาสา คณะกรรมการหมู่บ้าน และยึดมั่นในความเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม (ใช้ 3ข. สร้างคนให้ ”แข็งแรง“ เน้นการศึกษา/สร้างพลังกลุ่มคนให้ “เข้มแข็ง“ เน้นการเป็นพหุสังคม/สร้างความ “เข้าใจ” ปัญหา 3 จชต. ทั้งคนไทยและ ตปท.)

(2) การเข้าถึง เน้นการปฏิบัติแก้ไขปัญหาทุกเรื่องที่เกิดขึ้นอย่างจริงจัง เน้น 3 ย.คือ การ ”หยุดเหตุ” การบังคับใช้กม.อย่างจริงจัง ซึ่งสถานะปัจจุบันการปราบปรามกลุ่มผู้ก่อเหตุ ผิดพลาดน้อยมาก เพราะใช้หลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ วงจรปิด พ.ร.บ.อุ้มหาย จับได้ตัวจริง คนให้ความร่วมมือ/ยอมรับ ควบคู่กับการให้ฝ่าย “ปกครอง- มท.” เป็นเจ้าภาพชัดเจน ดูแลพื้นที่ปลอดเหตุ-คนปลอดภัย

ย. แย่งมวลชน ฝ่ายมหาดไทยมีแนวทางจัดแบ่งพื้นที่ดูแลประชาชน ในมาตรการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข รวมปัญหาทุกเรื่อง ยาเสพติด การอำนวยความเป็นธรรม

ย. ยกคุณภาพชีวิต ได้แก่ การแก้ไขปัญหาความยากจน ตั้งเป้าคนพ้นจนตามเกณฑ์ในปี พ.ศ 2570

“ทั้ง 3 ย.เป็นงานมหาดไทยกำลังดำเนินการอยู่ แต่ต้องประกาศเป็นนโยบายรัฐบาล”

(3) การพัฒนา มีข้อเสนอล่าสุดคือ ให้รัฐกำหนดทำโครงการขนาดใหญ่ในพื้นที่เพื่อให้เกิด “ความหวัง” แก่ประชาชนเช่น การตั้งศูนย์นิคมอุตสาหกรรมฮาลาสอาเซียน/การเชื่อมการค้าชายแดนใต้ไทยกับรัฐทางเหนือมาเลเซีย ซึ่งเริ่มจริงจังสมัยรัฐบาลนายกเศรษฐา ทวีสิน

อีกเรื่องที่ ”นายกเศรษฐา“ เริ่มไว้คือ การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ซึ่งน่าสนใจและชาวบ้านพื้นที่ขานรับเพราะในพื้นที่มีต้นทุนวัฒนธรรมถิ่น โดยเฉพาะศาสนวิถีที่ดีมาก ถือเป็นความภาคภูมิใจ และสามารถผูกโยงความมั่นคงได้คือ ”ถ้าบ้านเรายังมีเหตุไม่มีใครเขามาเที่ยวบ้านเรา“      

นายอาหามะ และคณะเสนอประเด็นกรณีการพูดคุยสันติภาพ เริ่มจากการตั้งข้อสังเกตแรกคือ เดิมสมัยปี 2555 พูดคุยครั้งแรกรัฐบาลคิดตรงกันคือ การพูดคุยคือ ทางออกของปัญหา ซึ่งถูกต้อง  แต่ที่ผ่านมามีข้อสรุปว่า “ต้องทบทวน”

ขณะที่ฝ่าย BRN แสดงการรบเร้า ทั้งก่อเหตุและออกโรงเรียกร้อง ประเด็นทบทวนฝ่ายรัฐบาลคือ(1) เป้าหมายเราไม่ตรงกัน รัฐคุยเพื่อสร้างสันติสุข แต่ BRN แสดงออกท่าทีชัดนำสู่การแยกดินแดนผ่านการกระจายอำนาจ และแถลงการณ์ล่าสุดคือ ขอใช้แนวทางสันติภาพสากล ที่ไม่ยึดกรอบภายใต้รัฐธรรมนูญไทย

(2) ทบทวนพบว่าฝ่ายคนคุยตัวจริงไหมสั่งการกลุ่มคนก่อเหตุร้ายในไทยได้จริงไหม (3) ฟังจากคนพื้นที่ให้เปลี่ยนเวทีมาพูดคุยใน3 จชต.คุยกับคนพ้นโทษ คนกลับใจ และญาติคนหนีหมายจับ ซึ่งเป็นข้อเสนอที่น่าสนใจ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *