‘วชช.สงขลา’เพิ่มศักยภาพบุคลากรเสริม2พันธกิจหลัก“สอนและพัฒนาชุมชน”

เฟรมข่าวไอเน็ท เว็บ เปลี่ยน 53

6-8 ธ.ค. 66 วิทยาลัยชุมชนสงขลา จัดประชุมเชิงปฏิบัติการวิเคราะห์กระบวนการทำงานแบบมุ่งผลลัพธ์ เพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์วิทยาลัยชุมชนสงขลา ภายใต้โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการวิเคราะห์กระบวนการทำงานแบบมุ่งผลลัพธ์ฯ ณ คุ้มไทรงามรีสอร์ท ต.เกาะยอ อ.เมือง จ.สงขลา

messageImage 1702009834312 0

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กระบวนการทำงานด้วย SIPOC และ SOAR Analysis ให้ได้แนวทางการจัดทำแผนยุทธศาสตร์วิทยาลัยชุมชนสงขลา และนำรูปแบบข้อมูลจากการวิเคราะห์ไปสู่โมเดลของการทำงานแบบมุ่งเป้าหมาย
อ.พรเพ็ญ ประกอบกิจ ผู้อำนวยการวิทยาลัยชุมชนสงขลา กล่าวว่า กิจกรรมใน 3 วันนี้เป็นการบูรณาการการทำงาน เพื่อนำไปสู่การวางแผนงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์เพื่อพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ“กิจกรรมวันแรกเราได้รับการอนุเคราะห์ จาก รศ.ดร.พรพันธุ์ เขมคุณาศัย ให้ความรู้ ในฐานะที่เราได้รับงบประมาณจากโครงการเพื่อแก้ปัญหาคนยากจน คนเปราะบางแก้ปัญหาความยากจนอย่างเบ็ดเสร็จแม่นยำ ภายใต้โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ด้อยโอกาสทางสังคม โดย รศ.ดร.พรพันธุ์ ได้ทำเรื่องกระบวนการแก้ความยากจนอย่างเบ็ดเสร็จแม่นยำ ของจังหวัดพัทลุง ในโมเดล “กระจูดแก้จน” ซึ่งกำลังเข้าสู่ปีที่สามและได้รับความสำเร็จอย่างยิ่ง จึงได้เชิญท่านเป็นวิทยากรให้ความรู้กระบวนการทำงานตั้งแต่เริ่มต้น” ผอ.พรเพ็ญ กล่าว และว่า เรื่องสำคัญคือ การออกแบบก่อนการทำงาน การเริ่มต้นอย่างไร เพื่อออกแบบของเราจากที่ท่านให้มา

messageImage 1702009866573 0

ซึ่งเป็นโมเดลที่ท่านออกแบบเอง เริ่มจากเราต้องไปทวนสอบข้อมูลผู้ยากไร้เพื่อทราบพื้นฐาน ให้ความสำคัญเรื่องคนเป็นอันดับแรกว่ามีที่ไหน มีพื้นฐานอย่างไรเพื่อจะคัดเลือกโดยดูทุนทางวัฒนธรรมทุนทางสังคมเพื่อนำมาออกแบบการพัฒนา
เมื่อได้ข้อมูลจากนั้นเราก็มาออกแบบว่าสามารถพัฒนาเขาได้อย่างไร ซึ่งต้องใช้ความร่วมมือจากทั้งท้องถิ่น ท้องที่ รวมทั้งกลุ่มคนเปราะบาง ซึ่งที่นี่ “กระจูดแก้จน” ของ รศ.ดร.พรพันธุ์ ได้พัฒนาจนได้ผลิตภัณฑ์ที่สามารถส่งออกตลาดต่างประเทศ สามารถเป็นแนวทางการทำงานของเราได้
“ในวันแรกคือ วันที่ 6 ธ.ค. ที่ทำกิจกรรม เราได้โมเดลทุกกลุ่มใน 4 พื้นที่ คือ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา 1 โมเดล พื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ อ.สะเดา 1 โมเดล พื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ 1 โมเดล และการบริการวิชาการทั่วไป 1 โมเดล ทั้งหมดนี้ก็ได้รูปแบบการทำงาน ชุมชนมีทุนทางสังคม-วัฒนธรรมอย่างไร ที่จะนำมาสร้างงานอาชีพได้”

messageImage 1702009967388 0


กิจกรรมวันที่สอง เป็นการลงไปดูงาน หลังจากฟังบรรยายจากอาจารย์พรพันธุ์ ก็ไปเรียนรู้ที่กลุ่มกระจูดแก้จน ที่ทะเลน้อย ได้คุยกับ Project Manager ผู้จัดการโครงการของกลุ่ม มีโชว์รูมเป็นพื้นที่ผลิตและแสดงสินค้าที่ตลาดน้ำทะเลน้อย มีการจัดธนาคารกระจูด เพื่อซื้อกระจูดเก็บไว้เป็นคลังเพื่อแก้ปัญหาช่วงกระจูดขาดตลาด และได้เรียนรู้วิธีการทำกระจูด
ช่วงบ่าย ได้ไปเยี่ยมชมตลาดเทพหยา ได้ไปเห็นการทำซึ่งได้ผลที่ดีจากความรู้เรื่องการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง รัชกาลที่ 9 ที่เขาร่วมทำกับชุมชน เห็นแนวคิดการใช้ศาสตร์พระราชาก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งในการแก้ปัญหาความยากจนของชุมชน โดยที่นี่เป็นที่กลางเพื่อเป็นแบบให้ประชาชนเข้ามาเรียนรู้

messageImage 1702016995340 0


กิจกรรมวันที่สาม เราเชิญอาจารย์จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่มาให้ความรู้เรื่องเทคนิคการบริหารเชิงกลยุทธ์ เทคนิคการจัดการเชิงกลยุทธ์สู่ความเป็นเลิศ และช่วงบ่ายเป็นการเวิร์คช็อป SOAR Analysis มองหาจุดอ่อนจุดแข็ง แรงบันดาลใจ โอกาส ฯลฯ เพื่อออกแบบพัฒนา การมีวิสัยทัศน์ ซึ่งหากไม่มีการวางแผนตั้งแต่เริ่มต้น ทิศทางการทำงานอาจไม่ตรงเป้าหมาย เนื่องจากเรามีกรอบของการทำงานของสถาบันวิทยาลัยชุมชน ที่กำหนดให้เราได้ดำเนินงาน

messageImage 1702010079404 0


“อาทิตย์นี้เป็นการพัฒนาศักยภาพบุคลากรวิทยาลัยชุมชน เริ่มตั้งแต่วันที่ 5 ธ.ค.66 ที่ได้อบรมเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน เพราะทั้งในส่วนการลงไปพัฒนาชุมชนและการสอน ถือเป็นสองงานหลักของอาจารย์วิทยาลัยชุมชน” ผอ.พรเพ็ญ กล่าว

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *